Startup Ecosystem ของฟิลิปปินส์ ลมเปลี่ยนทิศ เมื่อ Revolution Precrafted ยูนิคอร์นหนึ่งเดียวสร้างบทเรียนแสนเจ็บปวด | Techsauce

Startup Ecosystem ของฟิลิปปินส์ ลมเปลี่ยนทิศ เมื่อ Revolution Precrafted ยูนิคอร์นหนึ่งเดียวสร้างบทเรียนแสนเจ็บปวด

 Revolution Precrafted สตาร์ทอัพสร้างและออกแบบบ้านสำเร็จรูป ซึ่งเป็นยูนิคอร์นรายแรกและยังคงเป็นหนึ่งเดียวของฟิลิปปินส์ ที่มูลค่าบริษัทพุ่งสูงกว่า 1 พันล้านเหรียญ หลังการระดมทุนในซีรีส์ B จากนักลงทุนสิงคโปร์ K2 Global ขณะนี้บริษัทกำลังถูกตั้งคำถามมากมายจากสาธารณชน รวมถึงมีลูกค้าหลายรายที่ไม่พอใจก็กำลังฟ้องร้องบริษัท ฐานไม่สามารถทำตามสัญญาได้ แน่นอนว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น ส่งผลต่อทั้ง Startup Ecosystem ของฟิลิปปินส์ ที่นักลงทุนต่างทบทวนถึงแนวทางการลงทุนใหม่อีกครั้งว่า แท้จริงแล้ว ฟิลิปปินส์ เหมาะที่จะปั้นยูนิคอร์นต่อหรือไม่ ?

Revolution Precrafted

Revolution Precrafted ยูนิคอร์นเพียงหนึ่งเดียวทำพิษ เมื่อฝันที่ให้ไว้ไกลเกินจริง

บริษัท Revolution Precrafted ก่อตั้งขึ้นในปี 2015 โดยร็อบบี้ อันโตนิโอ นักสังคมสงเคราะห์ที่ทำงานร่วมกับลูก ๆ ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างโดนัลด์ ทรัมป์ โดยมีวิสัยทัศน์ในการนำเสนอบ้านโมดูลาร์สุดหรูออกสู่ตลาด อันโตนิโอได้จ้างนักออกแบบที่มีชื่อเสียงระดับโลกกว่า 80 คน 

เช่น ซาฮา ฮาดิด และ แดเนียล ลิเบสกิน มาออกแบบบ้านให้ในราคาเฉลี่ย 120,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 3.7 ล้านบาท) และสามารถทำให้เสร็จสิ้นภายในเวลาเพียง 90 วัน ทว่า 4 ปีต่อมา Revolution ก็ยังไม่ได้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบธุรกิจที่เป็นไปได้เลย

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สำนักข่าว ABS-CBN รายงานว่า ลูกค้าหลายรายรู้สึกโกรธและผิดหวัง พวกเขาตั้งกลุ่มใน Facebook ขึ้นมา ตั้งคำถามทำนองว่า “ฉันจะขอเงินคืนได้อย่างไร” 

อีกทั้งเหล่าซัพพลายเออร์ก็มีบ่นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ถูกบริษัทหลอกล่อให้ทำสัญญาบางอย่างที่ดูคลุมเครือในมูลค่า 150 ล้านเปโซ (97.1 ล้านบาท) ด้วยเช่นกัน

ด้านทนายของ Revolution ได้กล่าวว่า ทางบริษัทได้บรรลุข้อตกลงอย่างฉันมิตรกับซัพพลายเออร์ ผู้รับเหมา และลูกค้าของบริษัทจำนวนมากหลังจากการหารือหลายครั้งในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา รวมถึงผู้ที่ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสืบสวนแห่งชาติในเดือนกุมภาพันธ์ด้วย และในส่วนของผู้เรียกร้องสิทธิ์จำนวนหนึ่งที่เหลืออยู่ไม่กี่รายนั้น ทางบริษัทกล่าวว่า พวกเขามีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามภาระหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ภายใต้กฎหมาย ความยุติธรรม และปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาเดิมที่คู่สัญญาลงนามไว้กับ Revolution

ความสามารถในการแข่งขันของฟิลิปปินส์ตกลง เพราะ ไม่มียูนิคอร์นที่ประสบความสำเร็จ ?

บางคนโต้แย้งว่า ถึงแม้กระแสทิศทางของ Revolution จะเป็นที่น่าจับตามองเพราะเป็นยูนิคอร์นเพียงหนึ่งเดียวในประเทศ แต่การที่ไม่มี Startup มูลค่าสูงรายอื่น ๆ ก็เป็นการตอกย้ำว่าฟิลิปปินส์พลาดโอกาสในการสร้างยูนิคอร์นของประเทศตัวเองไปมากเพียงใด

รายงานการลงทุนของฟิลิปปินส์ประจำปี 2020 ฟิลิปปินส์มีบริษัท Startup มากกว่า 400 ราย นักลงทุนอิสระ (Angel Investor) กว่า 50 ราย บริษัทร่วมลงทุนอีกมากกว่า 40 แห่ง และ Incubator อีกประมาณ 35 แห่ง 

แต่มูลค่ารวมของสัญญาร่วมทุนปี 2019 และ 2020 อยู่ที่ประมาณ 200 ล้านดอลลาร์ (6.2 พันล้านบาท) ซึ่งถือว่าน้อยที่สุดในบรรดาหกประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อ้างอิงจากรายงานของ Preqin ) ดังนั้น การไม่มียูนิคอร์นที่ประสบความสำเร็จจึงทำให้ฟิลิปปินส์เสียเปรียบในการแสวงหาเงินทุน

หรือจริง ๆ แล้ว ฟิลิปปินส์ เหมาะที่จะสร้าง อูฐ มากกว่ายูนิคอร์น ? 

การที่ Startup ในท้องถิ่นไม่สามารถดึงเงินลงทุนจำนวนมากได้ก็เป็นปัญหามาเป็นเวลานาน จนบางคนตั้งคำถามว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ฟิลิปปินส์ควรตั้งเป้าในการสร้างยูนิคอร์นขึ้นมาเป็นของตัวเองเสียที

ทั้งนี้ ทีมผู้จัดการของ VC Gobi Partners ซึ่งร่วมลงทุนกับกองทุนรวมท้องถิ่นเป็นมูลค่า 10 ล้านดอลลาร์ (314 ล้านบาท) ก็ได้เสนอให้ฟิลิปปินส์เพาะพันธุ์ ‘อูฐ’ ซึ่งหมายถึง Startup ที่สามารถเอาตัวรอดจากวิกฤตต่าง ๆ ได้ ขึ้นมาแทน

นอกจากนี้ ‘คาร์โล เดลันทาร์’ หุ้นส่วนของ Core Capital ยังกล่าวว่า “ถ้าบริษัทต่าง ๆ สามารถขึ้นไปถึงสถานะยูนิคอร์นได้ก็จะเยี่ยมมาก แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น เราอยากแน่ใจก่อนว่าบริษัทเหล่านั้นจะสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งนั่นหมายถึงการเป็นอูฐ”

ดังนั้น เมื่อยูนิคอร์นตัวแรกของฟิลิปปินส์ไม่ประสบความสำเร็จดังคาด แสดงให้เห็นว่า การเป็นยูนิคอร์นอาจไม่ใช่เป้าหมายหลักเป้าหมายเดียวของ Startup Ecosystem ของฟิลิปปินส์อีกต่อไป เพราะหากจะทำให้ธุรกิจของตนเองมีความยั่งยืน เราต้องรู้จักการยืนอยู่ให้ได้ด้วยตัวเองอย่างเข้มแข็งเหมือน ‘อูฐ’ เสียก่อน


อ้างอิง  Nikkei Asia 


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...