สัมภาษณ์พิเศษ: TABICA กับการพาร์ทเนอร์กับสตาร์ทอัพไทย TakeMeTour เชื่อมต่อท่องเที่ยวไทย-ญี่ปุ่น | Techsauce

สัมภาษณ์พิเศษ: TABICA กับการพาร์ทเนอร์กับสตาร์ทอัพไทย TakeMeTour เชื่อมต่อท่องเที่ยวไทย-ญี่ปุ่น

… 2017 เราเชื่อว่าปีนี้คือปีแห่งการทำ Partnership

เมื่อช่วงสิ้นปี 2016 จึงได้เข้าไปคุยกับ Startup ไทยรายนึงที่เพิ่งประกาศเป็นพาร์ทเนอร์กับบริษัทญี่ปุ่นไป

โดย TakeMeTour คือตัวแทนจากฝั่งไทย และพวกเขาก็ได้พาร์ทเนอร์กับ TABICA ซึ่งเป็นตัวแทนจากฝั่งญี่ปุ่น

TakeMeTour และ TABICA มีโมเดลเหมือนกันตรงที่เป็น Marketplace จับคู่ระหว่างนักท่องเที่ยว กับ ไกด์ท้องถิ่น (ซึ่งที่ TakeMeTour เรียกว่า Local expert)

Partnership มีได้หลายรูปแบบ โดยบทความนี้จะเป็นกรณีศึกษาสำหรับธุรกิจในสายเดียวกัน แต่ไม่ได้แข่งกัน และต่างฝ่ายต่างสามารถพึ่งพากันได้

ลักษณะ Partnership ของ TakeMeTour และ TABICA

ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีคอนเซปต์คล้ายกัน คือเรื่อง Local Expert แต่ว่ามีความแตกต่างกัน ดังนี้

  • TakeMeTour นั้น เน้นด้าน ‘Inbound’ คือลูกค้าเป็นชาวต่างชาติ ที่สนใจเที่ยวเมืองไทยกับไกด์ท้องถิ่น
  • “พาฉันเที่ยว” ซึ่งเป็นอีกบริการหนึ่งของ TakeMeTour นั้นเน้นด้าน ‘Outbound’ คือลูกค้าเป็นคนไทย ที่สนใจเที่ยวเมืองนอกโดยมีไกด์ท้องถิ่นของประเทศนั้น (ซึ่งเป็นคนไทย) พาเที่ยว
  • TABICA เน้นด้าน ‘Domestic’ คือเน้นลูกค้าภายในประเทศ ซึ่งก็คือคนญี่ปุ่น ที่สนใจเที่ยวญี่ปุ่นแบบท้องถิ่น

ทำให้เราสามารถสรุปลักษณะ Partnership ของทั้งสองฝ่ายได้ดังนี้

คนไทย ไปญี่ปุ่น

จากเดิมที่ TABICA รองรับเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่เที่ยวในประเทศ ก็จะขยายมารองรับนักท่องเที่ยวชาวไทยด้วย โดยมี พาฉันเที่ยว ช่วยเรื่องฐานลูกค้าคนไทย โดย พาฉันเที่ยว จะแนะนำแพคเกจทัวร์ในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นของ TABICA

นอกจากนี้ พาฉันเที่ยว จะช่วยหาคนไทยที่สนใจเป็นล่ามภาษาไทย ให้กับไกด์ท้องถิ่นชาวญี่ปุ่น (ซึ่งอาจจะไม่ถนัดสื่อสารภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติ)

ส่วนในฝั่งของ พาฉันเที่ยว ก็ได้นำเสนอบริการให้กับลูกค้ามากขึ้น ผ่านการนำเสนอประสบการณ์ทัวร์ญี่ปุ่นแบบ Local ของ TABICA และได้รับ Revenue sharing ร่วมกัน

x

พาฉันเที่ยว นำเสนอบริการเที่ยวญี่ปุ่น จาก TABICA

คนญี่ปุ่น มาไทย

และนอกจากนี้ TABICA เองก็ได้นำเสนอบริการให้กับลูกค้าชาวญี่ปุ่นมากขึ้นเช่นกัน จากเดิมที่รองรับเฉพาะการเที่ยวภายในประเทศญี่ปุ่น ก็สามารถนำเสนอแพคเกจท่องเที่ยวมาประเทศไทย (โดย TakeMeTour) ให้กับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นของพวกเขาได้

"TABICA และ TakeMeTour มีอายุไล่เลี่ยกัน คือประมาณสองปี เมื่อเดือนพฤษภาคม 2016 พวกเรายังมียอด Users อยู่ที่หลักร้อย แต่พอมาเดือนพฤศจิกายน ก็โตขึ้นเป็น 3,000 คน แม้ว่าเราจะ target ที่คนญี่ปุ่นเที่ยวในประเทศก็ตาม เรายังมองเห็นโอกาสการเติบโตอีกมาก ถ้าหากเราพาพวกเขาออกท่องเที่ยวในต่างประเทศได้อีกด้วย ผมจึงคิดว่าการ Partnership ของพวกเรา เป็นเรื่องที่ดีมาก" คุณ Jun Ishikawa (จุน อิชิกาวะ) จาก TABICA ได้เล่าให้เราฟัง

xx

TABICA พาชาวญี่ปุ่นเที่ยวไทย ผ่าน TakeMeTour

xxx

ซ้าย - คุณจุน อิชิกาวะ จาก Gaiax (TABICA) และขวา - คุณนพพล COO ของ TakeMeTour

รู้จักกับ TABICA และ Gaiax มากขึ้นอีกนิด

อันที่จริงเรื่องราวยังไม่จบแต่เพียงเท่านี้ เพราะเมื่อได้พูดคุยกับคุณจุน ก็พบว่ามีเรื่องราวที่น่าสนใจอยู่

TABICA นั้น แท้จริงแล้วเป็น Startup โดยบริษัท Gaiax ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ที่ญี่ปุ่น โดยเป็นบริษัทที่มีโฟกัสเรื่องการทำ "Sharing economy services" หรือธุรกิจที่เน้นให้คนได้เชื่อมต่อและแชร์กัน

จุดเริ่มต้นของ Gaiax คือเป็นบริษัทที่พัฒนา Social Media มาก่อน นอกจาก TABICA แล้ว ทาง Gaiax เองก็ยังมีอีกเซอร์วิสซึ่งเป็นการแชร์รถเดินทางสำหรับการเดินทางข้ามเมือง (Inter-city car ride share) นั่นก็คือเป็นบริษัทที่เน้น Build แพลตฟอร์มเอง จากนั้นก็ได้เริ่มขยายมาเรื่องการลงทุนด้วย โดยลงทุนใน Startup ต่างประเทศมาก่อนบ้าง ซึ่งเป็น Startup สาย Sharing economy ที่ไต้หวัน แต่ว่ายังไม่เคยทำในลักษณะ Partnership ที่ไม่ใช่การลงทุนมาก่อน

ดังนั้น Partnership ในครั้งนี้ นอกจากจะเป็น Partnership กับต่างประเทศครั้งแรกของ TABICA แล้ว ยังถือเป็นครั้งแรกของบริษัทแม่อย่าง Gaiax ด้วย

"ด้านหลังนามบัตรของผม คือวิสัยทัศน์ของบริษัทเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ที่เราเริ่มต้นทำ Social Media มาจนถึงปัจจุบันแม้ว่าเราจะไม่ได้ทำ Social Media แล้ว แต่วิสัยทัศน์ของเรายังเหมือนเดิม 'Empowering people to connect' ผ่านทางแพลตฟอร์มด้าน Sharing economy ทั้งที่เราสร้างเอง ลงทุน หรือแม้แต่พาร์ทเนอร์ด้วยก็ตาม"

xxxx

ด้านหลังนามบัตรของคุณจุน

คุยกับคุณจุน ในฐานะทีมที่ดูแลเรื่องการขยายออกสู่ต่างประเทศ

คุณจุน นั้นประจำการอยู่ที่สิงคโปร์ โดยเขาเล่าว่า "เหตุผลที่ผมออกมาประจำการนอกญี่ปุ่น เพราะมีหน้าที่ที่จะค้นหาโอกาสธุรกิจภายนอกประเทศ บริษัทของเราได้เริ่มเคลื่อนไหวภายนอกญี่ปุ่นมากขึ้น เมื่อเดือนสิงหาคม 2016 นี่เอง และเป็นเดือนที่ผมออกมาอยู่ที่สิงคโปร์"

ตอนนี้เน้นพาร์ทเนอร์ในเอเชียหรือเปล่า?

เราได้สอบถามถึงมุมมองต่อการหาพาร์ทเนอร์ใหม่ๆ คุณจุนตอบว่า "เอเชียก็ดีครับ แต่ผมกำลังมองคือฝั่งยุโรป และอเมริกาด้วย คงจะเป็นการดี ถ้าคนเอเชียได้ลองไปเที่ยวในอีกซีกโลก ในแบบ Local บ้าง

นอกจากนี้ ถ้าพูดถึงประเทศที่คนนิยมไปเที่ยว ก็จะมีประเทศอย่างฝรั่งเศส อิตาลี อังกฤษ  อยู่ในนั้นด้วย ผมจึงคิดว่าถ้าเอเชียเราได้พาร์ทเนอร์กับยุโรปด้วย จะน่าสนใจมาก"

เห็นทีม TakeMeTour ทำนามบัตรของบริษัทให้คุณ ในฐานะ "Chief Connection Officer" ด้วย สรุปว่าคุณมารับบทบาทให้กับ TakeMeTour ด้วยหรอคะ?

"ช่วงนี้ผมย้ายมาอยู่ที่ไทยชั่วคราวเป็นเดือนๆ เพื่อทำความเข้าใจพาร์ทเนอร์ของเรา พวกเขาเองก็ได้ไปที่ญี่ปุ่นมาเหมือนกัน เราอยากจะทำความเข้าใจพาร์ทเนอร์ของเราให้มากๆ และเป็นพาร์ทเนอร์ที่ดีต่อกัน มีอะไรก็จะได้ช่วยเหลือและเติบโตไปด้วยกัน"

สุดท้ายนี้ผมคิดว่า Connection ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด แต่เป็น Passion หรือแรงขับเคลื่อนมากกว่าที่สำคัญกว่า ผมคิดว่า TakeMeTour และ TABICA/Gaiax เอง เรามีวิสัยทัศน์ มีแรงขับเคลื่อนแบบเดียวกัน

xxxxx

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...