สรุปผล TechJam 2019 เวทีประลองที่ Deep ที่สุดของ Tech Talent ประเทศไทยโดย KBTG | Techsauce

สรุปผล TechJam 2019 เวทีประลองที่ Deep ที่สุดของ Tech Talent ประเทศไทยโดย KBTG

ในที่สุดก็ถึงบทสรุปแล้วสำหรับการแข่งขันความสามารถของ Tech Talent ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเวลานี้กับ TechJam 2019  by KBTG หรือ Kasikorn Business-Technology Group  บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำในเครือธนาคารกสิกรไทย ซึ่งปีนี้ Techsauce ยังคงได้รับโอกาสจาก KBTG ให้เข้าร่วมเกาะติดการแข่งขัน พร้อมพูดคุยกับผู้เข้าแข่งขันและกรรมการผู้ตัดสิน จึงไม่พลาดที่จะนำเรื่องราวทั้งหมดมาเสนอให้ผู้อ่านได้ติดตามกัน

สำหรับการแข่งขันในปี 2019 นับว่าเป็นการยกเครื่องใหม่ให้เข้มข้นขึ้นกว่าเดิมด้วยแนวคิด “Deep Jam” คนพันธุ์Deep ซึ่งผู้เข้าแข่งขันกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าโจทย์ปีนี้ยากและท้าทายความสามารถของพวกเขาอย่างมากทีเดียว ทั้งนี้ ยังมีการแข่งขันทั้งหมด 3 Tracks ได้แก่ Deep Code การแข่งขันสร้างโปรแกรมที่ตอบโจทย์ความต้องการธุรกิจ Deep Data การแข่งขันค้นหาสิ่งที่ซ่อนอยู่ในข้อมูลเพื่อพาธุรกิจก้าวไปอีกขั้น และ Deep Design การแข่งขันออกแบบวิธีการใช้งานที่ยอดเยี่ยมเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

TechJam 2019 by KBTG การแข่งขันประลองทักษะเทคโนโลยีที่โตขึ้นทุกปี

คุณจรัสศรี พหลโยธิน, Managing Director, KASIKORN TECHNOLOGY GROUP SECRETARIAT  กล่าวว่าการแข่งขัน TechJam เติบโตขึ้นทุกปี โดยปีนี้มีผู้สมัครร่วมแข่งขันมากถึง 1,750 คน มากกว่าปี 2018 ที่ได้ผู้สมัคร 1,200 คน การที่มีผู้สมัครมากขึ้นทุกปีช่วยให้ KBTG ใกล้เป้าหมายมากขึ้นในการสร้างให้ประเทศไทยเป็น Technology Hub ของภูมิภาค ซึ่งเป้าหมายระยะสั้นคือการขยายขนาดองค์กรจาก 1,200 คนเป็น 2,000 คน ภายในปี 2020 ที่จะถึงนี้ และแน่นอนว่า TechJam เป็นหนึ่งในโครงการที่ช่วยให้เป้าหมายดังกล่าวเป็นจริงอย่างชัดเจนมากขึ้น

คุณจรัสศรี พหลโยธิน, Managing Director, KASIKORN TECHNOLOGY GROUP SECRETARIAT

ประกาศผลผู้ชนะการแข่งขัน TechJam 2019 by KBTG

การแข่งขัน Deep Code

  • Winner คือทีม  FM and POL รับเงินรางวัล 100,000 บาท และโอกาสเดินทางไปสำรวจ Tech Scene ที่ Silicon Valley
  • 1st Runner Up คือทีม  Wiggle Toes รับเงินรางวัล 50,000 บาท
  • 2nd Runner Up คือทีม12eminiscenc3  รับเงินรางวัล 30,000 บาท

การแข่งขัน Deep Data

  • Winner คือทีม AlannKuma รับเงินรางวัล 100,000 บาท และโอกาสเดินทางไปสำรวจ Tech Scene ที่ Silicon Valley
  • 1st Runner Up คือทีม Tertris Metric รับเงินรางวัล 50,000 บาท
  • 2nd Runner Up คือทีม BOOSTER  รับเงินรางวัล 30,000 บาท

การแข่งขัน Deep Design

  • Winner คือทีม GTBK รับเงินรางวัล 100,000 บาท และโอกาสเดินทางไปสำรวจ Tech Scene ที่ Silicon Valley
  • 1st Runner Up คือทีม Why & How  รับเงินรางวัล 50,000 บาท
  • 2nd Runner Up คือทีม Creatrix Studio  รับเงินรางวัล 30,000 บาท

พูดคุยกับหัวหน้าคณะกรรมการและ Winner ของ TechJam 2019 by KBTG กัน

จากผู้สมัครจำนวนกว่า 1,750 คน จนถึงการแข่งขันรอบ Final Round เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนถึง 1 ธันวาคมที่ผ่านมา ถือเป็นการแข่งขันสุด Deep ที่ผู้เข้าแข่งขันได้เค้นความสามารถเพื่อเอาชนะใจกรรมการระดับมืออาชีพในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของบ้านเรา ซึ่งหลังจากการแข่งขันจบลง เราจึงถือโอกาสพูดคุยกับบรรดา Winner และหัวหน้าคณะกรรมการของทั้ง 3 Track ให้ทุกท่านได้รับทราบกัน

3 ทีม Winner ทั้ง 3 Tracks ประกอบด้วย ทีม FM and POL, ทีม AlannKuma และทีม GTBK

หัวหน้าคณะกรรมการทั้ง 3 ท่าน ประกอบด้วย คุณอาภาพงศ์ จันทร์ทอง Machine Learning Engineer, KASIKORN Labs หัวหน้าคณะกรรมการ Deep Code, ดร.ภควัต ผลิตนนท์เกียรติ Data Scientist, KASIKORN Labs หัวหน้าคณะกรรมการ Deep Data และ คุณสรรพวิชญ์ ศิริผล Designer, Beacon Interface หัวหน้าคณะกรรมการ Deep Design

โจทย์การแข่งขันรอบ Final ของ TechJam 2019

เริ่มด้วยการให้ผู้เข้าแข่งขันเล่าถึงโจทย์ที่ได้รับในการแข่งขัน 2 วันที่ผ่านมา เริ่มจากทีม FM and POL Winner ของ Deep Code เล่าว่า การแข่งขันแบ่งเป็น 2 ช่วง เริ่มที่ช่วงเช้าเป็นการแก้โจทย์ด้าน Algorithm พร้อมกับมีช่วงคะแนนพิเศษเป็น Puzzle ส่วนช่วงบ่ายเป็นการแข่งขันสร้าง Web Service โดยจำลองสถานการณ์ใกล้เคียงการทำงานจริงด้วยการเพิ่ม Requirement ให้ปรับเปลี่ยน Feature ไปเรื่อยๆ จนสิ้นสุดเวลาการแข่งขัน

ส่วนโจทย์การแข่งขันของ Deep Data ทีม Winner อย่าง  AlannKuma เล่าว่า พวกเขาจะได้ชุดข้อมูลที่ระบุธุรกรรมการใช้จ่าย ผู้เข้าแข่งขันต้องแนะนำ “บัตรเครดิต” ที่เหมาะสมกับเจ้าของข้อมูลธุรกรรมนั้น

ด้าน Deep Design Winner อย่างทีม GTBK เล่าถึงโจทย์ที่ได้รับว่า พวกเขาต้องออกแบบ Solution สำหรับกลุ่มผู้ใช้ Generation Z โดยคณะกรรมการจะมีกลุ่มตัวอย่างจริงให้สัมภาษณ์เพื่อหา Insight แล้วนำไปออกแบบ Solution ใหม่เพื่อแก้ปัญหาของลูกค้าและยกระดับธุรกิจของธนาคาร

ผลงานของ Winner ที่ชนะใจกรรมการ

จากโจทย์ที่ได้รับมาเชื่อว่าผู้อ่านคงเห็นว่าไม่ใช่งานง่ายของผู้เข้าแข่งขันเลย ดังนั้น สิ่งที่บรรดา Winner ทำจนชนะใจกรรมการได้จึงถือว่าน่าสนใจทีเดียว

เริ่มที่ด้าน Deep Code คุณอาภาพงศ์ กล่าวว่า การแข่งขัน Deep Code มีการวัดคะแนนที่ชัดเจน ซึ่งต้องบอกว่าแต่ละทีมทำได้ดีมากจนคะแนนลำดับบนๆ ใกล้เคียงกัน ซึ่งทีม FM and POL นั้น ทำคะแนนในส่วนของ Algorithm ได้สูงที่สุด ส่วน Puzzle และการพัฒนา Web Service ก็ทำคะแนนได้ในลำดับต้นๆ จึงเฉลี่ยออกมาแล้วเป็นผู้ชนะ แต่ทั้งนี้ ส่วนที่สำคัญที่สุดของ Deep Code ในปีนี้คือการให้ผู้เข้าแข่งขันแสดงทักษะครบถ้วนทุกด้าน นอกเหนือจาก Coding และ Developing โดยเฉพาะทักษะด้านการ Management ให้ Product ได้ราบรื่นและสอดคล้องกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของภาคธุรกิจ

ด้าน Deep Data ทีม AlannKuma กล่าวว่า พวกเขาเจอ Insight เกี่ยวกับประเภทการซื้อสินค้าจากรายการธุรกรรมใน Data ทำให้เลือกนำเสนอบัตรเครดิตได้เหมาะสมที่สุด ซึ่งทาง ดร.ภควัต หัวหน้าคณะกรรมการของการแข่งขัน Deep Data ระบุว่า การตัดสินในฝั่ง Deep Data มีทั้งการประเมินความถูกต้องของข้อมูลที่นำเสนอด้วย Algorithm และการนำเสนอผลของข้อมูลแก่คณะกรรมการ เพื่อวัดทักษะของผู้เข้าแข่งขันทั้งทางเทคนิคและการประยุกต์ใช้ในธุรกิจจริง

ส่วน Deep Design ทีม GTBK ได้นำเสนอ Solution การ “Review” สินค้าด้วย Emoticon โดยคิดไอเดียนี้จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่พบว่า ผู้คนนิยมอ่าน Review สินค้า รวมถึงชอบเล่าเรื่องราวของสินค้าหรือบริการนั้นๆ แต่ไม่ชอบการเขียนรีวิวและพบว่าการให้คะแนนแบบดาวหรือตัวเลขนั้นไม่สะท้อนความต้องการสื่อสารที่แท้จริง คุณสรรพวิชญ์ หัวหน้าคณะกรรมการการแข่งขัน Deep Design เผยว่า ทีม GTBK เลือกทำ Solution ที่แก้ปัญหาการ “Review” สินค้า โดยศึกษาจาก Insight ของผู้สัมภาษณ์ได้ดี อีกทั้งยังเลือกพัฒนาให้ Plug in กับ Platform อื่นๆ จึงต่อยอดได้หลากหลาย

ประเมินความสำเร็จของ TechJam 2019 โดยทีมผู้จัดของ KBTG

หลังจาก KBTG ทุ่มเทเตรียมงาน TechJam มาตลอดทั้งปี 2019 เราจึงขอให้หัวหน้าคณะกรรมการซึ่งเป็นแกนสำคัญของการจัดการแข่งขันประเมินความสำเร็จและความพึงพอใจในการจัดงานปีนี้

เริ่มที่ทางฝั่ง Deep Design อย่างคุณสรรพวิชญ์ ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยอธิบายว่าเป็นปีที่ผู้เข้าแข่งขันมีความสามารถสูงทุกทีม หลายๆ ทีมนำเสนอ Insight จากกลุ่มตัวอย่าง Gen Z ได้น่าสนใจ ทำให้การตัดสินเป็นไปอย่างยากลำบาก คะแนนของกลุ่มผู้นำนับว่าห่างกันนิดเดียว แต่สุดท้ายก็เลือกให้ทีม GTBK เป็นผู้ชนะ เนื่องจากเค้น Insight ได้น่าสนใจที่สุดและทำการนำเสนอได้ดี ซึ่งตรงกับเป้าหมายที่วางเอาไว้ที่ต้องการให้ผู้เข้าแข่งขันได้ Focus กับการทำงานจริงจนได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจหลายคน

ด้าน Deep Data โดย ดร.ภควัต กล่าวว่า ปีนี้ฝั่ง Data เน้นให้ผู้เข้าแข่งขันโชว์ศักยภาพการค้นหา Insight ที่ต้องใช้งานได้จริงทางธุรกิจ ซึ่งพบว่ามีผู้เข้าแข่งขันที่เข้าใจโจทย์ รวมถึงรูปแบบการทำงานจริงมากขึ้น อีกทั้งผลงานที่เกิดขึ้นยังเป็นการสะท้อนภาพรวมของกลุ่มมืออาชีพด้าน Data ในประเทศไทยซึ่งเติบโตขึ้นอย่างมากทั้งจำนวนและความสามารถในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

ปิดท้ายด้วยฝั่ง Deep Code ซึ่งคุณอาภาพงศ์กล่าวว่า TechJam 2019 เป็นครั้งแรกที่ปรับรูปแบบการแข่งขันของ Coding ใหม่หมด เพื่อวัดทักษะของ Talent ที่รอบด้านมากขึ้น โดยเฉพาะทักษะการจัดการและจัดสรรทรัพยากรที่มีความจำเป็นต่อการทำงานจริง ซึ่งผู้เข้าแข่งขันส่วนใหญ่ทำได้อย่างน่าสนใจในเวลาที่จำกัด จึงถือว่าประสบความสำเร็จได้ไกลกว่าที่คิดมากทีเดียว

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ TechJam 2019 by KBTG ซึ่งทาง Techsauce ของแสดงความยินดีกับผู้เข้าแข่งขันทุกคนที่ได้รับรางวัลและโอกาสใหม่ๆ จากการแข่งขัน มา ณ ที่นี้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...

Responsive image

เปิดดีล NVIDIA ปี 2024 ในอาเซียนไปร่วมมือใครมาบ้าง ?

NVIDIA ขยายอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2024 ด้วยการลงทุน AI Centers และการพัฒนาระบบ AI ร่วมกับพันธมิตรในอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และไทย ขับเคลื่อนภูมิภาคสู่การเป็นศูนย์...