สรุปไฮไลท์สำคัญในงาน Techsauce Culture Summit 2019 | Techsauce

สรุปไฮไลท์สำคัญในงาน Techsauce Culture Summit 2019

Techsauce Culture Summit 2019 อีกหนึ่งงานที่ spin off มาจากงานใหญ่อย่าง Techsauce Global Summit ที่ทาง Techsauce จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยในครั้งนี้จัดขึ้นสำหรับผู้นำธุรกิจ ผู้บริหาร และเหล่า HR  โดยเฉพาะ โดยมี speaker จากบริษัทชั้นนำ พร้อมผู้เข้าร่วมงานตบเท้าเข้ารับฟังเนื้อหาที่อัดแน่น ทั้งในด้านวัฒนธรรมองค์กร การบริหารคน และการเตรียมตัวสู่โลกของการทำงานในอนาคต

คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด กล่าวเปิดงานว่า จากการที่เราได้ทำการจัดงาน Techsauce Global Summit อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาห้าปี พบว่าความท้าทายหลักขององค์กรเมื่อทำการ transform นั้นไม่ใช่เรื่องเทคโนโลยี แต่คือเรื่องของคน ทั้งในแง่ของทักษะในการทำงาน ทัศนคติ และวัฒนธรรมในองค์กร จึงเป็นที่มาของงานในครั้งนี้ ทาง Techsauce ได้ทำการสำรวจองค์กรไทยกว่า 200 บริษัท พบว่า 50 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรที่ร่วมทำแบบสอบถามตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างนวัตกรรม อย่างไรก็ตามอุปสรรคหลักในการลงมือทำคือด้านงบประมาณ ด้านนโยบาย แม้ว่าจะมีแนวทางให้พนักงานสร้างโปรเจกต์ใหม่ อย่างไรก็ตามการทำงานก็ไม่สามารดำเนินต่อไปได้เนื่องจากอุปสรรคในด้านทำงานที่มีหลายขั้นตอนตามลำดับขั้นหรือเรื่อง Hierarchy

เพราะเราเชื่อว่าเรื่องนวัตกรรมหรือ Innovation ไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ปัจจัยที่สำคัญที่จะขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้คือ 'คน' และการสร้าง 'วัฒนธรรมในองค์กร'

ทุกวันนี้เราได้ยินคำว่า ความคิดสร้างสรรค์ การมีนวัตกรรมดิจิทัลในองค์กรไปแทบจะทุกแห่ง แต่สิ่งที่คนมักเข้าใจผิดในเรื่องการสร้างนวัตกรรม คือการกระโจนเข้าสู่การสร้างนวัตกรรมโดยละเลยความคิดสร้างสรรค์ที่มาพร้อมกัน “การแข่งขันเพื่อเป็นที่หนึ่งในด้านนวัตกรรมขององค์กรกำลังทำลายความคิดสร้างสรรค์” Andrew Grant ซีอีโอบริษัท Innovative Solutions กล่าว 

การที่จะเกิดนวัตกรรมได้นั้น ก่อนอื่นต้องเริ่มจาก 'คน' จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการทำให้นวัตกรรมนั้นเกิดขึ้นภายในองค์กร

หลายบริษัทเผชิญกับความท้าทายในการดึงดูดและรักษาคนที่มีความสามารถ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่กำหนดว่าคนจะอยู่หรือออกจากบริษัทนั้นเป็นเรื่องวัฒนธรรมในองค์กร โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้มองหางานที่ให้ผลตอบแทนสูงเสมอไป แต่เรื่องของสภาพแวดล้อมการทำงานที่ช่วยให้พวกเขาเติบโตและมีความสมดุลในชีวิตการทำงานนั้นก็สำคัญ Michelle Duval ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง บริษัท Fingerprint for Success (F4S) ได้แบ่งปันกรณีศึกษาว่าองค์กรต่างๆ สามารถสร้างวัฒนธรรมที่เหมาะสมเพื่อรักษาเหล่า Talent และวัฒนธรรมที่เหมาะสม

หนึ่งสิ่งที่บริษัทยักษ์ใหญ่มีร่วมกันคือ พวกเขาให้ความสำคัญกับเรื่องวัฒนธรรมองค์กรตั้งแต่วันแรกที่รับคนเข้าทำงาน

คุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลของ AIS แบ่งปันวิธีการทำงานของ AIS เพื่อเร่งสปีดสร้างวัฒนธรรมใหม่ เตรียมผู้บริหารและพนักงานในทุกระดับ เพื่อรับมือกับโลกที่เปลี่ยนแปลง โดยเริ่มทำการ disrupt แผนกทรัพยากรบุคคล

บทบาทของ HR จำเป็นต้องเปลี่ยน เนื่องจากกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของบริษัทก็คือ 'คน'


ความท้าทายอันดับหนึ่งที่ทุกบริษัทกำลังเผชิญอยู่ในยุคดิจิทัลก็คือวิธีดึงดูดและรักษาเหล่า Talent การเปลี่ยนแปลงของ “ตลาดงาน” (Workforce) ทำให้บริษัทต่างๆ ต้องมองหาพนักงานดาวรุ่งที่มีความต้องการนอกเหนือความก้าวหน้าและมั่นคงในหน้าที่การงาน ยังต้องการงานที่สร้างความหมายให้ชีวิต คุณ Pim Suvitsakdanon, Head of Sales - Google Customer Solutions Google (ประเทศไทย) ได้แบ่งปันวิธีที่ Google มองหาคนทำงาน พร้อมกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กร

เมล็ดพันธ์ความสำเร็จของ Google คือ ‘คน’ ในการที่คนจะเติบโตเป็นต้นไม้ที่ยิ่งใหญ่จนเป็นผืนป่าได้นั้นจะต้องมีเมล็ดพันธ์ที่ใช่ คือคนที่มีความกระหายในการเรียนรู้ มีความเป็นผู้นำ มาจากแบ็กกราวนด์ที่หลากหลาย อีกทั้งการวัฒนธรรมเพื่อบ่มเพาะเมล็ดพันธ์ อย่างสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และการให้รางวัลกับความล้มเหลว

มิลเลนเนียล มักจะถูกมองว่าเป็นเจนเนอเรชั่น “Job-Hopper” ที่มักจะย้ายที่ทำงานกันบ่อยๆ และไม่ผูกพันกับองค์กร เหตุหนึ่งในนั้นก็เพราะพวกเขาต้องการงานที่ช่วยเติมเต็มชีวิต และความมั่นใจว่าอาชีพจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนายจ้างมักจะไม่สามารถสร้างความมั่นใจในจุดนั้นได้ ดังนั้นความท้าทายจึงอยู่ที่องค์กรว่าจะสามารถดึงดูดและรักษาคนเก่ง Catching up with the Job-Hopping Generation อีกหนึ่ง panel discussion โดย คุณรวิศ หาญอุตสาหะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด, คุณภคมน ตุลยาพิศิษฐ์ชัย หัวหน้าฝ่าย Digital Transformation บริษัท เงินติดล้อ จำกัด และ Andrew Bryant ผู้ก่อตั้งบริษัท Self Leadership International ได้มาแชร์กุญแจสำคัญในการดึงดูด 'มิลเลนเนียล' ไม่ให้ย้ายงาน รวมถึงวิธีการสร้างวัฒนธรรมเพื่อสนับสนุน Talent ที่ใช่และเหมาะสม โดยการไม่พยายามที่จะดึงคนที่ไม่ต้องการอยู่กับองค์กร นั่นเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ ให้คำปรึกษา ทำการเทรนนิ่ง พัฒนา และให้ความสำคัฐกับการเรียนรู้ นั่นคือสิ่งที่ดึงดูดพนักงานให้อยู่กับองค์กร”


การดึงดูดและรักษาเหล่าผู้มีความสามารถนั้นเป็นความท้าทายสำหรับทุกธุรกิจ Attracting and Keeping Talent with Intentional Culture อีกหนึ่ง Panel discussion โดย Michelle Duval ซีอีโอและผู้ก่อตั้งบริษัท Fingerprint for Success (F4S), Diana Quach อดีตผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการบริษัท Shopkick, คุณธนา เธียรอัจฉริยะ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ร่วมสนทนาแชร์กุญแจสำคัญในการดึงดูดและรักษา Talent ที่เหมาะสมกับวัฒนธรรม อีกทั้งการสร้างความมั่นใจว่าทุกคนในบริษัทจะถูกปฏิบัติด้วยความเคารพ

เมื่อผู้นำลดอัตตาของตนเองลง ทำการจ้างคนที่ฉลาดกว่าพวกเขา เมื่อนั้นพวกเขาจะสามารถเรียนรู้จากผู้อื่นได้ นี่จะทำให้เป็นผู้นำที่ดีขึ้น

Andrew Bryant (CSP) ผู้ก่อตั้ง Self Leadership International แบ่งปันวิธีการที่จะทำให้พนักงานมีภาวะผู้นำในตนเอง (Self-leadership) อันเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้คน เทคโนโลยี และวัฒนธรรมภายในองค์กรดำเนินไปอย่างราบรื่น

Cultural transformation ก็เหมือนกับการวิ่งมาราธอน เราต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไม่มีหยุด

ในวันที่ 26 พฤศจิกายน ยังมีเวิร์คช็อปซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของงานครั้งนี้ โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเวิร์คช็อปและวิทยากรชั้นนำในงาน Techsauce Culture Summit 2019 ได้ที่เว็บไซต์ https://culturesummit.techsauce.co/

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...