รัฐบาลไต้หวัน ผลักดันสร้าง Talent ด้าน AI หมื่นคนต่อปี ป้อน Google, Microsoft

รัฐบาลไต้หวันผลักดันการเทรนด์บุคลากรด้าน AI กว่าหมื่นคนต่อปี ป้อน Google, Microsoft

เป็นเวลากว่าหลายปีแล้วที่ไต้หวันได้พยายามคงความสามารถในการแข่งขันด้าน AI ให้ทัดเทียมกับประเทศอื่นในโลก อีกทั้งในช่วงปีหลังๆ ที่ผ่านมานี้ ยังได้สูญเสียคำสั่งซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าจากบริษัทต่างประเทศ เนื่องจากผู้ผลิตต่างมองหาแหล่งโรงงานที่ถูกกว่าอย่างจีน

อย่างไรก็ตามในช่วงสองสามปีมานี้ การลงทุนในไต้หวันจากบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google, Microsoft และ Nvidia ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ไต้หวันเริ่มที่จะผันตัวจากแหล่งผลิตฮาร์ดแวร์ ให้กลายเป็นฮับศูนย์วิจัยและพัฒนาชั้นนำด้านปัญญาประดิษฐ์หรือ AI

ในการตอบสนองความต้องการตลาดโลก รัฐบาลได้พยายามทำการบ่มเพาะเหล่า Talent อย่างหนัก ทางนายกรัฐมนตรีไต้หวัน ซู เจิน ชาง กล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมว่า "เราจะทำการเทรนด์ 10,000 คนทุกปี เพื่อให้เพียงพอต่อการทำงานด้านการวิจัยและพัฒนา AI"

"ในไม่ถึงสองปี ไต้หวันจะกลายเป็นเป็นเวทีสำหรับนวัตกรรม AI ที่คนทั่วโลกต้องจับตา"

การที่ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีได้ตั้งฐาน R&D ด้าน AI ในไต้หวัน จะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

อยากจะเป็นผู้นำต้องให้ความรู้ด้าน AI ตั้งแต่เนิ่นๆ

จริงๆ แล้วการที่ความทะเยอทะยานดังกล่าวได้แผ่ขยายอย่างกว้างขวาง ก็เนื่องจากที่ไต้หวันได้มีการให้ความรู้ด้านวิศวกรในมหาวิทยาลัยมานานหลายทศวรรษแล้ว

นักวิเคราะห์ด้านเทคโนโลยีกล่าวว่า "การที่บริษัทในซิลิคอนวัลเลย์ได้ตั้งฐานในไต้หวันก็เพราะกลุ่ม Talent เหล่านั้นอย่างแน่นอน"

เพื่อที่จะสามารถผลิตบุคลากรที่มีความรู้ด้าน AI จำนวน 10,000 คนในทุกๆ ปี นายกไต้หวันกล่าวว่า

การศึกษาด้าน AI จะต้อง 'หยั่งราก' ตั้งแต่โรงเรียนประถมและมัธยม

สื่อการสอนเพิ่มเติมจะส่งไปยังโรงเรียนของรัฐในปีนี้ อีกทั้งยังมีผู้สมัครกว่า 1,000 คน ได้ลงทะเบียนเรียนคอร์สออนไลน์ด้าน AI ที่ทางรัฐบาลได้ให้การสนับสนุน

"สาเหตุที่บริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐเลือกไต้หวันเป็นฐานหลักในการสร้างโปรเจกต์ด้าน AI ก็เนื่องจากที่นี่มีวิศวกรที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งแรงงานไต้หวันก็มีชื่อเสียงที่ดีในเรื่องความจงรักภักดี มีเสถียรภาพ" William Foreman ประธานหอการค้าอเมริกันในไทเป กล่าว

พวกเขารู้ว่าที่ไต้หวันได้มีการเทรนวิศวกรตั้งแต่ปี 1980 ทำงานผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง PC ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของรายได้หลัก ก่อนที่ AI จะเข้ามาเสียอีก

ตอนนี้นักศึกษาจบใหม่ที่ไต้หวันมีรายได้ 1,084 ดอลลาร์ต่อเดือน (คิดเป็นเงินไทยประมาณ 34,500 บาท) 

อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีเรื่องของการขาดแคลนทักษะแรงงานอยู่ดี "ไต้หวันมีความต้องการ Talent ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ หรือ Computer science มานาน อีกทั้งเมื่อหลายบริษัทให้ความสำคัญเรื่อง AI ก็ดูเหมือนความต้องการนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ "

"มีเพียง 22,000 คนทั่วโลกเท่านั้น ที่มีคุณสมบัติในการทำการวิจัยด้าน AI ได้ดีพอในการเริ่มโครงการใหม่ๆ" J.F. Gagne ผู้เป็นซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Element AI บริษัทระดับโลกผู้ให้บริการผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ (AI) กล่าว

ศึกชิง Talent ด้าน AI ของบริษัทยักษ์ใหญ่

ช่วงต้นปี 2018 ทาง Google, IBM และ Microsoft ได้ประกาศขยายฐาน R&D อีกทั้งจะทำการจ้างคนร่วม 600 คน

บล็อกภาษาจีนของ Google ได้ประกาศเมื่อเดือนมีนาคมว่า ในปีหน้า Google จะมีการสร้างสำนักงานเขตชานเมืองแห่งใหม่ในไทเปโดยมีพื้นที่เพิ่มเป็นสองเท่าสำหรับพนักงานปัจจุบัน ซึ่งมี 2,000 คน เพื่อทำงานด้าน AI

ไม่เพียงเท่านี้ทาง Qualcomm บริษัทผู้ผลิตชิพ ยังได้ออกมาแถลงในเดือนสิงหาคมว่า พวกเขาจะทำการสร้าง โรงงานผลิตในไต้หวันเป็น ตั้งเป้าให้เป็น 'Nexus' สำหรับการดำเนินงานซัพพลายเชน

อีกทั้งในปีที่แล้วบริษัท Nvidia ผู้พัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ยังได้เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไต้หวันเพื่อการพัฒนา AI

"การเทรนด์ให้คนทำงานด้าน AI แทนที่ด้านฮาร์ดแวร์นั้นเป็นอะไรที่สำคัญมาก" Helen Chiang ผู้จัดการทั่วไปของบริษัท IDC กล่าว เธอคาดว่าสมาร์ทโฟน PC และ AI จะรวมเข้าด้วยกันอย่างรวดเร็ว นี่ทำให้ความต้องการ Talent จะทวีเพิ่มขึ้นไปอีก

"มหาวิทยาลัยในไต้หวันมีโครงการ AI จำนวนมาก ในแง่ของด้านวิทยาศาสตร์ รัฐบาลต้องการปลูกฝังในด้านนี้เป็นพิเศษ ดังนั้นแม้การบ่มเพาะกลุ่มคนที่มีความสามารถจะต้องใช้เวลา แต่เมื่อเวลาผ่านไปทรัพยากรเหล่านี้จะมีความสำคัญมาก" Helen กล่าว

อ้างอิงเนื้อหาข่าวจาก Forbes

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แจก 4 ฟีเจอร์ AI ออกแบบใน Microsoft Designer แอปคล้าย Canva ผสม Midjourney

บทความนี้ Techsauce จึงอยากพามาทำความรู้จักกับ Microsoft Designer กันอีกสักครั้ง ว่าผ่านไป 2 ปี แพลตฟอร์มนี้มีอะไรเพิ่มมาใหม่บ้าง...

Responsive image

ท่องเที่ยวไทยมีดี แต่ SME ยังไม่พร้อม ?

ธุรกิจท่องเที่ยวจะปรับตัวยังไง เมื่อเจอความท้าทายรุมล้อม ไม่ว่าจะเป็นการปรับใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ การรับมือธุรกิจจีนที่เข้ามารุกตลาด และการสร้างบริการท่องเที่ยวให้ตอบโจทย์นักเดินทาง...

Responsive image

อินโดนีเซีย เปิดรับเทคโนโลยีอย่างไร เพื่อสร้างเศรษฐกิจยุคใหม่ ถอดบทเรียนจากงาน Bali International Airshow

อินโดนีเซีย กลายเป็นประเทศเนื้อหอมที่บิ๊กเทคฯ ต่างประเทศแห่เข้าไปลงทุนมากมาย ซึ่งหากนับแค่ช่วงครึ่งแรกของปี 2023 เพียงปีเดียวอินโดนีเซียสามารถสร้างมูลค่าถึง 34,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ...