จบลงไปแล้วกับอีกหนึ่งเวทีของคนช่างคิด ที่มาปล่อยของกันในโครงการ ‘TechJam by KBTG’ ซึ่งหลังจากการอุ่นเครื่อง เตรียมความพร้อมกันไปแล้วในงาน ‘TechJam Mixer Event’ เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ตอนนี้เราก็ได้ผู้ชนะจากทั้ง 3 ทีม ไปเวิร์คช็อปกันที่ Silicon Valley กันแล้ว
อย่างที่เราทราบกันธนาคารกสิกรไทย เป็นอีกหนึ่งธนาคารผู้ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมและ FinTech จนจัดตั้งหน่วยงานด้านเทคโนโลยีของตนเองในชื่อ KASIKORN Business-Technology Group หรือ เรียกสั้นๆว่า KBTG ขึ้นมา การจัดการแข่งขัน TechJam ในครั้งนี้ จึงเป็นเสมือนหนึ่งเวทีที่รวมพลกลุ่มคนช่างคิดให้มาปล่อยความคิดกันที่นี่
TechJam by KBTG เป็นการจัดงานครั้งแรกในรูปแบบของ Hackathon คือการแข่งขันกันแบบสดๆ โดยกำหนดเวลา พูดง่ายๆก็เหมือนกับการแข่งมาราธอน โดยผู้แข่งจะได้รับโจทย์ก่อนเริ่มงาน และต้องทำโจทย์ให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งนอกจากการแก้โจทย์แล้ว เรื่องก็การมีสติและการบริหารเวลา หรือความอึดในการแข่งขันก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้นั้นพิชิตรางวัลได้
สำหรับการแข่งขันครั้งนี้อยู่ภายใต้ธีม ‘Human-centric AI’ คือการใช้ AI เน้นไปที่การใช้งานในชีวิตประจำวันเป็นหลัก โดยการแข่งมีทั้งแบบเดี่ยวและทีม หากเป็นทีมก็ทีมละไม่เกิน 2 คน ซึ่งจะเห็นได้ว่า เข้าแข่งขันส่วนใหญ่เป็นเด็กรุ่นใหม่ไฟแรง ที่น่าจับตา ที่น่าสนใจคือผู้ชนะบางคนไม่ได้ทำอาชีพในสายนี้ และบางคนเพิ่งไปเรียนเขียน code ไม่กี่สัปดาห์ก่อนการแข่งขัน ซึ่งการแข่งขันนี้มี 3 Track มาดูผลการแข่งขันแต่ละ Track กันเลย
ใน Track นี้ จะมีโจทย์มาให้ผู้เข้าแข่งขัน เพื่อเขียนโปรแกรมและแก้โจทย์ตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยให้ได้คำตอบที่ดีที่สุด และเนื่องจากเป็นการแข่งขันครั้งแรกของ KBTG จึงไม่มี Baseline เทียบ ซึ่งวิธีการคิดคะแนนตามสูตรที่อธิบาย ก็เป็นแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยผู้ชนะเลิศสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาโจทย์ทุกข้อได้ โดยมีคำตอบที่ถูกต้องที่สุด และ optimize ที่สุด จากการคำนวนโดยระบบ เทียบกับผู้แข่งขันทั้งหมด ซึ่งผู้แข่งขันทุกคนให้ความร่วมมือในการทำโจทย์ด้วยดี ไม่ได้พยายาม hack หรือทำลายสูตรการแข่งขัน ทำให้ผลลัพธ์ของการแข่งขันได้คะแนน problem score ที่ตรงจริง และใกล้เคียงความยากของข้อจริงๆที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่ทีมงานต้องการ และผู้ชนะก็คือทีม AI shiteru ได้แก่ พีรจิตร ภาสุภัทร และ ธนภัทร์ คุ้มสภา
ผู้เข้าแข่งขันทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า โจทย์ที่ให้มานั้นยากมาก โดยทั้งสองได้บอกว่า สิ่งที่ท้าทายที่สุดคือไม่มีคำตอบที่ถูกที่สุดจริงๆ จึงต้องพยายามทำให้ได้คะแนนเยอะที่สุด ซึ่งการแข่งขันครั้งก็ ก็ไม่คาดคิดและเตรียมตัวจะชนะมาก่อน แต่สิ่งหนึ่งเลยที่สำคัญคือการกล้าลองเสี่ยงที่จะทำ จึงทำให้สามารถทำตามโจทย์ได้ออกมาเป็นผลคะแนนที่ดีที่สุด
การแข่งขันใน Data Track ทั้งในรอบคัดเลือก และรอบสุดท้าย จะเป็นการให้ผู้เข้าแข่งขันวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนหนึ่ง แล้วนำผลการวิเคราะห์ที่ได้ เพื่อไปทำนายข้อมูลอีกส่วนหนึ่งที่ถูกปิดซ่อนไว้ โดยจะให้ผู้เข้าแข่งขัน พยายามวิเคราะห์เพื่อให้ได้ผลการทำนายที่แม่นยำที่สุด โดยผู้ชนะได้ทำการศึกษาข้อมูลที่มีอย่างละเอียด และเลือกใช้วิธีการสร้างโมเดลที่เหมาะสมกับข้อมูลที่ได้ ภายในเวลาที่จำกัด ทำให้สามารถทำนายข้อมูลได้แม่นยำสูงที่สุดในบรรดาทุกทีม นอกจากนี้ทีมผู้เข้าแข่งขันยังนำเสนอและอธิบายผลงานของตัวเองได้กระจ่างชัด เข้าใจง่าย รวมไปถึงสามารถเสนอแนวทางเพิ่มเติมเพื่อที่จะนำข้อมูลที่มีอยู่ ไปใช้สร้างมูลค่าทางธุรกิจด้านอื่นๆ ได้ โดย ผู้ชนะเลิศคือทีม M&Mได้แก่ ธนิพล วัฒนาอาษากิจ และ ณพเมธ เนยเมืองปัก
สิ่งหนึ่งที่เซอร์ไพร์สคือหนึ่งในผู้เข้าแข่งขันของทีมนี้เพิ่งเริ่มหัดเขียน Code ไม่กี่เดือนก่อนการแข่งขัน ซึ่งผู้เข้าแข่งขันทั้งสองบอกว่า สิ่งสำคัญคือการตีโจทย์ให้แตก แบ่งสัดส่วนและให้น้ำหนักความสำคัญ โดยทีมให้ความสำคัญกับการจัดการข้อมูล 70% แล้วอีก 30% จึงเน้นไปที่การนำเสนอ ซึ่งถ้าหากจัดการกับข้อมูลได้ดีก็ทำให้นำเสนอได้ดี
สำหรับ Trank นี้ เป็นการแข่งขัน “การออกแบบนวัตกรรมทางการเงินแห่งอนาคตสำหรับกลุ่ม Digital Natives” แบบมาราธอนเป็นเวลา 20 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่เวลา 10 โมงเช้าของวันที่ 26 ส.ค. 60 ไปสิ้นสุดที่การ pitch เพื่อนำเสนอผลงานบนเวที K-Stadium ในเวลาหกนาฬิกาตรงของวันที่ 27 ส.ค. 60 และตัดสินรอบสุดท้ายโดยทำการ pitching ทีมละ 10 นาที และ interview กับคณะกรรมการในส่วนของ Design Track สิ่งที่ TechJam ค้นหา คือนักออกแบบที่มีความสามารถรอบด้านอย่างลงตัว (Well Rounded) ไม่เพียงแค่ออกแบบได้ดี แต่สามารถร่วมงานกับผู้อื่นได้ภายใต้ความกดดันอีกด้วย โดยผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในปีนี้ เป็นทีมที่สามารถแสดงให้เห็นถึงศักยภาพดังกล่าวได้อย่างชัดเจนและครบถ้วน ซึ่งผู้ชนะเลิศคือทีม Consumotive ได้แก่ พัทยา อุประ และ สรรพวิชญ์ ศิริผล
สำหรับทีม Consumotive ก็เป็นอีกทีมที่ไม่ได้เรียนด้านออกแบบมาโดยแต่ตรง แต่เป็นมืออาชีพในรูปแบบที่เรียกว่า Inter Disciplinary คือผู้ที่มีการศึกษาและความเชี่ยวชาญในรูปแบบที่ผสมผสานความรู้ความสามารถและประสบการณ์จากหลายแขนงไว้ในคนเดียวกัน โดยทั้งสองบอกว่าเขานั้นได้ทำในเรื่องเล็กๆที่สามารถเป็นไปได้จริงๆ บางคนอาจคิดเรื่องที่ใหญ่แต่ทำจริงไม่ได้
ด้านกรรมการได้ให้ความเห็นว่า การที่ผู้ชนะเลิศไม่ได้มาจากสายการเรียนที่เรียนมานั้น สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการทางด้านบุคลากรที่กำลังเปลี่ยนไป เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการทำงานในยุคแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงนวัตกรรม และยังชี้ให้เห็นถึงของโหว่ในระบบศึกษาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน อันถูกออกแบบมาในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เน้นการสร้างบุคลากรที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Single-discipline Expert) เป็นหลัก
ในยุคของการปฏิวัติทางนวัตกรรม ที่ทุกภาคธุรกิจ กำลังถูกเปลี่ยนแปลงและ Disrupted โดยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและรูปแบบทางธุรกิจใหม่ ๆ นั้น ภาคการศึกษาจำเป็นที่จะต้องถูกเปลี่ยนแปลงและ Disrupted เช่นกัน เช่น การผลิตบุคลากรในรูปแบบใหม่ ที่มีความเหมาะสมกับรูปแบบและสภาพแวดล้อมในการทำงานในยุคปัจจุบัน บุคลากรที่เป็น Inter Discipline ที่มีความสามารถคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์แบบ Divergence และบุคลากรที่มีจิตวิญญาณ รวมทั้งแนวคิดแบบ Entrepreneur เป็นต้น
ทั้งนี้ ทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันในแต่ละ Track จะได้ไปศึกษาดูงาน และร่วมทำเวิร์คช้อปที่ซิลิคอน วัลเลย์ ซึ่งเป็นคอมมูนิตี้ด้านไอทีที่นักพัฒนาต้องไปสัมผัสให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิตกับ Google พร้อมตั๋วเครื่องบินและค่าใช้จ่ายตลอดการเดินทางที่สหรัฐอเมริกา และรางวัลอื่น ๆ สำหรับรองชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 รวมมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท
จากการจัดกิจกรรม TechJam by KBTG 2017 ซึ่งได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรชั้นนำ เช่น LINE และ Google เพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีใหม่อย่างแชทบอท ปัญญาประดิษฐ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก และโมบายแอพดีไซน์ ให้แก่ผู้เข้าร่วมแข่งขันประกอบไปด้วยนิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ถือเป็นเวทีให้คนเหล่านี้ได้แสดงไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ และเป็นการจุดประกายสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กลุ่มนักพัฒนา ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ KBTG ที่เน้นสร้างนวัตกรรมทางการเงินให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน ให้ใช้ชีวิตได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ดังนั้น นักพัฒนาซอฟต์แวร์จึงเป็นหัวใจสำคัญที่จะผลักดันให้เกิดบริการใหม่ ๆ ได้จริง
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด