บทสรุป TechJam 2018 Grand Final พร้อมคุยกับ Winner ทักษะระดับโลก

บทสรุป TechJam 2018 Grand Final พร้อมคุยกับ Winner ถึงการแข่งสุดเข้มด้วยโจทย์ยากระดับโลก

จบไปอย่างเข้มข้น! TechJam 2018 Grand Final พบกับทีมผู้ชนะจาก Code Squad, Data Squad และ Design Squad ที่จะได้บินไป Silicon Valley

เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับสุดยอดการแข่งขันเพื่อเฟ้นหานักนวัตกรรมจากทั่วประเทศไทยกับ TechJam 2018 ที่จัดโดย KASIKORN Business-Technology Group (KBTG) ซึ่งนับเป็นปีที่สอง โดยปีนี้มาภายใต้แนวคิด “Tomorrow Squad” หรือ “ขุนพลแห่งอนาคต” ที่โกยผลตอบรับอย่างยอดเยี่ยม เห็นได้จากจำนวนผู้สมัครแข่งขันจากทั่วประเทศถึง 1,476 ทีม ก่อนจะทำการคัดเลือกเหลือทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้งหมด 62 ทีม จากการแข่งขั้นทั้ง 3 Squad ได้แก่ Code Squad เฟ้นหาผู้มีทักษะด้าน Programing, Data Squad ค้นหาผู้มีทักษะด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) และ Design Squad เสาะหาผู้มีความคิดสร้างสรรค์มาแก้ปัญหาและออกแบบ Customer Experience ใหม่ๆ

ติดตามสถิติที่น่าสนใจของการแข่งขัน TechJam 2018 ได้ที่นี่

ผู้ชนะเลิศทั้ง 3 Squad จะได้รับเงินรางวัลทีมละ 100,000 บาท พร้อมแพ็คเกจบินลัดฟ้าไปเปิดประสบการณ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ Silicon Valley แหล่งรวมนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับโลกที่ทาง KBTG จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายตลอดการเดินทาง

ติดตามเบื้องหลังเหตุผลการจัด TechJam จากผู้บริหาร KBTG ได้ที่นี่

สำหรับผู้ชนะการแข่งขันทั้ง 3 Squad มีดังนี้

Code Squad

  • ทีมชนะเลิศ - MEOW MEOW :3 - คุณ กิตติภณ พละการ คุณ กิตติภพ พละการ
  • รองชนะเลิศอันดับ 1 – NOOBPROGRAMMER - คุณ พงศพล พงศาวกุล คุณ ชวิญญ์ เสรีสิทธิพิทักษ์
  • รองชนะเลิศอันดับ 2 - WIZARD OF SKN - คุณ รชตะ คำพิทักษ์ คุณ ภัทระ ธีระพงษ์

Data Squad

  • ทีมชนะเลิศ – TEMP - คุณ ชวาล เพียรสัตยานนท์ คุณ พิสิษฐ์ วจนสาระ
  • รองชนะเลิศอันดับ 1 – KUTA - คุณ เอมฤดี จงทวีสถาพร คุณ วัชรินทร์ เหลืองวัฒนากิจ
  • รองชนะเลิศอันดับ 2 – ASQUARE2 - คุณ ปุริมพัฒน์ เจียรสุนันท์ คุณ อินทัช คุณากรธรรม

Design Squad

  • ทีมชนะเลิศ – TREXCODEJR - คุณ ชิตวีร์ จงเรียน คุณ จักรพงษ์ สารครศรี
  • รองชนะเลิศอันดับ 1 – HOUSEPARTNER - คุณ คคนานต์ เจริญมาก คุณ ชนัญชิดา แสนลาน
  • รองชนะเลิศอันดับ 2 - D-LIGHTS - คุณ อุมาพร ศรีหุ่น คุณ เจนจิรา ธาราพันธ์

พุดคุยกับ Winner และ Judge ของทั้ง 3 Squad

หลังจากที่รับมอบรางวัลไปแล้ว KBTG ก็เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้สัมภาษณ์พูดคุยกับผู้ชนะเลิศทั้ง 3 Squad ได้แก่ ทีม MEOW MEOW :3 จาก Code Squad, ทีม TEMP จาก Data Squad และทีม TREXCODEJR จาก Design Squad พร้อมด้วย Judge ทั้ง 3 Squad ประกอบด้วย คุณจิรัฎฐ์ ศรีสวัสดิ์ Senior  Visionary Architect, KASIKORN Labs แม่ทัพผู้ดูแล Code Squad, ดร.ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล Principal Visionary Architect, KASIKORN Labs แม่ทัพผู้ดูแล Data Squad และคุณอภิรัตน์ หวานชะเอม Principal Visionary Architect, KASIKORN Labs และ Managing Director, Beacon Interface แม่ทัพผู้ดูแล Design Squad ซึ่ง Techsauce ได้รวบรวมประเด็นที่น่าสนใจมาฝากกันดังนี้

จากซ้ายไปขวา คุณจิรัฎฐ์ ศรีสวัสดิ์, ดร.ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล และคุณอภิรัตน์ หวานชะเอม โฉมหน้าผู้ชนะเลิศของทั้ง 3 Sqaud ทีม จากซ้ายไปขวา คุณกิตติภณ พละการ คุณกิตติภพ พละการ ทีม MEOW MEOW :3 ผู้ชนะ Code Squad, คุณ พิสิษฐ์ วจนสาระ คุณ ชวาล เพียรสัตยานนท์ ทีม TEMP ผู้ชนะ Data Squad และคุณชิตวีร์ จงเรียน คุณจักรพงษ์ สารครศรี ทีม TREXCODEJR ผู้ชนะ Design Squad

เล่าถึงโจทย์การแข่งขันสุดท้าทายในรอบ Grand Final

สำหรับโจทย์การแข่งขันในปีนี้นับว่ามีการเพิ่มระดับความยากกว่าปีที่แล้ว อันเนื่องมาจากได้เห็นความสามารถในรอบคัดเลือกมาพอสมควรแล้ว Judge จึงต้องการให้ทุกคนเค้นความสามารถสูงสุดออกมาให้เห็นกัน เลยได้เลือกโจทย์ที่ท้าทายเหมือนการทำงานจริงและมีความยากเทียบเคียงกับการแข่งขันระดับโลกเลยทีเดียว

เริ่มที่การแข่งขัน Code Squad ผู้เข้าแข่งขันทีม MEOW MEOW :3 เล่าว่า ตอนเช้าได้เจอการแข่งขันตอบปัญหาด้านตรรกะและ algoritm ภายใต้เวลาจำกัด ส่วนตอนบ่ายต้องเขียนโปรแกรมแก้ไขปัญหาภายใน 3 ชั่วโมง ซึ่งถือว่ากดดันไม่น้อย เพราะผู้เข้าแข่งขันจะได้เห็นกระดานคะแนนกันแบบสดๆ เห็นว่าใครเสร็จก่อน ใครทำส่วนนี้ได้แล้ว นับเป็นการแข่งขันกันจริงจัง

ส่วน Data Squad ทีม TEMP เล่าวว่าพวกเขาจะได้รับโจทย์เดียวคือการทำนายพฤติกรรมผู้ใช้ ภายในเวลา 7 ชั่วโมงของการแข่งขัน โดยทุกทีมจะได้ชุดข้อมูลจำลอง (Simulated Data) ที่เป็นประวัติการทำธุรกรรม 22 สัปดาห์จาก User เกือบ 50,000 คน โดยต้องหาให้ได้ว่าในสัปดาห์ที่ 23 ผู้ใช้เหล่านี้จะมีพฤติกรรมอย่างไร

ทีม TREXCODEJR ผู้ชนะ Design Squad เล่าถึงโจทย์ของพวกเขาที่เข้มข้นไม่แพ้กัน โดยต้อง Design บริการใหม่ๆให้ลูกค้าใช้งานธนาคารกสิกรไทยมากขึ้นและมีความสุขขึ้น โดยต้องประยุกต์ใช้ Touch Point ที่มีอยู่เดิม โดยมีการเตรียม Persona และ User Interview ใช้เป็นข้อมูลประกอบการออกแบบ แน่นอนว่าต้องทำทั้งหมดนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 7 ชั่วโมงเช่นกัน

ความเห็นจากกรรมการถึงผู้ชนะ TechJam 2018

แม้ว่ารางวัลชนะเลิศจะการันตีความสามารถของผู้ชนะอยู่แล้ว แต่เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น จึงได้ขอให้กรรมการอธิบายและแสดงความคิดเห็นประกอบด้วย

เริ่มที่ทีม MEOW MEOW :3 ซึ่งคุณจิรัฎฐ์ Judge ของ Code Squad เล่าวว่า พวกเขาทำคะแนนพอใช้ได้ในช่วงเช้า แต่ช่วงบ่ายเราได้เตรียมโจทย์ Coding ที่มีความยากในการแข่งขันระดับโลกเตรียมไว้ให้ผู้เข้าแข่งขัน ซึ่งทั้งสองคนทำได้ 1.5 ข้อ จาก 3 ข้อ นับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับคนอื่น อีกทั้งยังทำในส่วนการ Optimization (การทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด) ได้ดีกว่า และแสดงถึงการเป็น Developer ที่มีความสามารถแบบ All Around จึงเลือกให้พวกเขาชนะในที่สุด

ในส่วนของ Data Squad คุณทัดพงศ์ กล่าวว่าทีม TEMP กล้าที่จะใช้กระบวนท่าไม่เหมือนคนอื่น ซึ่งยากที่จะทำได้ในเวลาจำกัดแต่ได้ Insight ที่น่าสนใจกว่าคนอื่น ด้วยการใช้กระบวนการ Deep Learning ค้นหาช่วงเวลาที่ User จะใช้งาน App และทำ Transaction ถึงแม้ว่าจะเป็นทีมที่มีข้อด้อยบ้าง แต่ก็สามารถใช้จุดแข็งมาชดเชยข้อด้อยเหล่านั้นได้ดีมาก

สำหรับทีม TREXCODEJR คุณอภิรัตน์ เล่าว่าพวกเขาชนะอย่างชัดเจน เนื่องจากคิดไอเดียได้นอกกรอบอย่างตอบโจทย์ และนำเสนอได้อย่างสมบูรณ์มากเมื่อเทียบกับเวลาที่มีให้ อีกทั้ง Solution ของพวกเขามี Mechanic ที่ชัดเจนและสามารถทำได้จริง และมีแนวโน้มสร้าง Value ให้กับลูกค้าและองค์กรได้สูง

TechJam 2018 เปิดโอกาสอะไรกับคุณบ้าง

เริ่มที่ทีม TREXCODEJR ผู้ชนะ Design Squad กันบ้าง พวกเขาเล่าว่าเป็นโปรแกรมเมอร์อยู่ที่จังหวัดขอนแก่น พบว่าการเดินทางลงมาแข่งขันที่นี่เหมือนได้เปิดโลก พวกเขาได้เห็นไอเดียและวิธีออกแบบใหม่ๆ เยอะกว่าที่ขอนแก่นมาก นอกจากนี้ การแข่งขันยังทำให้พวกเขาได้ใช้ความสามารถเต็มที่ ได้แข่งกับตัวเอง ทะเลาะกับตัวเอง

ทีม TEMP ซึ่งเป็นนิสิตปี 3 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกเล่าในฐานะ Data Squad ว่าดีใจ เพราะมีโอกาสได้แก้ปัญหากับ Data ที่ Real จึงมองว่าความสามารถของตัวเองจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มี Impact นอกจากนี้ ยังได้ลองบริหารเวลา เพราะการแข่งขันมีเวลาที่จำกัด

ส่วนทีม MEOW MEOW :3 ผู้ชนะ Code Squad สองฝาแฝดนิสิตปริญญาโทจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าว่าดีใจที่ KBTG มีงานแข่งแบบที่เน้นไปที่ Algorithm และ Coding ซึ่งต่างจาก Hackathon ตรงที่ไม่จำเป็นต้องมีผลลัพธ์ออกมาในเชิง Business จึงสามารถมุ่งมั่นกับการ Coding ได้เต็มที่ นอกจากนี้ ยังมีโอกาสได้ทบทวนและทดลองใช้ความรู้ใหม่ๆ ด้วย

TechJam 2018 มีความเปลี่ยนแปลงจากครั้งก่อนอย่างไรบ้าง

กรรมการทั้ง 3 ท่านพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ผู้เข้าแข่งขันปีนี้เก่งขึ้น เนื่องจาก TechJam สามารถ Reach Out หา Community ทั้งสามกลุ่มได้กว้างขึ้น อีกทั้งการที่ KBTG เปิดการแข่งขันในระดับภูมิภาค ทำให้เห็นความหลากหลายของคนไทยทั้งด้าน Skill และ Passion ทำให้รู้ว่าต้อง Incubation พวกเขาอย่างไรบ้าง

“ KBTG โตไปกับ Community ของ Developer และนักออกแบบในประเทศไทย จากการจัดการแข่งขัน TechJam ”

ผู้ชนะจะได้ไป Silicon Valley อยากเห็นอะไรจากที่นั่นบ้าง

เมื่อเป็นผู้ชนะก็ต้องมีรางวัล ซึ่งรางวัลที่ KBTG จัดให้นอกจากเงินรางวัลแล้ว ยังมี Trip การเดินทางไปเยือน Silicon Valley แหล่งพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับโลก เราจึงชวนผู้ชนะคุยกันว่าอยากชมอะไร ณ Silicon Valley บ้าง

สองฝาแฝดทีม MEOW MEOW :3 ผู้ชนะ Code Squad กล่าวว่า เดิมทีพวกเขาสนใจจะเดินสายวิชาการด้วยการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ดังนั้นนอกจากการ Industry Tour เพื่อปรับใช้กับงานวิชาการแล้ว ยังสนใจชมพื้นที่ฝั่ง Academic ที่มหาวิทยาลัย Stanford ด้วย

สองหนุ่มทีม TEMP จาก Data Squad ยังคงให้ความสนใจกับสาย Data Science จึงอยากชมการทำงานของบริษัท Data Science รวมถึง Google ที่เป็นผู้นำในด้านนี้

ส่วนผุ้ชนะ Design Squad ให้ความสนใจกับ Giant Company โดยเฉพาะ Facebook และ Google ซึ่งมองว่าพวกเขาน่าจะเก็บเกี่ยวความรู้ได้หลายสาขาตั้งแต่ Developer ไปจนถึง Marketing เพื่อเติมเต็มความฝันในการเป็น Startup Entreprenuer

ได้ยินดังนี้ Judge ทั้ง 3 จึงเสริมว่าในรอบนี้พวกเขาอยากพาผู้ชนะไปชมทั้ง Industry และ Academic โดยเฉพาะ Stanford D School ที่ถือเป็นแรงบันดาลใจของ Entreprenuer และ Startup ใน Silicon Valley ซึ่งพวกเขาจะได้ไปที่ไหนนั้น หากมีโอกาส Techsauce จะหยิบมานำเสนอกันแน่นอน

ประเมินความสำเร็จของ TechJam 2018

สำหรับ Judge ทั้ง 3 ท่านที่นับเป็นหัวเรือใหญ่ของงานนี้นั้นถือว่า TechJam 2018 ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม โดยแต่ละท่านได้ชี้แจงรายละเอียดในส่วนที่ดูแลอยู่ดังนี้

คุณจิรัฎฐ์ ผู้ดูแล Code Squad กล่าวว่าในรอบสุดท้าย เราได้ยกระดับความยากด้วยโจทย์การแข่งขันและการตรวจประเมินคะแนน ไปจนถึงการตัดสินด้วยมาตรฐานระดับโลก ผลปรากฎว่าทุกทีมทำได้เหนือความคาดหมาย จึงกล่าวได้ว่า Coder เมืองไทยนั้นมีความสามารถในระดับโลกแล้ว

ดร.ทัดพงศ์ ผู้ดูแล Data Squad กล่าวว่าปีนี้เราได้เจอผู้เข้าแข่งขันเยอะขึ้น เลยทดลองออกโจทย์ที่ยากขึ้น ก็พบว่าเกิดการแข่งขันที่เข้มข้นกว่าเดิมและได้เห็นถึงขีดจำกัดของคนไทยที่สูงเกินคาด

คุณอภิรัตน์ ผู้ดูแล Design Squad ได้ถือโอกาสกล่าวสรุปว่างาน TechJam 2018 นับว่าประสบความสำเร็จเกินคาด ตั้งแต่จำนวนผู้เข้าสมัครที่สูงขึ้นกว่า 250 เปอร์เซ็นต์ การจัดแข่งทั่วประเทศถือเป็นความท้าทายของ KBTG แต่จำเป็นเพราะจะช่วยเปิดโอกาสให้คนทั่วประเทศได้แสดงออกถึงความสามารถ และก็ ได้เห็นแล้วว่าคนเก่งด้าน Tech และการออกแบบนั้นไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในกรุงเทพเท่านั้น ที่สำคัญยังพบว่าหลายคนที่สมัครแข่งขันนั้นไม่ได้เรียนจบตรงสาย แต่ทำได้ดีไม่แพ้กัน

TechJam เป็นการสร้าง Awareness ว่าทักษะเหล่านี้สำคัญกับการพัฒนาสู่ประเทศไทย 4.0 แต่จำเป็นต้องหาการวัดผลที่ตรงจุดกว่าเดิม เพื่อบอกว่าพวกเขามีความสามารถจริงๆ

ทั้งสถิติและการได้พูดคุยกับผู้เกี่ยวข้อง ต้องกล่าวว่า TechJam 2018 เป็นงานแข่งขันของนักพัฒนาที่ประสบความสำเร็จจริงๆ ที่สำคัญคือเป็นสนามแข่งขันที่ช่วยบ่มเพาะ Tech Community ของไทยให้แข็งแรง ซึ่งพวกเขาถือเป็นกำลังสำคัญในการพาประเทศไทยก้าวสู่ยุคแห่งการสร้างมูลค่าโดยนวัตกรรม Techsauce ก็หวังว่าจะได้มีโอกาสยลโฉมและเผยแพร่ผลงานจากฝีมือของ “Tomorrow Squad” ในอนาคตเช่นกัน

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

จากเทคโนโลยี AI สู่ IA เพื่อมนุษย์ ในมุมมองของ “Pattie Maes”

เทคโนโลยีจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาชีวิตได้อย่างไร? มาดูแนวคิดในการออกแบบและทดสอบอุปกรณ์ที่ช่วยให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไปกับคุณ Pattie Maes นักวิจ...

Responsive image

สนามบินคันไซ 30 ปีไม่เคยทำสัมภาระผู้โดยสารสูญหาย ตั้งแต่เปิดให้บริการตั้งแต่ 1994 จนปัจจุบัน

30 ปีไม่มีพลาด สนามบินนานาชาติคันไซของญี่ปุ่นรักษาสถิติ ‘ไม่เคยทำสัมภาระผู้โดยสารสูญหาย’ เลยสักครั้ง นับตั้งแต่เปิดให้บริการในปี 1994 จวบจนปัจจุบัน...

Responsive image

DeFi เกิดมาเพื่อทำลายระบบธนาคารจริงหรือไม่

เก็บตกประเด็นน่าสนใจจากงานเสวนาในหัวข้อ he Rise of Decentralized Finance (DeFi): Disruption or Distraction? จาก Money 20/20 Asia...