Crowdfunding ความหวังใหม่ของการระดมทุนให้กับ SME ไทยในอนาคต | Techsauce

Crowdfunding ความหวังใหม่ของการระดมทุนให้กับ SME ไทยในอนาคต

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ถือว่าเป็นแกนสำคัญของเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต ในประเทศไทย SME มีส่วนสนับสนุนในการเติบโตภายในประเทศและการจ้างแรงงานหลายล้านคน

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (OSMEP) เปิดเผยว่าในปี 2562 ได้มี SME ไทยทำการจดทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 3.1 ล้านราย โดยที่ 98.5% เป็นวิสาหกิจขนาดเล็กและรายย่อย ในปี 2559 กลุ่มนี้มีสัดส่วนเพียง 78.5% ของการจ้างงานภาคเอกชนทั้งหมด หรือคิดเป็น 42.2% ของ GDP ทั้งประเทศ

ปัญหาที่สำคัญและเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าสำหรับเจ้าของ SME คือ การขาดช่องทางในการเข้าถึงเงินทุนและการระดมเงินทุน ในปี 2554 ช่องว่างทางด้านสินเชื่อนี้ได้ประมาณการไว้ว่ามีสูงถึง 11.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และนี่คือความแตกต่างระหว่างความต้องการต่อสินเชื่อที่เป็นทางการของ SME ไทยเมื่อเปรียบเทียบกับที่จำนวนที่ได้มา โดยเฉลี่ยแล้ว SME ไทยมีความต้องการสินเชื่อประมาณ 126,000 เหรียญสหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจเหล่านี้

ดังนั้น เพื่อให้ SME สามารถใช้ศักยภาพของตนเองเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจ จึงจำเป็นที่จะต้องดำเนินในการทำความเข้าใจในช่องว่างการจัดหาเงินทุน SME นี้ และทำการแก้ไขความไม่สมดุลระหว่าง demand/supply ของเงินทุนที่มีอยู่

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับช่องว่างในการจัดหาเงินทุนของ SME

SME ไทยหลายรุ่นมักหันไปหาแหล่งเงินทุนด้วยตนเองเพื่อเริ่มและดำเนินธุรกิจ โครงการวิจัยของ ERIA พบว่าเจ้าของ SME ไทยมักใช้เงินทุนส่วนตัวและยืมเงินจากเพื่อนและญาติเพื่อเป็นทุนในการดำเนินงาน

SME มักจะประสบอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนซึ่งมีกระบวนการที่ซับซ้อนและยุ่งยากโดยเฉพาะในการขอสินเชื่อ ซึ่งต้องนำการใช้หลักประกันมาใช้ภายใต้เงื่อนไขของธนาคารอย่างเข้มงวด ซึ่งการนำหลักประกันมาใช้นี่เป็นปัจจัยที่ SME ปัจจุบันมักจะขาด ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดช่องว่างในการจัดหาเงินทุนของ SME ธุรกรรมแบบดั้งเดิมนี้ไม่เอื้อต่อผู้ประกอบการ SME แต่ประการใดและมักจะเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับธนาคารเนื่องการปฏิสัมพันธ์จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หาก SME ขาดหลักประกันตามที่ธนาคารต้องการ

การใช้งบการเงินเดิมของ SME เพื่อนำไปใช้ประเมินความน่าเชื่อถือก็เป็นอุปสรรคสำหรับ SME ที่มีการเติบโตสูง การประเมินว่าบริษัทใดบ้างที่มีสิทธิ์ได้รับสินเชื่อจากประวัติการทำกำไรหรือจำนวนปีที่เปิดดำเนินการนั้นเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล ยังไม่สามารถเข้าใจศักยภาพของ SME ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แพลตฟอร์ม crowdfunding แบบดิจิทัลจึงได้มีการนำการวิเคราะห์ข้อมูลตัวแทน (surrogate data analytics) เพื่อช่วย SME เหล่านี้ให้กลายเป็นธุรกิจที่มี “ความน่าเชื่อถือทางการเงิน” (credit worthy)

การช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก

รัฐบาลไทยได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการเติบโตของภาคธุรกิจ SME ในรูปแบบต่าง ๆ – ตั้งแต่การเปลี่ยนนโยบายเพื่อขยายการปล่อยสินเชื่อให้กับ SME ไปจนถึงการจัดสรรทรัพยากรสำหรับโครงการที่ส่งเสริมนวัตกรรมในธุรกิจ

ความช่วยเหลือทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับ SME เพื่อการอยู่รอดและผ่านพ้นวิกฤตต่าง ๆ ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 รัฐบาลไทยได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายครั้งสำหรับธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงการระดมทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์เพื่อปล่อยสินเชื่อแก่ SME โดยที่รัฐบาลยอมที่จะรับภาระดอกเบี้ยของสินเชื่อเหล่านี้ในช่วงหกเดือนแรกเพื่อให้ SME สามารถปรับปรุงสภาพคล่องของตัวเองในช่วงปลอดดอกเบี้ยนี้

ทางเลือกทางการเงินสำหรับ SME

Micro-financing เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับ SME ซึ่งเป็นรูปแบบทางการเงินที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประเทศกำลังพัฒนา โดยเปิดโอกาสให้มีการเข้าถึงสินเชื่อแก่ผู้ที่ไม่สามารถใช้บริการธนาคารและผู้ด้อยโอกาส ทั้งนี้ ได้มีการพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสถาบันการเงินที่ให้บริการ micro-finance มักจะเป็นที่นิยมและเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเพื่อส่วนตัวหรือเพื่อธุรกิจ สถาบันการเงิน micro-finance ที่เป็นทางการจะอยู่ภายใต้ข้อบังคับที่เข้มงวด ในขณะที่สถาบันกึ่งทางการ เช่น สหกรณ์ หรือ MFI (องค์กรการเงินย่อย) จะมีระบบการควบคุมการดำเนินงานของตัวเอง

อีกแหล่งเงินทุนหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากทั้งในตลาดที่พัฒนาแล้วและที่กำลังพัฒนา คือ การระดมทุนแบบ crowdfunding โดยจะเป็นการระดมทุนจากนักลงทุนทำให้ผู้ประกอบการหลายพันรายสามารถเริ่มธุรกิจของตนเอง ทำการทดสอบผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ พร้อมทั้งยังสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า การระดมทุนในรูปแบบนี้จึงมีศักยภาพที่ดีในการที่จะเป็นวิธีการระดมทุนสำหรับ SME ในประเทศไทย

Crowdfunding เป็นความหวังใหม่ของการระดมทุนให้กับ SME ในอนาคต

ผู้ประกอบการ SME ไม่มีหลักประกันที่มั่นคงที่จะนำไปใช้เพื่อค้ำประกันให้กับธนาคาร ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมองหาแหล่งเงินทุนอื่น ๆ เพื่อการเติบโตของผู้ประกอบการเหล่านี้

นอกเหนือจากการระดมทุนด้วยตัวเองและจัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแล้ว ผู้ประกอบการ SME เหล่านี้ยังจะต้องกระจายแหล่งที่มาของเงินทุนเหล่านี้อีกด้วย

Crowdfunding สำหรับ SME เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและได้ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว โดยมันเป็นรูปแบบการพัฒนาทางการเงินดิจิทัลที่ทุกคนสามารถขอความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับโครงการและธุรกิจของตนเองโดยใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ

Crowdfunding ในประเทศไทยนั้นพร้อมสำหรับการเติบโตแล้วแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากสถานะการณ์ COVID-19 ความท้าทายที่สำคัญคือ การออกหุ้นกู้มักจะออกโดยบริษัทขนาดใหญ่ แต่การระดมทุนแบบ crowdfunding จะทำให้ผู้ประกอบการ SME สามารถได้ประโยชน์จากการออกหุ้นกู้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม SME จะยังต้องเผชิญกับความท้าทายเพื่อสนองต่อกฎระเบียบและพิธีการที่เกี่ยวข้องกับการออกหุ้นกู้ซึ่งจะต้องทำการลงนามด้วยปากกา เป็นต้น ทำให้กระบวนมีความยุ่งยากสำหรับการอนุมัติสินเชื่อขนาดเล็กในปริมาณมาก

สถาบันการเงินไทยสามารถรับรู้ถึงโอกาสนี้ได้ โดยในต้นปี 2563 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ได้ผ่อนคลายกฎระเบียบการระดมทุนของหุ้นกู้ ซึ่งหมายความว่าผู้ออกหุ้นกู้ – ซึ่งเป็นธุรกิจที่ระดมทุน - ไม่จำเป็นต้องยกเลิกการเสนอขายหุ้นกู้หากไม่สามารถระดมได้เต็มจำนวนมูลค่าของโครงการตามเป้าหมาย ผู้ออกหุ้นกู้สามารถระดมทุนได้สูงถึง 80% ของเป้าหมายกองทุน และสามารถเปิดเผยข้อมูลแก่นักลงทุนเพื่อผลักดันการเสนอขายให้ผ่าน

นโยบายล่าสุดนี้เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีว่า กลต. ยังมีความเข้าใจที่ดีต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบัน การรวบรวมนวัตกรรม fintech เช่น การระดมทุนจากหนี้ เป็นขั้นตอนที่ดีในทิศทางที่ถูกต้องเพื่อปิดช่องว่างในการจัดหาเงินทุน ของ SME นอกจากนี้ ยังมีกฎระเบียบบางประการที่เกี่ยวข้องกับการออกหุ้นกู้และบัญชี escrow account ของนักลงทุนที่สำนักงาน กลต. ได้ให้ความสนใจอีกด้วย




1



 


 
ซ้าย: อรทัย จรรยาไพบูลย์ลาภ - Head of Business Development
ขวา:  อาชว ท่าหลวง - Senior Manager, Sales and Product Integration

Validus ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มทางเลือกทางการเงินที่มีสำนักงานใหญ่ในประเทศสิงคโปร์ และเป็นหนึ่งในผู้ที่ต้องการเพิ่มขีดความสามารถให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Validus ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2558 โดยมีจุดประสงค์ในการรวบรวมผู้กู้รายบุคคล สถาบันการเงินผู้ให้กู้ยืม และผู้ประกอบการ SME มาอยู่รวมกันบนแพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) ปัจจุบัน Validus ได้ขยายไปสู่อินโดนีเซีย (Batumbu) และเวียดนาม (Validus Vietnam) และมียอดเงินทุนธุรกิจสูงถึง 315 ล้านเหรียญสหรัฐฯ - ซึ่งเป็นสถิติใหม่สำหรับแพลตฟอร์มการให้กู้ยืมแบบ P2P ในประเทศสิงคโปร์

ในเดือนพฤษภาคม 2563 Validus ได้ประสบความสำเร็จในการระดมทุนกว่า 14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ พร้อมทั้งรับเงินทุน 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับการลงทุนรอบ Series B+ ซึ่งร่วมโดยกองทุน Vertex Growth Fund (Vertex Growth) และกองทุน Orion Fund ของกลุ่ม Kuok และบริหารโดย K3 Venture Partners ด้วยเงินทุนใหม่นี้ Validus จะยังคงลงทุนอย่างต่อเนื่องในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม และสร้างความแข็งแกร่งให้กับสถานะในสามประเทศในอาเซียนที่มีอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ Validus ยังจะให้เงินทุนสำหรับการลงทุนใหม่ที่กำลังจะมาถึงในประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 นี้

ในประเทศไทย Validus ภายใต้ชื่อบริษัท Siam Validus Capital จะดำเนินธุรกิจด้วยใบอนุญาต crowdfunding ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการ SME มีแพลตฟอร์มที่สามารถเข้าถึงได้และมีความชาญฉลาด SME สามารถเสนอขายหุ้นกู้ crowdfunding ให้กับนักลงทุนผ่านแพลตฟอร์มที่ถูกควบคุมโดย กลต. ในขณะเดียวกัน นักลงทุนก็สามารถค้นหาข้อเสนอหุ้นกู้เหล่านี้ได้ในแพลตฟอร์มเดียวกัน ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนจากการชำระคืนของผู้ออกหุ้นกู้ Validus ตั้งเป้าที่จะจ่ายเงินมากกว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้แก่ SME ไทยในช่วง 24 เดือนแรก และพร้อมที่จะให้ความสนับสนุนแก่ SME ในเวลาที่ต้องการ

การจัดหาเงินทุนที่ครอบคลุมและเข้าถึงได้สามารถเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับ SME ในฐานะบริษัทและภาคธุรกิจ ด้วยตัวเลือกที่สามารถทำงานได้หลากหลายเพื่อสนับสนุนธุรกิจของผู้ประกอบการเหล่านี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการไทยและเจ้าของธุรกิจ SME เกิดความมั่นใจในการเติบโตและมีส่วนในการสนับสนุนการพัฒนาของประเทศไทย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...