อยากเปลี่ยนแปลงโลก ก็จงเดินตามความฝันซะ Follow your dream
** คำเตือน บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาในซีรีส์บางส่วน หากยังไม่ได้รับชม โปรดใช้ความระมัดระวัง**
นับว่าจบลงอย่างสวยงามสำหรับซีรีส์เกาหลี Start-Up ที่แฟน ๆ ร่วมเดินทางกันมากว่า 2 เดือนเต็ม ที่ต้องมาลุ้นความเป็นไปกันทุกสัปดาห์ในระหว่างที่กำลังออนแอร์ สำหรับบทสรุปในแง่ของธุรกิจ Startup ท้ายที่สุดเราก็ได้เห็นถึงความสำเร็จเป็นขั้นบันได จากการเดินทางมาตั้งแต่จุดเล็ก ๆ ผ่านกระบวนการต่าง ๆ จนทำให้ธุรกิจของซอดัลมี และนัมโดซานที่ร่วมสร้างกันมาประสบความสำเร็จจนสามารถเป็นยูนิคอร์นได้ (ธุรกิจ Startup มูลค่ากว่าพันล้านดอลลาร์ )
ความน่าสนใจที่ซีรีส์เรื่องนี้ได้ทิ้งไว้ในเราลองคิดตามในตอนสุดท้าย คือ การขยายธุรกิจของ Startup หรือ การ Scale Up นั่นเอง ตั้งแต่ต้นเรื่องเราได้เห็นการเดินทางที่ผ่านร้อนผ่านหนาวของการก่อตั้งธุรกิจไม่น้อยเลยทีเดียว ถือว่าครบ Loop ที่ตัวละครต่างได้เรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ในการทำธุรกิจอย่างเต็มที่
ถึงช่วงหนึ่งของซีรีส์ในตอนสุดท้ายที่นัมโดซานได้ถามประธานซอดัลมีว่า "คิดว่าทาซานจะไปได้ไกลสักแค่ไหน" แล้วดัลมีตอบว่าเป้าหมายคือ เลเวลห้าอยู่แล้ว (การที่รถยนต์ไร้คนขับสามารถขับขี่ได้อย่างสมบูรณ์แบบโดยไม่ต้องใช้ที่นั่งคนขับ) แต่มันไม่ได้อยู่ที่แค่ว่า เราทำได้ดีนี่สิ ทั้งกฎหมาย สภาพแวดล้อมบนถนน ต้องเป็นไปตามโครงสร้างพื้นฐาน"
จากการกล่าวเช่นนี้ของประธานซอดัลมี จะเห็นได้เลยว่าแม้ที่ผ่านมาจะได้รับการสนับสนุนในการบ่มเพาะธุรกิจเต็มที่ มีบุคคลกรที่มีความสามารถ โปรดักส์ดี เทคโนโลยีดีขนาดไหน แต่จะไม่สามารถไปได้ไกลเลยถ้าหากระบบนิเวศน์ (ecosystem) ไม่เอื้อให้เติบโตไปพร้อมกัน มันก็เหมือนกับทำของดีที่ไม่มีคนใช้
ยกตัวอย่างเห็นภาพง่าย ๆ อย่างกรณีรถยนต์ไฟฟ้าที่ต่อให้หลายบริษัทจะผลิตออกมา แต่สถานีชาร์จไม่พร้อม ไม่มีคนใช้ สภาพถนน การจราจรไม่เอื้อ หรือแม้กระทั่ง policy จากภาครัฐไม่สนับสนุนก็ไม่สามารถที่จะทำให้แพร่หลายและเกิดการเปลี่ยนแปลงได้
นอกจากนี้ประธานซอดัลมี ยังพูดไปถึงเป้าหมายที่เธอตั้งใจทำยานยนต์ไร้คนขับอย่างทาซานให้เกิดจริง ๆ นั้นคือ จากกการที่พ่อของเธอเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ หรือย่าที่เกือบจะสูญเสียการมองเห็น ซอดัลมีตั้งเป้าหมายว่าอยากให้โลกที่มีทาซานอยู่ ไม่มีอุบัติเหตุแบบที่พ่อเธอเคยเจอ อยากให้คุณย่าได้เดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างสบายใจ
จากเป้าหมายตรงนั้น นัมโดซานได้บอกว่า "ทุกอย่างสามารถเป็นจริงตามที่ซอดัลมีกล่าวมาภายในระยะเวลา 5 ปีครึ่ง แต่ถ้าเรา Scale Up อย่างถูกต้องและลงทุนกับการวิจัยและพัฒนา (R&D) อย่างต่อเนื่องก็จะเป็นไปได้ภายใน 3 ปี" แน่นอนว่าการเข้าประมูลโครงการ smart city ก็เป็นหนึ่งในแนวทางที่เอาตัวเองเข้าไปอยู่ในระบบนิเวศน์ที่เอื้อ เพื่อให้สามารถขยายธุรกิจได้เช่นกัน
นอกจากเป้าหมายที่วางไว้อย่างดีแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม Startup ก็ยังเป็นธุรกิจที่ต้องหมุนด้วยเงินทุนอยู่ดี ประธานซอดัลมีเห็นว่าการที่โปรดักส์ของชองมยองคอมพานี สามารถเข้ารอบ 5 ทีมสุดท้ายของการเข้าร่วมประมูลโครงการขนาดใหญ่ได้นั้น นับว่าเทคโนโลยีของเธอก็มีศักยภาพด้านการแข่งขันได้ดีเลยทีเดียว ดังนั้นเธอจึงต้อง Scale Up เพื่อเร่งความเร็วในการเติบโต ด้วยการเพิ่มกำลังคน (manpower) และการลงทุนใน R&D ดังนั้นจึงต้องระดมทุน ในช่วงที่ธุรกิจกำลังเนื้อหอม
ตัดมาที่ในมุมของ VC ซึ่งเป็นผู้ลงทุน อย่าง SH Venture ที่ประธานยุนได้เฝ้ามองด้วยความสนใจมาตั้งแต่สมัยซัมซานเทค ต้องการที่จะลงทุนให้ จากการที่เป็น Startup ที่เติบโตมากพอที่จะลงทุนได้แล้ว
และได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการฮันจีพยอง คนดีศรี sandbox ผู้ไม่มีดวงเรื่องความรักนั้น เป็นคนรับหน้าที่นี้ไป ในการดูแลชองมยองคอมพานี ซึ่งมีศักยภาพการเติบโตสูงมากโดยไม่นานก็จะเติบโตเข้าสู่ J-Curve ที่แม้ว่าในช่วงแรกอาจจะติดลบเพราะต้อง burn เงินลงทุนไปกับการเร่งความเร็วของธุรกิจ แต่ก็จะมีศักยภาพที่จะกลับมาเป็นบวกได้ในที่สุดจากการที่จะสามารถ Exit ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะกราฟเติบโตคล้ายกับรูปตัว J ทำให้นักลงทุนต่างก็จะมองว่าคุ้มค่าที่จะเสี่ยงไปกับ Startup
โดยในแง่ของระบบนิเวศน์นั้นจะเห็นได้ว่า VC มักจะให้ความสำคัญกับการลงทุนกับ Startup ที่ Scale Up มากกว่า ระยะเริ่มต้น เพราะเงินทุนที่ลงไปนั้นจะเป็นจะเป็นเงินที่ช่วยให้ Startup นำมาใช้เพื่อการขยายธุรกิจต่อนั่นเอง มันจึงเป็นที่มาของการเปิดระดมทุนใน round ต่าง ๆ ที่เริ่มต้นตั้ง Series A B C …. ตามวัตถุประสงค์ของ Startup ที่จะนำเงินไปใช้ เพราะก่อนจะขอเงินจากนักลงทุนได้ Startup ต้องรู้ก่อนว่าจะนำเงินไปทำอะไร
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจ Startup ถือเป็นการเข้าสร้างความเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจเป็นอย่างมาก โดยได้ที่เข้ามา Disrupt หลายอุตสาหกรรมที่ต้องพากัน Transform อย่างหนัก เพราะ Startup เป็นธุรกิจที่เกิดจากไอเดียที่มุ่งเน้นการแก้ Pain point หรือการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ (New S-Curve) ด้วยเทคโนโลยีในการขับเคลื่อน รวมถึงเป็นธุรกิจที่สามารถขยายการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่มีความคล่องตัวสูง การกล้าลองผิด ลองถูก ทำให้สามารถคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันทำให้หลายองค์กรใหญ่ต่างให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้คล่องตัวแแบบ Startup
สำหรับองค์กรใดที่สนใจเรื่องของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้มีความแข็งแกร่ง สามารถติดตามได้ที่ งาน Techsauce Culture Summit 2021 ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิพิเศษก่อนใคร ได้ที่ https://bit.ly/33Bn5ki
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด