Social Commerce & PromptPay คู่นี้ดีต่อใจ 2 สิ่งที่คนออนไลน์ต้องรู้ | Techsauce

Social Commerce & PromptPay คู่นี้ดีต่อใจ 2 สิ่งที่คนออนไลน์ต้องรู้

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเมื่อเราพูดถึงอีคอมเมิร์ซ แน่นอนว่าคำนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร แต่ด้วยพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป คนไปอยู่กันบนโลกโซเชียลมากกว่าการเปิดเว็บฯ ทั่วไป ทำให้เกิดรูปแบบการซื้อขายอย่าง Social Commerce และอีกหนึ่งคำที่คนไทยไม่รู้ไม่ได้ นั่นคือการที่รัฐบาลได้ประกาศเรื่อง PromptPay ออกมา ทั้ง 2 คำนี้เป็นสิ่งที่คนมักสอบถามเข้ามาทางเว็บฯ บ่อยๆ เราจึงมาขยายความเพื่อทำความรู้จักกับมันมากขึ้นดีกว่า

Social Commerce คืออะไร

เราช็อปปิงกันได้ทุกวันทุกเวลา เพราะเดี๋ยวนี้ต้องการสินค้าอะไรก็เสิร์ชหาข้อมูลผ่าน Search Engine ผ่านเว็บไซต์ e-Commerce หรือที่นิยมมากก็ Social Commerce (SC) Social Commerce หรือ Social Business จัดว่าเป็นส่วนย่อยของ e-Commerce โดยพัฒนามาจาก Social Media ที่สร้างขึ้นจาก Web 2.0 software ซึ่งตอนแรกนิยมใช้เพื่อติดต่อสื่อสาร เปิดเป็นคอมมูนิตี้ต่างๆ เช่น Facebook, Instagram, Twitter, LINE แต่ใช้ไปใช้มา ก็ได้รับการพัฒนาให้มีพื้นที่สำหรับค้าขาย แบรนด์ใหญ่ๆ คนดังๆ คนเล็กคนน้อยก็เข้าไปขายของได้มากมายเหลือเกิน Social Commerce จึงเป็นทางผ่านของกิจกรรมและการซื้อขายที่เติบโตได้อย่างรวดเร็ว และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล

juliette-leufke-154599

f-Commerce ปรากฏการณ์ที่อยู่ตรงหน้า

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก พูดไว้ตั้งแต่ปี 2553 แล้วว่า

“ถ้าให้ผมเดา สิ่งที่จะปฏิวัติวงการครั้งต่อไป คือ Social Commerce”

[Mark Zuckerberg said, “If I had to guess, social commerce is next to blow up.”]

เมื่อมองย่อยลงไปจาก Social Commerce ยกตัวอย่าง Facebook ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานเข้าไปสร้างเพจ ซื้อขายสินค้าผ่านเฟซบุ๊ก จากที่เป็นคอมมูนิตี้ เป็น Social Media ที่มีไว้โพสต์ภาพ พูดคุยขำๆ ก็กลายเป็น Facebook Commerce หรือ f-Commerce ซึ่งผู้ประกอบการมากมายที่มีเว็บไซต์ มี e-Commerce ของตัวเองก็ยังกระโดดลงมาเป็น Player สร้างคอมมูนิตี้ โปรโมทสินค้าและบริการผ่านแบรนด์เพจ

william-iven-19844

เครื่องมือบน Facebook มีฟีเจอร์ที่เอื้อต่อการค้าขายสินค้าและบริการมาก เช่น ให้โพสต์ภาพและข้อมูลสินค้า ให้โพสต์วิดีโอ ให้แสดงความคิดเห็น ให้กด Like ให้แชร์ต่อ ให้ tag เพื่อนที่รูปสินค้าเพื่อให้เพื่อนเห็น การทำโฆษณาบนเฟซบุ๊กเพื่อให้ผ่านสายตาผู้บริโภคตามอายุ เพศ ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของสินค้า มี Bots for Messenger ระบบพูดคุย โต้ตอบ ที่แบรนด์ใช้กับลูกค้าของตัวเองได้ผ่านแอพ Messenger เหมือนคุยกับคนปกติ และใช้สั่งซื้อสินค้าได้

สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ซึ่งผู้ขายหรือพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทำตลาดได้อย่างเหมาะสม ใช้แคปชั่นที่น่าสนใจ โดนใจ เรียกร้องความสนใจจากผู้ซื้อชาวไทยให้มาเป็นลูกค้าได้ ซึ่งการที่ลูกค้าเป็น User บน Facebook มีโอกาสเสมอที่ลูกค้าจะทำหน้าที่เป็นผู้เล่า ผู้กระตุ้น โน้มน้าวใจ สร้าง Viral Marketing ได้ว่าสินค้าหรือบริการใดมีคุณภาพดี หรือสร้างกระแสต่อต้านสินค้าและบริการนั้นๆ หากสินค้าไม่มีคุณภาพเพียงพอ ได้รับบริการที่ไม่พึงพอใจ หรือสินค้าชำรุดก่อนถึงมือ

การที่ผู้ค้าปลีก แบรนด์ เข้ามาเล่นหรือสร้างตลาดใน Social Commerce จึงช่วยให้ผู้ค้าเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็วผ่านเน็ตเวิร์ก โอกาสค้าขายได้กำไรก็มีมากขึ้น เพราะผู้บริโภคเห็นความเคลื่อนไหว ความน่าเชื่อถือ และหากมีข้อเสนอพิเศษก็อาจหนุนให้ตัดสินใจซื้อสินค้าได้เร็วขึ้น

แต่การทำ Social Commerce จากเทคโนโลยีของ Social Media หากแบรนด์ยังไม่เป็นที่รู้จักอาจต้องเหนื่อยกับการทำเพจ ทำเว็บไซต์ให้น่าสนใจ ร่วมกับการสร้างฐานลูกค้า สร้างความน่าเชื่อถือในช่วงแรก จากนั้นผู้ค้าปลีกหรือแบรนด์ก็จำเป็นที่จะต้องสร้างการรับรู้ (Brand Awareness) ให้แก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง  เพื่อทำให้เกิดความนิยม มีลูกค้าขาประจำ และต่อยอดไปสู่กลยุทธ์ Search Engine Optimization (SEO) ที่ใครๆ ก็ค้นหาสินค้าเจอ เพิ่มโอกาสในการประชาสัมพันธ์สินค้า

กล่าวได้ว่า การค้าขายออนไลน์ผ่าน Social Commerce ต้องอาศัยความสัมพันธ์ 3 ด้านในการขับเคลื่อน ได้แก่ เทคโนโลยี Social Media (Social Media Technologies), ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม Community Interactions และ กิจกรรมทางการค้า (Commercial Activities)

ทำความรู้จัก PromptPay กันบ้าง

จะเห็นว่าหลังจากภาครัฐออกโครงการระบบชำระเงินที่เรียกว่า พร้อมเพย์ (PromptPay) นวัตกรรมทางการเงินที่เข้ามาสนับสนุน Digital Economy สถาบันทางการเงินมากมายก็แข่งขันโปรโมทเพื่อสร้างฐานลูกค้า เพราะเป็นโอกาสสำคัญที่จะสร้าง Engagement กับลูกค้าได้ในระยะยาว คนไทยเองก็เห็นประโยชน์ในด้านความสะดวก รวดเร็ว จึงหันมาใช้พร้อมเพย์กันมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงยื่นเรื่องขอคืนเงินภาษี

พร้อมเพย์ หรือในชื่อเดิม บริการรับจ่ายผ่าน Any ID ซึ่งเป็นบริการโอนเงินและรับเงิน หลักการก็คือ ลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยบัญชีเงินฝากธนาคารกับหมายเลขบัตรประชาชน หรือเบอร์โทรศัพท์มือถือ เมื่อลงทะเบียนสำเร็จก็ใช้โอนเงิน รับเงินได้เลย แต่การโอนไม่ว่าจะผ่านตู้ ATM, Mobile Banking หรือ Internet Banking จะให้ใส่ Password ก่อนโอนไปยังหมายเลขบัตรประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์ของผู้รับที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์แล้วทุกครั้ง

ข้อดีของคนมีพร้อมเพย์

  • โอนเงิน รับเงิน สะดวก รวดเร็ว เพราะใช้เพียงเบอร์โทรศัพท์ก็โอนเงินให้ได้ ไม่ต้องบอกเลขที่บัญชีเหมือนแต่ก่อน และตรวจสอบการทำรายการย้อนหลังสะดวก
  • ปลอดภัยกว่าเดิม เพราะไม่ต้องถือเงินสด เงินก้อนไปธนาคาร ไม่ต้องเสี่ยงโดนตีหัว กระชากกระเป๋า
  • รับเงินจากภาครัฐได้โดยตรง เช่น เงินคืนภาษี เงินช่วยเหลือน้ำท่วม เงินสวัสดิการอื่นๆ
  • ค่าธรรมเนียมถูกกว่าการโอนเงินทั่วไป โดยเพดานสูงสุดของค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 10 บาท

โอนเงินไม่เกิน 5,000 บาท ไม่คิดค่าธรรมเนียม

โอนเงินมากกว่า 5,000-30,000 บาท ค่าธรรมเนียมรายการละไม่เกิน 2 บาท

โอนเงินมากกว่า 30,000-100,000 บาท ค่าธรรมเนียมรายการละไม่เกิน 5 บาท

โอนเงินมากกว่า 100,000-วงเงินสูงสุดตามแต่ละธนาคารกำหนด ค่าธรรมเนียมรายการละไม่เกิน 10 บาท

แนะนำ : คนทั่วไปจะใช้หรือไม่ใช้พร้อมเพย์ก็ได้ แต่คนที่รับเงินบ่อยๆ ควรจะใช้บริการพร้อมเพย์ที่ผูกบัญชีธนาคารกับหมายเลขโทรศัพท์ ส่วนคนที่จะรับเงินจากหน่วยงานภาครัฐให้ใช้บริการพร้อมเพย์ที่ผูกบัญชีธนาคารกับเลขบัตรประชาชน

เคล็ดลับการโอนไม่มีค่าธรรมเนียม : สมมติต้องการโอนเงินให้เพื่อน 10,000 บาท หากโอนเงิน 10,000 บาทรวดเดียวจะเสียค่าธรรมเนียม 2 บาท แต่ถ้าแบ่งการโอนเป็น 2 ครั้ง ครั้งละ 5,000 บาท ก็จะไม่เสียค่าธรรมเนียม

thai-1549084_960_720

ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย

สมมติว่า แม่ค้าแอนขายน้ำหอมแบรนด์ DOUBLE B สำหรับผู้ที่มีปัญหาผิวแพ้ง่าย โดยโปรโมทผ่านเพจ Social Commerce อย่าง Facebook แต่แม่ค้าแอนไม่ใช่ผู้ผลิตน้ำหอมจึงจ้างโรงงานผลิต (OEM) ซึ่งแม่ค้าแอนต้องสั่งทำเทสเตอร์ สั่งผลิตน้ำหอม สั่งขวดหรือกล่องมาเป็นบรรจุภัณฑ์ สั่งทำฉลากแบรนด์ สั่งซื้อกล่องพัสดุเพื่อจัดส่ง แม่ค้าแอนก็ต้องชำระเงินให้โรงงานผู้ผลิตน้ำหอม โรงงานผู้ผลิตขวดและฉลาก ตัวแทนจำหน่ายกล่องพัสดุ

หากแม่ค้าแอนมี 3 บัญชี :

บัญชีที่ 1 ลงทะเบียนพร้อมเพย์ไว้กับเลขบัตรประชาชน (ไว้รับเงินคืนจากภาครัฐ + ใช้จ่ายกับ supplier)

บัญชีที่ 2 ลงทะเบียนพร้อมเพย์ไว้กับเบอร์โทรศัพท์มือถือ (ไว้รับเงินจากลูกค้า + ตัวแทนสำหรับค่าสินค้า)

บัญชีที่ 3 ลงทะเบียนพร้อมเพย์ไว้กับเบอร์โทรศัพท์มือถืออีกหนึ่งเบอร์ (ไว้เป็นบัญชีเงินออม)

วันอังคารที่แล้ว แม่ค้าแอนทำเรื่องขอคืนเงินภาษีผ่านพร้อมเพย์ วันศุกร์ก็ได้เงินภาษีคืนเข้ามาในบัญชีที่ 1  และเริ่มสั่งผลิตน้ำหอมรอบใหม่ โดยเลือกใช้บัญชีที่ 1 สำหรับโอนเงิน 8,000 บาท ไปยังโรงงานผู้ผลิตน้ำหอม ซึ่งเสียค่าธรรมเนียมการโอน 2 บาท (ตอนที่ยังไม่ได้ใช้พร้อมเพย์ เสียค่าธรรมเนียม 25 บาท) โอนครั้งที่ 2 ไปยังโรงงานผู้ผลิตขวด 12,000 บาท เสียค่าธรรมเนียม 2 บาท และโอนครั้งที่ 3 ไปยังผู้ผลิตกล่อง 2,000 บาท โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ

แต่ถ้าบัญชีที่ 1 ของแม่ค้าแอนเป็นบัญชีจัดให้และมีบัตรจัดให้ของธนาคารกรุงศรีซึ่งผูกกับพร้อมเพย์ ไม่ว่าจะมียอดเงินโอนเท่าไรก็จะไม่เสียค่าโอนไปพร้อมเพย์ ตราบเท่าที่มีบัญชีและถือครองบัตรจัดให้

ปกติแม่ค้าแอนขายน้ำหอมผ่านเพจเฟซบุ๊กเป็นหลัก เน้นการค้าขายแบบรับเงินโอนเข้าบัญชีทางตรง วันนี้มีลูกค้าติดต่อซื้อน้ำหอมมาทาง messenger ในเพจเฟซบุ๊กของแม่ค้าแอนหลายสิบคน ซึ่งลูกค้าแต่ละคนก็ใช้บัญชีธนาคารแตกต่างกัน แต่แม่ค้าแอนบอกเบอร์โทรศัพท์ที่ลงทะเบียนกับพร้อมเพย์ไว้ ไม่ได้บอกเลขบัญชีธนาคารให้ยุ่งยากเหมือนแต่ก่อน จึงช่วยประหยัดเวลาและลดความผิดพลาดจากการที่ลูกค้าจดจำเลขบัญชีผิดไปได้มาก ลูกค้าที่ใช้พร้อมเพย์ก็สามารถโอนเงินซื้อสินค้าราคาปลีกในเรทไม่กี่ร้อยบาทเข้าบัญชีที่ 2 ได้ทันที  ไม่ว่าจะใช้ธนาคารใดก็ไม่เสียค่าธรรมเนียม และเมื่อ แจน ลูกค้าวัยทำงานที่ชื่นชอบผลิตภัณฑ์มาก ขอเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำหอมต่อ ก็โอนเงินมัดจำค่าน้ำหอมเข้าบัญชีที่ 2 ของแม่ค้าแอน 4,000 บาท โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม เมื่อได้สินค้าครบจึงโอนเงินที่เหลือไปสมทบ และหลังจากปิดรอบบัญชีของทุกเดือน แม่ค้าแอนก็จะโอนกำไรส่วนหนึ่งจากบัญชีที่ 2 เข้าบัญชีที่ 3 ไว้เป็นเงินเก็บ

จากตัวอย่างนี้สังเกตได้ว่า หากใช้บริการโอนเงิน รับเงินผ่าน e-Payment อย่างพร้อมเพย์ แม่ค้าแอนมี Transaction ในบัญชีธนาคารได้โดยไม่ต้องจับเงินสด ไม่ต้องเสียเวลาไปธนาคาร ทั้งฝั่งโรงงานและลูกค้าก็สะดวกโอนเงิน รับเงินได้เช่นเดียวกัน

พร้อมเพย์จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะเข้ามาร่วมเปลี่ยนวิธีที่ผู้บริโภคชาวไทยใช้โอนเงิน ชำระเงิน จับจ่ายใช้สอยในด้านต่างๆ ร่วมไปกับเทรนด์ Cashless Society ซึ่งหลายประเทศได้เปลี่ยนรูปแบบการใช้เงินล่วงหน้าไปหลายปีแล้ว เช่นที่สวีเดนปฏิวัติการจับจ่ายใช้สอยด้วยการประกาศยกเลิกการใช้เงินสดในการทำธุรกรรมและการค้าใดๆ แล้วให้ชาวสวีเดนหันไปใช้เงินดิจิทัล โดยรัฐออกแอปพลิเคชั่น Swish Payment มารองรับการทำธุรกรรมตั้งแต่ปี 2554 และตั้งแต่ใช้ e-Payment ชาวสวีเดนก็รู้สึกว่าชีวิตสะดวกสบายขึ้น ปลอดภัยขึ้นมากที่ไม่ต้องพกเงินสด

…………………………

ศึกษาเรื่อง eCommerce กับ PromptPay เพิ่มเติมที่

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สองวิธีเรียกคืนอำนาจบริหารจากบริษัทตัวเอง ถกประเด็นน่ารู้จากซีรีส์ Queen of tears

เจาะลึกประเด็นซีรีส์ Queen of tears การต่อสู้แย่งชิงอำนาจบริหาร Queens Group กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฮงจะกลับมายึดคืนอำนาจบริหาร ...

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...