หากเรามองถึงการเติบโตของ Tech Startup ในไทย Ecosystem เป็นอีกปัจจัยที่เราไม่สามารถมองข้ามไปได้ ซึ่งภายในงานแถลงข่าว Techsauce Global Summit 2018 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดเสวนาพิเศษในหัวข้อ “เราจะยกระดับ Tech Ecosystem Thai อย่างแท้จริงได้อย่างไร” เพื่อให้เห็นภาพรวมและทิศทางก่อนจะไปเจอเนื้อหาเต็มๆ ภายในงาน Techsauce Global Summit 2018 โดย 4 ตัวแทนจากองค์กรระดับ Industry Leader ของไทย ประกอบด้วย
ก่อนที่จะรู้ว่าเราควรพัฒนาอย่างไร เราควรมาดูจุดปัจจุบันของ Tech Ecosystem ในประเทศไทยกันก่อนว่าอยู่ในจุดใดและมีศักยภาพอะไรซ่อนอยู่บ้าง
ประเทศไทยเองมีทุนทรัพย์และบุคลากรที่ดี นับว่ามี Potential จะเกิด Unicorn ได้
คุณภรณี ให้ความเห็นว่า การที่สิงคโปร์เกิด Unicorn มีองค์ประกอบจากการ Funding และคุณภาพบุคลากรระดับสูง ส่วนทางอินโดนีเซียเองก็มาจากการมีบุคลากรให้เลือกหลากหลาย ดังนั้นพิจารณาดูแล้ว ประเทศไทยเองมีทุนทรัพย์และบุคลากรที่ดีอยู่แล้ว จึงนับว่ามีศักยภาพจะเกิด Unicorn ได้
คุณซินหมิง กล่าวเสริมถึงสถานการณ์ปัจจุบัน Tech Startup ไทยความท้าทายด้านการ Scale Up ปัจจุบันประเทศไทยมี Startup ที่อยู่ในขั้น Pre Seed และ Seed เป็นจำนวนมาก สวนทางกับ Stage Series A ที่มีอยู่จำนวนน้อยกว่ามาก อีกทั้งจำนวน Startup ไทยที่บุกตลาดต่างจังหวัดและตลาดต่างประเทศยังมีไม่เยอะ
ด้านโอกาสและการระดมทุน คุณจิรพัฒน์ให้ความเห็นว่า เวลานี้ในเมืองไทยมี CVC (Corporate Venture Capital) เยอะขึ้นมากและครอบคลุมทุกวงการ จึงเป็นโอกาสเหมาะสำหรับ Startup ไทยที่จะได้การสนับสนุนทั้งเวที และ Mentorship เพื่อก้าวออกไปเป็น Unicorn ในระดับภูมิภาคและระดับโลก
ส่วนทางคุณภูญดาเห็นว่าบ้านเรากำลังพัฒนาองค์ประกอบของ Tech Ecosystem อย่างรวดเร็ว โดยมีแรงขับเคลื่อนจากองค์ประกอบที่แข็งแรง รวมถึงการสนับสนุนจากภาครัฐฯ ด้วย
คุณจิรพัฒน์ให้ความเห็นเรื่องการสนับสนุน Startup โดย Corporate เนื่องจาก Corporate เพิ่งหันมาสนใจ Startup ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งหาก Corporate จากหลายๆ อุตสาหกรรมหันมาสนใจสนับสนุนทั้งด้านทรัพยกรและ Mentoring มากพอ โอกาสที่ Startup ไทยจะเติบโตก็มีอีกมาก
อีกมุมมองหนึ่งคือเรื่องการขยายตลาด คุณภรณีแนะนำว่าแม้ Startup ไทยควรมองออกให้ไกลกว่าแค่ในกรุงเทพ ไปตอบโจทย์ยังต่างจังหวัดหรือไปจนถึงภูมิภาคจะเพิ่มโอกาสเติบโตของทั้งตัว Startup และ Ecosystem ได้
ด้าน Tech Talent กับ Tech Access ก็เป็นประเด็นที่น่าพิจารณา โดยคุณภูญดาเผยว่าหากเราพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้าง Tech Talent ที่เก่งไปจนถึงผู้ใช้งานที่มีพื้นฐานด้านการใช้งานเทคโนโลยีที่ดีพอ จะช่วยเติมเต็ม Tech Ecosystem ในบ้านเราให้สมบูรณ์ขึ้น
คุณซินหมิง กล่าวว่า Mindset ของผู้ประกอบการ Startup เองก็มีส่วนผลักดัน Ecosystem ให้สมบูรณ์ ผู้ประกอบการที่มี Mindset ที่เน้นการเติบโต เมื่อรวมกับ Ecosystem และ Community ที่ดีจะช่วยส่งให้พวกเขาประสบความสำเร็จได้
ปัจจุบัน มี CVC หรือ Corporate Venture Capital เกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งหมายถึงโอกาสที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น แต่ละท่านที่ถือเป็นตัวแทนของ CVC รายใหญ่ในไทยได้แสดงแนวทางการช่วยเหลือ Startup และขับเคลื่อน Ecosystem เอาไว้ดังนี้
เริ่มที่คุณจิรพัฒน์ จาก Siri Venture แชร์ว่า ธุรกิจดั้งเดิมของแสนสิริคือการสร้างที่อยู่อาศัย จึงมี Focus อยู่ที่ Property Tech, Living Tech และเสริมด้วย Health Tech ส่วนแนวทางของ Siri Venture คือสร้าง Cross Border Platform ให้ Startup ไทยข้ามไปยังระดับโลก โดยร่วมมือกับ Partner ที่ซิลิคอน วัลเลย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และ กรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล รวมถึงการสนับสนุน Tech Talent ต่างชาติเข้ามาในประเทศไทย เพื่อเร่งการเติบโตของ Tech Ecosystem ในไทย
ด้าน Line โดยคุณซินหมิง เล่าว่าปัจจุบันผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนเกิดปัญหา Application ล้นเกิน ทำให้ผู้ประกอบการ Startup ที่มีไอเดียบน Platform สมาร์ทโฟนดำเนินธุรกิจได้ยากขึ้น Line จึงเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเหล่านี้สามารถเข้ามาใช้ Platform ของ Line ได้ และยังเตรียมเปิดตัว Platform ใหม่เพื่อ Support การ Scale ของ Startup โดยเฉพาะภายในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ด้วย
คุณภรณีเผยว่าสำหรับ Digital Venture ในปีนียังคงเน้นความต่อเนื่องของการเป็น Accelerator โดยเน้นผลักดัน Startup ให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น รวมถึงขยายความร่วมมือกับ VC ระดับ Regional และ Global เพื่อส่ง Startup ไทยเติบโตสู่ระดับโลกมากขึ้น
ส่วนทางคุณภูญดาจาก True แสดงแนวทางสนับสนุน Start บนแนวคิด One roof all posibility ด้วยการสร้าง Co-Working space พื้นที่ใหญ่กว่า 70,000 ตารางเมตรบนถนนปุณณวิถีซึ่งมี Facility ให้ใช้งานครบครัน ส่งเสริมให้ Key Player ใน Tech Ecosystem เข้ามาอยู่ด้วยกันเป็นเครือข่ายที่ครบวงจร
สุดท้ายนี้ คุณจิรพัฒน์เสริมว่า CVC ทั้งหมดต่างมีเป้าหมายสนับสนุน Startup ในแนวทางและความถนัดของตัวเอง จึงน่าสนใจมากหาก CVC จะร่วมมือเพื่อพัฒนา Tech Ecosystem ในประเทศไทยให้แข็งแรงอย่างรวดเร็วขึ้น
แม้เอกชนจะเป็นผู้ลงมือทำเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจในประเทศให้ดำเนินไปข้างหน้า แต่ภาครัฐฯ เองก็มีส่งเสริมให้เอกชนลงมือทำเพื่อบรรลุเป้าหมายได้ และนี่คือสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าภาครัฐฯ สามารถทำเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีได้
คุณซินหมิง เสนอเรื่องการดึงดูด Tech Talent, Founder และ Invester ต่างชาติให้เข้ามาในประเทศไทยผ่านมาตรการส่งเสริมที่เป็นรูปธรรม เช่น การออก Smart Visa หรือมอบ Benefit ให้มากขึ้น อีกทั้งยังมองว่าภาครัฐฯ สามารถเป็นตัวกลางเพื่อจับคู่ทางธุรกิจให้กับ Startup ไทยกับต่างชาติ
ทางคุณจิรพัฒน์กล่าวว่ารัฐฯ ควรส่งเสริมในฐานะ Enabler หรือผู้อนุญาตในขั้นตอนบางอย่างเพื่อให้ Startup พัฒนาได้กว้างขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ Sandbox ในแวดวงต่างๆ ซึ่งเปิดโอกาสให้พัฒนานวัตกรรมใหม่จนใช้ได้จริง และยังอยากเห็นภาครัฐฯ หันมาทำงานร่วมกับ Corporate เพื่อส่งเสริม Startup ด้วย
คุณภริณีกล่าวถึงเรื่องทางภาษีที่เป็นอุปสรรคต่อการก่อตั้งและเติบโตของ Startup และ Key Player ใน Tech Ecosystem ในประเทศไทย โดยเชื่อว่านโยบายทางภาษีที่เหมาะสมจะช่วยดึงดูดการลงทุนให้ Ecosystem ในประเทศไทยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
คุณภูญดาเผยว่าปัจจุบัน True Digital Park ได้เริ่มต้นจับมือกับภาครัฐฯ เพื่อพัฒนาพื้นที่ Innovation District ช่วยทั้งเปิดพื้นที่ Sandbox และสนันสนุนข้อมูลแก่ภาครัฐฯ เพื่อปรับเปลี่ยนนโยบายที่เอื้อต่อการเติบโตของ Startup ไทยและต่างชาติอย่างเต็มที่ในอนาคต
เตรียมพร้อมขับเคลื่อน Tech Ecosystem ไปพร้อมกับ กับงาน Techsauce Global Summit 2018 ซึ่งรวบรวมบุคคลในทุกภาคส่วนของ Tech Ecosystem ทั้ง Startup นักลงทุน การรวมตัวของหลากหลายบริษัทและองค์กร โดยสามารถดูรายละเอียดงานและซื้อบัตรได้ที่ summit.techsauce.co แล้วพบกันที่ Techsauce Global Summit 2018 ในวันที่ 22-23 มิถุนายนนี้
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด