เมื่อ Metaverse เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นทุกวัน ธุรกิจ และองค์กรจะปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร จะสามารถคว้าโอกาสจากเทคโนโลยีนี้เพื่อสร้างมูลค่ารูปแบบใหม่ในโลกเสมือนจริงให้กับผู้บริโภคอย่างไรได้บ้าง
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา Techsauce และ Acccenture บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจและเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ซึ่งให้บริการ Digital Solution อย่างครบครันและครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นระบบ Cloud Blockchain และ ระบบการรักษาความปลอดภัยทาง IT ได้ร่วมกันจัด Virtual Event “เปิดเทรนด์โลกกับรายงาน Accenture Technology Vision 2022 เมื่อ Metaverse ส่งผลต่อการทำงาน ทำธุรกิจและการสื่อสารในโลกยุคใหม่” เปิดรายงาน Accenture Technology Vision 2022 กับ 4 เทรนด์น่าสนใจ ในโลก Metaverse ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานขององค์กรและรูปแบบการทำธุรกิจ และผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารชั้นนำระดับโลกด้านธุรกิจและเทคโนโลยีเกี่ยวกับความเห็นของพวกเขาต่อ Metaverse
ใน Virtual Event ครั้งนี้ คุณปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย ได้มาร่วมแบ่งปันความรู้และข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับรายงาน Accenture Technology Vision 2022 ที่ทาง Accenture มีการสำรวจผู้บริโภคจากทั่วโลกกว่า 24,000 คน และผู้บริหารระดับ C-Level จาก 23 อุตสาหกรรม ใน 35 ประเทศรวมทั้งในประเทศไทย เพื่อเจาะลึกความเห็นและแผนกลยุทธ์ขององค์กรต่าง ๆ และความพร้อมขององค์กรกับเทคโนโลยี Metaverse
อย่างที่เราได้เห็น วันนี้บริษัททั่วโลกจากหลายอุตสาหกรรมต่างเริ่มเข้ามามีบทบาทใน Metaverse มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Nike แบรนด์ผู้ผลิตอุปกรณ์กีฬาชื่อดัง, Chevron บริษัทพลังงานระดับโลก, JP Morgan ผู้นำด้าน Financial Service, CVS ยักษ์ใหญ่ในวงการยา
จะเห็นว่าทุกองค์กรนั้นต่างมีรูปแบบการทำธุรกิจ รูปแบบสินค้าบริการ และกลุ่มผู้บริโภคที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่มีจุดร่วมสำคัญคือ ต่างพากันเข้ามาคว้าโอกาสในโลก Metaveres ทั้งสิ้น
คุณปฐมากล่าวว่าจนถึงวันนี้ธุรกิจคงปฏิเสธไม่ได้ว่า Metaverse นั้นได้เข้ามาเปลี่ยนภาพของการทำธุรกิจให้แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งหน้าที่สำคัญของผู้บริหารองค์กรก็คือ พยายามเชื่อม Business Model และ Business Operation จากโลกสมัยเก่าและสมัยใหม่ให้เข้ามาหากัน และพยายามใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้ได้ รวมถึงต้องตอบให้ได้ว่าหากเราจะสร้างประสบการณ์ในโลกใหม่นี้ให้กับผู้บริโภค เราต้องมองอะไรบ้าง
นอกจากนั้นคุณปฐมายังได้กล่าวถึงการเปลี่ยนไปของมุมมองธุรกิจจากการเข้ามาของ Metaverse ซึ่งธุรกิจจะต้องเร่งคิดและหาทางออก ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภค รูปแบบการทำงาน การนำเสนอสินค้าและบริการรูปแบบใหม่ การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและการขนส่ง รวมไปถึงรูปแบบการบริหารธุรกิจด้วย
หลังจากได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและอิทธิพลของ Metaverse ต่อภาคธุรกิจแล้ว คุณปฐมาได้ยกตัวอย่าง 4 เทรนด์สำคัญที่กำลังเกิดขึ้นในโลก Metaverse
การเข้ามาของ Metaverse ทำให้ผู้ใช้งานสามารถก้าวข้ามการท่องเว็บธรรมดาไปสู่การมีประสบการณ์ในโลกเสมือนจริง และเราจะเห็นถึงความพยายามขององค์กรในการผลักดันให้ลูกค้าของตนเข้าไปสู่โลกเสมือนจริงมากขึ้น
จากผลสำรวจในรายงานของ Accenture นั้นพบว่าผู้บริหารในไทยเพียง 26 % เท่านั้นที่มองว่า Metaverse เป็นเทคโนโลยีที่จะสร้างผลกระทบและมีอิทธิพลอย่างมากในระยะยาวต่อองค์กร ซึ่งต่างจากผลสำรวจของระดับโลกที่สูงถึง 42 % ชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารในไทยยังมองเทคโนโลยีนี้เป็นเรื่องไกลตัว
คุณปฐมาได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาจาก 3 องค์กรที่สามารถสร้างประสบการณ์ทั้งในโลกจริงและโลกเสมือนให้กับผู้บริโภคได้อย่างไร้รอยต่อ
Nike
บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์กีฬาชื่อดังของโลก ได้ลงทุนสร้างโลกเสมือนจริงที่มีชื่อว่า NIKELAND ด้วยความร่วมมือระหว่าง Nike และ Roblox เนรมิตโลกเสมือนจริงที่ผู้บริโภคสามารถเข้าไปชมและชอปได้จริง ๆ
BlockApps
ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มบล็อกเชนได้เปิดตัว TraceHarvest ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนที่สามารถติดตามวงจรการผลิตของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรตั้งแต่เริ่มเพาะปลูกได้ ทำให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ใหม่และมั่นใจในคุณภาพมากขึ้น รวมถึงมีบริการชำระเงินโดยใช้ Bitcoin ด้วย
BMW
บริษัทยานยนต์จากเยอรมนีได้ร่วมมือกับ Nvidia สร้าง Omniverse Platform ขึ้นมา ให้ผู้บริโภคสามารถเข้าไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตในโลกเสมือนจริงได้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้สัมผัสกับทุกขั้นตอนการผลิต
Programmable World หรือโลกที่ตั้งโปรแกรมได้ เป็นการนำประสบการณ์ดิจิทัลมาสู่โลกทางกายภาพ ซึ่งสามารถปรับแต่ง ควบคุม และตั้งโปรแกรมได้เหมือนกับประสบการณ์เสมือนจริงที่เราคุ้นเคย
จากการสำรวจผู้บริหารในบ้านเรา พบว่า
โดยคุณปฐมาได้ยกตัวอย่าง Amazon Sidewalk ซึ่งเป็นเทคโนโลยีจาก Amazon ที่สามารถสร้างเครือข่ายสัญญาณสำหรับให้อุปกรณ์ IoT เชื่อมต่อ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสัญญาณอินเทอร์เน็ตหรือ Wi-Fi ตลอดเวลา
นอกจากนั้นยังมีแว่นตา AR จาก INMO ที่สามารถแสดงผลข้อมูลต่าง ๆ ได้ผ่านเลนส์แว่นตา ไม่ว่าจะเป็นระบบนำทาง การรับสายโทรศัพท์ โทรผ่านวิดิโอ การแจ้งเตือนข้อความต่าง ๆ และยังมีฟีเจอร์ AI อัจฉริยะที่สามารถสแกนใบหน้า วัตถุ และแปลภาษาได้ด้วย
คุณปฐมากล่าวว่าข้อมูลบนโลกดิจิทัลตลอดสองปีที่ผ่านมา มีทั้งข้อมูลที่เป็นแบบ Authentic (ความจริง) และ Synthetic (สิ่งเทียม) แต่องค์กรจำเป็นต้องเปลี่ยนข้อมูลที่ Unreal นี้ให้มีคุณภาพและนำไปใช้ได้ เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำไปในปัจจุบันนั้นทำให้เกิดเหรียญสองด้าน ซึ่งในด้านหนึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา
“องค์กรจะต้องหาทางนำข้อมูลที่ Unreal แต่มีคุณภาพ เพื่อให้ AI สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาปรับและประยุกต์ใช้” คุณปฐมากล่าว
Meet Yumi Influencer สาวที่ไม่ใช่มนุษย์ - Meet Yumi เป็น Animated Digital Influencer ของ SK-II แบรนด์เครื่องสำอางชื่อดัง ซึ่งทำหน้าที่แนะนำ ตอบคำถามลูกค้า โดยเธอ ฉลาดขนาดที่ว่าสามารถสแกนใบหน้าลูกค้า เพื่อวิเคราะห์ปัญหาผิวหน้าและแนะนำผลิตภัณฑ์ได้อย่างครบถ้วน
“ในขณะที่มนุษย์ยังต้องติดตามข้อมูลอยู่เสมอ แต่ Yumi สามารถเก็บข้อมูล และตอบคำถามด้านผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าอย่างมีความรู้และเข้าใจ รวมถึงอัปเดตเทรนด์ต่าง ๆ ได้อย่างไร้รอยต่อ” คุณปฐมาเสริม
Project Origin - ความร่วมมือระหว่าง Microsoft, BBC, CBS และ The New York Times เพื่อจะแก้ปัญหา Disinformation หรือ การบิดเบือนข้อมูล โดยเฉพาะในการรายงานข่าว โดยใช้เทคโนโลยี Distributed Technology เพื่อเอื้อให้ทั้งผู้ผลิตสื่อและผู้บริโภคสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาและความน่าเชื่อถือของข่าวได้
AI news anchor - ผู้ประกาศข่าว AI คนแรกของโลก ที่พร้อมประกาศข่าว Breaking News ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
Quantum Computing และการใช้ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงกำลังทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เป็นไปได้ และจะช่วยให้เราสามารถก้าวข้ามขีดจำกัดและความท้าทายของอุตสาหกรรม โดยในช่วงสองปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีเหล่านี้ได้เข้าไปมีส่วนในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับชีววิทยา
ในประเทศไทยนั้น ผู้บริหารมองว่า เทคโนโลยีสามารถเข้ามาแก้ไขปัญหา จากเดิมที่ปัญหาซับซ้อนมากๆ หรือจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อมาแก้ไขปัญหาเหล่านี้
โดยตัวอย่างที่คุณปฐมายกขึ้นมาก็คือ Cambridge-1 Supercomputer ซึ่งเป็นโปรเจกต์ที่ Nvidia ร่วมกับบริษัทในอังกฤษ นำเอาข้อมูลที่เกี่ยวกับยารักษาโรค งานวิจัย การทำ Predictive Module เพื่อจะหาทางสร้างวัคซีนหรือยารักษา ซึ่งโปรเจกต์นี้จะเกิดไม่ได้เลยหากขาดความร่วมมือจากผู้ผลิต Hardware และ Supercomputing
ในช่วงสุดท้ายคุณปฐมาได้ฝากข้อความไว้ว่า "Think Big, Start Small, Scale Fast" และเน้นย้ำว่าธุรกิจควรหาวิธีประยุกต์เทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเองให้มากที่สุด และอย่ากลับไปสู่โลกก่อนที่เราจะมาถึงจุดนี้
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด