คุยกับ TAXBugnoms ประหยัดภาษีแบบ SME เรื่องใกล้ตัวคนทำธุรกิจ | Techsauce

คุยกับ TAXBugnoms ประหยัดภาษีแบบ SME เรื่องใกล้ตัวคนทำธุรกิจ

คุยกับถนอม เกตุเอม ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีแห่งเพจ TAXBugnoms กับเรื่องของการจัดการภาษีสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME ให้ประหยัดและได้เปรียบด้านภาษี

โดยคำถามที่คุณถนอมมักเจอบ่อยในช่วงนี้ คือเรื่องการจัดการกระแสเงินสด เพราะในปีนี้ เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบอย่างมาก และยังมีภาษีเงินได้จากปีที่แล้วที่ต้องมาจ่ายในปีนี้ หลายๆคนมีรายได้น้อยลง แต่ภาษีเงินได้ที่ต้องจ่ายกลับเท่าเดิม ซึ่งทางรัฐบาลได้ออกแผนในการช่วยเหลือ ด้วยการขยายเวลาการจ่ายภาษีของเหล่านิติบุคคลและ SME จากเดิมที่จ่ายภาษีเงินได้ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถูกเลื่อนเป็นช่วงเดือนสิงหาคม โดยปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ใช่ปัญหาจากภาษีโดยตรง แต่มักเป็นปัญหาจากรายได้ในการทำธุรกิจ ที่ส่งผลกระทบต่อการจ่ายภาษีเสียมากกว่า

การยืดเวลาช่วยได้จริงหรือ?

การยืดเวลาไม่ได้ทำให้ภาษีลดน้อยลง ในทางกลับกัน ถ้าธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง มีกระแสเงินสดที่ไม่ดี โดยเฉพาะในช่วงปลายปี พวกเขาอาจจะไม่สามารถจ่ายภาษีตรงนี้ได้ แต่ด้วยช่วงเวลาที่ขยายขึ้น ทำให้ธุรกิจต่างๆ มีเวลามากขึ้นในการหารายได้ รัฐบาลจึงควรมีนโยบายอื่นๆ เพิ่มเติม อาทิ  การสนับสนุนธุรกิจที่คงอยู่ได้ เพื่อให้พวกเขาช่วยในการประคับประคองเศรษกิจต่อไป แลกกับผลประโยชน์ทางภาษี

จากผลกระทบจากสภาวะโควิด-19 ทำให้ความยอมรับในด้านการปรับใช้เทคโนโลยีมีมากขึ้น ทางกรมสรรพากรก็ยังมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ผู้ที่ยื่นภาษีผ่านทางอินเตอร์เน็ตจะได้รับผลประโยชน์ทางภาษีมากขึ้น เช่น การขยายเวลา หรือส่วนลดด้านภาษีบางประเภท ซึ่งการปรับเปลี่ยนนี้จะก่อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการที่มีการปรับตัว ทั้งในด้านของการจ่ายภาษี และการลดต้นทุนอีกด้วย 

รัฐบาลมีมาตราการอื่นๆ อีกหรือไม่ กับการช่วยเหลือผู้ประกอบการในด้านของภาษี?

โดยปกติแล้ว รัฐบาลมีมาตราการในการอุดหนุนด้านภาษี ด้วยการอนุญาตให้ลดหย่อนภาษี สำหรับค่าใช้จ่ายบางประเภทที่รัฐต้องการสนับสนุน เนื่องด้วยในการคำนวนภาษีนั้น ต้องมีการคำนวนจากกำไรทางภาษีแทนที่จะเป็นกำไรทางบัญชี รัฐบาลจึงมีสิทธิพิเศษให้กับผู้ประกอบการที่มีค่าใช้จ่ายในด้านที่รัฐบาลต้องการสนับสนุน ผ่านการลงทุน การจ้างงาน และการบริจาค

เมื่อผู้ประกอบการสามารถหักค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้มากขึ้น ก็จะเสียภาษีน้อยลงโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและ SME ที่ต้องการลดหย่อนภาษีด้วยการหักค่าใช้จ่ายนี้ ต้องมีกำไรและกระแสเงินสดที่มากพอ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการลดหย่อนภาษี

รัฐบาลได้มีการมุ่งเน้นในด้านการจ้างแรงงานในกลุ่มเด็กจบใหม่ (www.จ้างงานเด็กจบใหม่.com) โดยในช่วงเดือนตุลาคม 2563 ถึง เดือนตุลาคม 2564 รัฐบาลจะมีการช่วยเหลือบริษัท SME ที่เลือกจ้างเด็กจบใหม่ ด้วยการอุดหนุนด้านค่าจ้างครึ่งหนึ่ง การจ้างงานรูปแบบนี้ เหมาะสมกับบริษัทที่มีกระแสเงินสดที่ดี

ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์เป็นอีกหนึ่งมาตราการที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือกับกลุ่มธุรกิจ SME โดยกรมสรรพากรมีการประยุกต์ใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดต้นทุนด้านการใช้กระดาษและต้นทุนด้านบัญชีได้อย่างมหาศาล รวมไปถึงการลดขั้นตอนทางภาษีได้อีกด้วย 

การปรับใช้ภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ยังได้รับผลประโยชน์ทางภาษี เช่น ภาษี หัก ณ ที่จ่าย อิเล็กทรอนิกส์ (E-Withholding Tax) ที่โดยปกติแล้ว จะคิดเป็น 3 เปอร์เซนต์ ของเงินที่ต้องได้รับ จะหักน้อยลงเหลือ 2 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น

คำแนะนำต่อ SME

ธุรกิจจำนวนมากเลือกที่จะตกแต่งบัญชี ด้วยความต้องการที่จะเสียภาษีน้อยลง ซึ่งในทางกลับกัน การตกแต่งบัญชีจะทำให้พวกเขาไม่สามารถเปรียบเทียบบัญชี เพื่อประกอบการตัดสินใจด้านภาษีได้

เพราะการเสียภาษีไม่ได้มีสูตรสำเร็จ ความเข้าใจในธุรกิจจึงเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ประกอบการควรสำรวจงบการเงินในธุรกิจของตัวเอง และเปรียบเทียบกับความเป็นจริง เพื่อความเข้าใจในธุรกิจ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจด้านธุรกิจ และความได้เปรียบด้านภาษีอีกด้วย 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...