ไม่มีไทย อาจไม่มี Tesla เปิดความลับ Roadster ที่ต้องใช้บริษัทไทยในป่าช่วยประกอบแบตเตอรี่ | Techsauce

ไม่มีไทย อาจไม่มี Tesla เปิดความลับ Roadster ที่ต้องใช้บริษัทไทยในป่าช่วยประกอบแบตเตอรี่

ปฐมบทของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจาก Tesla เริ่มต้นมาจากรถรุ่นแรกอย่าง Tesla Roaster ที่เผยโฉมรุ่นต้นแบบสู่สายตาชาวโลกครั้งแรกเมื่อปี 2006 ก่อนที่จะส่งมอบรถได้จริงช่วงปี 2008 

ช่วงเวลา 2 ปีก่อนการขาย EV รุ่นแรกของค่าย ดูเหมือนว่าจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับ Elon Musk และ Tesla เพราะปัญหา และอุปสรรคหลายอย่างที่ต้องพบเจอตลอดกระบวนการผลิตชนิดที่ว่าต้องจ้าง outsource ทั่วโลกรวมถึงไทย

ทุกอย่างปั่นป่วน เพราะ ‘ยากล้วนๆ’ 

สิ่งที่ยากของการสร้างรถ EV สักคันไม่ใช่การออกแบบ แต่คือ ‘กระบวนการผลิต’ 

tzero รถยนต์ไฟฟ้าที่สร้างแรงบันดาลใจให้ Musk

Musk สนใจในรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามาหลายปีแล้ว เชื่อว่าจะเป็นอนาคตของยานพาหนะ และยิ่งเมื่อ Musk ได้ทดลองขับสปอร์ตพลังงานไฟฟ้ารุ่นต้นแบบ ‘tzero’ ที่ค่ายรถ AC Propulsion ก็ยิ่งกระตุ้นให้ Musk อยากสร้างรถ EV เป็นของตัวเอง เพราะตอนนั้น AC Propulsion ยังไม่มีแผนนำรถยนต์ไฟฟ้าตัวเองทำตลาด จึงนำไปสู่การพัฒนารถรุ่นแรกของค่านามว่า Tesla Roaster

คอนเซ็ปต์การสร้าง Tesla Roadster สุดแสนเรียบง่าย คือ ระบบขับเคลื่อน AC Propulsion  + โครงรถสปอร์ตสัญชาติอังกฤษ Lotus Elise 

วิธีนี้ดูเหมือนจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะ Tesla Motors (ชื่อในตอนนั้น) ไม่ต้องออกแบบรถใหม่ทั้งหมด แต่พวกเขาคิดผิด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ ‘ความเยอะ’ ของ Musk อีกส่วนเป็นเพราะ ‘ความยาก’ ของการใช้ดีไซน์คนอื่นที่ไม่เข้ากันกับสิ่งที่มี จนทำให้ Musk จำเป็นต้องควานหา outsource จากทั่วโลกที่สามารถรับมือกับความต้องการของ Musk ได้

ยกตัวอย่างปัญหาด้านซัพพลายเออร์ ระหว่างการพัฒนา Tesla Roadster บริษัทจากอังกฤษที่รับหน้าที่ผลิตแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ บังโคลน และประตู โทรมาขอถอนตัว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความต้องการที่ยากเกินกำลัง และอีกเหตุผลมาจาก Musk เคยมีปากเสียงดุเดือดกับผู้จัดการ 

หลังจาก Musk ทราบข่าว เขารีบบินไปที่ฝรั่งเศสเพื่อหาซัพพลายเออร์รายอื่น และเป็น Sotira Composites ที่รับงานนี้ แต่ Musk กังวลว่า คนงานในฝรั่งเศสจะไม่ทุ่มเทเท่าเขา และยอมทุกสิ่งทุกอย่างจนถึงขั้นอ้อนวอนพนักงานว่า “กรุณาอย่าหยุดงาน หรือไปพักร้อนในตอนนี้ ไม่อย่างงั้น Tesla จะตาย”

อีกส่วนที่เจอปัญหาหนักคือ ‘แบตเตอรี่’

กระบวนการผลิตแบตเตอรี่ Tesla Roadster เริ่มต้นที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นที่ผลิตเซลล์สำหรับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน เซลล์แบตจะถูกนำมารวมด้วยกันเป็นก้อนเดียว และส่งไปที่โรงงานชั่วคราวในป่าของประเทศไทย ซึ่งเดิมทีผลิตเตาบาร์บีคิวมาก่อน 

โรงงานในไทยรับหน้าที่ประกอบชุดแบตเตอรี่เข้ากับท่อระบายความร้อน จากนั้นแบตเตอรี่จะถูกขนส่งผ่านเรือไปที่โรงงาน Lotus ที่อังกฤษ เพื่อประกอบชุดแบตเตอรี่เข้ากับแชสซี และสุดท้ายตัวถังรถพร้อมแบตเตอรี่จะถูกส่งข้ามมหาสมุทรไปยังโรงงานประกอบของ Tesla ที่สหรัฐฯ ที่รับหน้าที่ประกอบมอเตอร์ และระบบขับเคลื่อน AC Propulsion เพื่อปลุกชีวิตให้กับ Tesla Roadster 

สาเหตุที่แบตเตอรี่ต้องเดินทางไปหา outsource ทั่วโลกก็เนื่องมาจากบริษัทหลายแห่งไม่สามารถรับมือกับความ 'เยอะ' ของ Musk ได้ อย่างเช่น การปรับจูนแบตเตอรี่ที่ต้อง, การปฏิบัติที่ทำได้ยากกว่าทฤษฎี 

Tesla Roadster จากแนวคิดอันแสนเรียบง่ายกลายเป็นบทเรียนครั้งใหญ่ของ Musk เพราะระหว่างการพัมนา Musk มีการปรับแต่งหลายอย่างจนทำให้แชสซีมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 40% แถมต้องออกแบบใหม่เพื่อให้พอดีกับชุดแบตเตอรี่ซึ่งส่งผลต่อเรื่องความปลอดภัย และการทดสอบการชนที่ Lotus เคยทำไว้ อีกทั้งเทคโนโลยีของ AC Propulsion ก็แทบใช้งานไม่ได้จริงในรถยนต์สำหรับขาย ซึ่งในท้ายที่สุดรถ Roadster มีชิ้นส่วนเพียง 6% ที่เหมือนกับ Lotus Elise 

แม้เผชิญความท้าทายมากมาย แต่ประสบการณ์เหล่านี้ทำให้ Tesla นำหน้าผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นในด้านเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า บทเรียนจากความผิดพลาดในการออกแบบครั้งนี้ ช่วยให้ Tesla พัฒนารถรุ่นใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนกลายเป็นรถ EV ที่ครองใจผู้ใช้ทั่วโลกมาอย่างยาวนาน

อ้างอิง : หนังสือ Elon Musk by Walter Isaacson, onlyusedtesla

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

10 ไฮไลท์นวัตกรรมเทคโนโลยีสุขภาพไต้หวัน ก้าวล้ำนำอนาคตในงาน Taiwan Expo 2024

10 นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ไฮไลท์จาก Taiwan Healthcare Pavilion ที่จะมาปฏิวัติวงการแพทย์ในทุกมิติ จากงาน Taiwan Expo 2024...

Responsive image

ส่องเส้นทางเทคฯ KBTG จากยุคปรับตัว สู่ผู้นำ Agentic AI กับยุทธศาสตร์ Human-First x AI-First พลิกโฉมธุรกิจ

เจาะลึกกลยุทธ์ KBTG กับการนำไทยเข้าสู่ยุค Agentic AI 2025 ผ่าน Human-AI Integration เพื่ออนาคตที่ล้ำลึกและยั่งยืน...

Responsive image

โซลูชัน Technology Business Management เปลี่ยนต้นทุน IT ให้กลายเป็นโอกาสทางธุรกิจด้วยการปลดล็อกศักยภาพด้านการบริหารจัดการต้นทุน IT ด้วยข้อมูลเชิงลึก

การบริหารต้นทุนด้านเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ Technology Business Management เป็นกรอบการจัดการช่วยให้ผู้บริหารสามารถควบคุมและบริหารต้นทุน IT ได้อย่างแม่...