Internet of Things กับการพลิกโฉมธุรกิจไทย | Techsauce

Internet of Things กับการพลิกโฉมธุรกิจไทย

ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของการทำธุรกิจในปัจจุบัน บริษัททั่วโลกต้องพัฒนาศักยภาพของตนเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาด โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้และการหาวิธีจัดการกับระบบเทคโนโลยีดั้งเดิมให้เข้ากับการทำงานในปัจจุบัน

ในผลสำรวจความคิดเห็น The Changing landscape of disruptive technologies โดยเคพีเอ็มจี ซึ่งสำรวจความเห็นของผู้นำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับโลกกว่า 750 คน พบว่า Internet of Things (IoT) ได้รับการจัดอันดับให้เป็นปัจจัยสำคัญอันดับหนึ่งที่ส่งผลต่อการพลิกผันทางเทคโนโลยี โดยมีอันดับสูงกว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์ (robotics) ในทุกประเภทดังนี้

การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ การขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชีวิตสังคมและสิ่งแวดล้อม ผลักดันการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยมีมาก่อนในตลาดผู้บริโภค รัฐบาลไทยได้ส่งเสริม IoT ในประเทศไทยผ่านนโยบาย Thailand 4.0 พร้อมกับการพัฒนาโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) อันประกอบไปด้วยโครงการเมืองอัจฉริยะในหลายจังหวัด เช่น กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ ชลบุรี ขอนแก่น ภูเก็ต และ ระยอง นอกจากนี้ยังจะมีสถาบัน IoT ที่จะจัดตั้งขึ้นภายใน ดิจิทัลพาร์คของ EEC อีกด้วย

“ด้วยการเพิ่มขึ้นของการใช้ IoT และความกดดันในการรักษาความสามารถในการแข่งขันท่ามกลางยุคของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัล บริษัทต่าง ๆ ควรตระหนักถึงอันตรายของการปรับใช้เทคโนโลยีโดยไม่มีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน การนำเอาเทคโนโลยีใด ๆ ก็ตามมาใช้ สามารถก่อให้เกิดผลเสียเพิ่มขึ้นในระยะยาว หากไม่มีวิสัยทัศน์ที่เหมาะสม” คุณณัฐศักดิ์ โรจนพิเชฐ ผู้อำนวยการที่ปรึกษาธุรกิจของเคพีเอ็มจีประเทศไทยกล่าว

หลักการประกอบการพิจารณาในการนำเอาเทคโนโลยี IoT มาใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสามารถจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดได้ มีดังนี้

1. ชี้ปัญหาธุรกิจ

ระบุให้ชัดเจนว่าต้องการใช้ IoT เพื่ออะไร อะไรคือปัญหาทางธุรกิจที่ต้องแก้ไข และผลประโยชน์ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นด้านการลดต้นทุน ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ คุณภาพของสินค้าและบริการ การเติบโตทางธุรกิจ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือการลดความเสี่ยง การระบุปัญหาที่ชัดเจน สามารถทำได้โดยใช้กรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง การสร้างคุณค่า และเกณฑ์การวัดความสำเร็จ

2. ร่วมมือเพื่อสร้างคุณค่า

พลังของ IoT เกิดขึ้นเมื่อมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยมีการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ข้อมูลมาสู่บุคคล โดยกระบวนการและข้อมูลนั้นยิ่งมีการแลกเปลี่ยนกันได้มากขึ้นก็จะทำให้เกิดประโยชน์มากขึ้น มาตรฐานในการเปิดเผยข้อมูลและการทำงานร่วมกันมีบทบาทสำคัญในการสร้างคุณค่า ช่วยลดต้นทุน และพัฒนาความสำเร็จ สิ่งสำคัญคือการรู้ว่ามีเทคโนโลยีใดบ้างและเทคโนโลยีไหนที่ปรับใช้ได้กับคุณ

3. คิดใหม่ในด้านทักษะและวัฒนธรรม

ผู้บริหารควรเตรียมความพร้อมให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการปฏิบัติงานใหม่ในสภาพแวดล้อมใหม่ที่นำ IoT เข้ามาช่วยในการทำธุรกิจ การเตรียมความพร้อมรวมถึงการฝึกอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีและกระบวนการปฏิบัติงานใหม่ ๆ การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น การส่งเสริมให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์ การฝึกอบรมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก

4. การทดลอง

ใช้สุภาษิต 'คิดใหญ่เริ่มต้นเล็ก' ทำความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงของการนำเทคโนโลยี IoT มาใช้ในธุรกิจของคุณ โดยการพัฒนาและทดสอบระบบ ประเมินความสำเร็จและสิ่งที่ต้องปรับปรุง ตลอดจนการวัดประโยชน์ที่ได้รับ จากนั้นจึงเริ่มพัฒนาระบบที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพให้แข็งแกร่งขึ้น

5. รู้ถึงความเสี่ยงและกฎระเบียบ

ด้วยคุณค่าที่มาพร้อมความเสี่ยง IoT มีแนวโน้มที่จะเข้ามาแทนที่ธุรกิจของคุณอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน คุณจึงต้องทำความเข้าใจกฎข้อบังคับหรือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวเป็นสิ่งสำคัญ (แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวที่ต้องพิจารณา) ต้องแน่ใจว่าคุณคิดในแง่ของลูกค้า พนักงาน ทรัพย์สิน พันธมิตรทางธุรกิจ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ทั้งหมด

6. สร้างระบบนิเวศทางธุรกิจ

IoT จะเกิดประโยชน์ก็ต่อเมื่อมีการเชื่อมต่อขององค์ประกอบต่าง ๆ จนกลายเป็นระบบนิเวศที่เชื่อมต่อระบบย่อย ๆ เข้าด้วยกัน ดังนั้นระบบดังกล่าวจะไม่พึ่งพาผู้ขายหรือผลิตภัณฑ์เพียงรายเดียว หากแต่เป็นหลายปัจจัยที่ทำงานร่วมกัน เมื่อทราบถึงปัญหาและความต้องการทางธุรกิจแล้ว จึงจะเห็นได้ถึงความจำเป็นที่จะต้องมีพันธมิตรทางธุรกิจในด้านใดบ้าง และจะทำงานร่วมกันอย่างไร

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...