ถอดแนวคิด Thairath Online กับการค้นหาไอเดีย 'สื่อ' เพื่อ 'สังคมยุคใหม่' ผ่านโครงการ Hackathon

ในยุคที่ทุกอย่างรวดเร็ว ครอบคลุมไปด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และก้าวเข้าสู่ยุค 5G อย่างสมบูรณ์แบบ จึงทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปสู่การรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางออนไลน์มากขึ้น โดยตัวแปรหลักของการให้ข่าวสารนั้น คือ “สื่อมวลชน” ที่ต้องมีการปรับตัวอย่างรวดเร็วที่สุด และสามารถสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้อย่างสมบูรณ์แบบ และเมื่อเกิดภาวะวิกฤต อย่าง COVID-19 หรือในยุคที่ Fake News เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทาง "ไทยรัฐออนไลน์" ได้ตระหนักถึงความสำคัญในจุดนี้จึงได้จัดการแข่งขัน Hackathon ครั้งแรกของสื่อขึ้นมา เพื่อเป็นเวทีสร้างสรรค์นวัตกรรม ภายใต้แนวคิด "สื่อ" เพื่อ "สังคมยุคใหม่" โดยได้เชิญคนรุ่นใหม่หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจมาร่วมกันสร้าง MVPs ที่จะตอบโจทย์ Challenge ไม่ว่าจะเป็นด้าน Product, UX, Software ไอเดียที่สร้างให้เกิด Social Engagement และเปิดกว้างใน Business Model ใหม่ๆ ของวงการสื่อ เพื่อผลักดันวงการสื่อไทยให้ก้าวสู่ยุคใหม่และตอบโจทย์ความต้องการของผู้อ่านได้ดียิ่งขึ้น  

Thairath Online กับการค้นหาไอเดีย 'สื่อ' เพื่อ 'สังคมยุคใหม่' ผ่านโครงการ Hackathon

คุณธนวลัย วัชรพล เจ้าหน้าที่บริหารสายงานปฏิบัติการออนไลน์ของไทยรัฐออนไลน์ กล่าวถึงเป้าหมายหลักในการจัดงาน  Hackathon ครั้งนี้ว่า จากสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อยากให้วงการสื่อมีไอเดียนวัตกรรมใหม่ๆ เพราะที่ผ่านมาสื่อถูก Disrupt ค่อนข้างเยอะจาก social media ต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น จึงอยากเปิดโอกาสให้ไทยรัฐได้ร่วมงานกับคนรุ่นใหม่ เพื่อที่จะได้เห็นมุมมองใหม่ๆ ของคนรุ่น Young Gen รวมถึงเป็นการเปิดโอกาสให้ไทยรัฐได้ connect กับเด็กยุคใหม่ด้วย ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นเด็กมหาลัย หรือผู้ที่ทำงานอยู่ในวงการสื่อเท่านั้น

Thairath Online กับการค้นหาไอเดีย 'สื่อ' เพื่อ 'สังคมยุคใหม่' ผ่านโครงการ Hackathon

"เป็นครั้งแรกที่ไทยรัฐจัดงาน hackathon ก็มองว่าเป็นหนึ่งอีเวนท์ที่ตอบโจทย์ของเรา ที่อยากจะให้ผู้บริโภคเห็นไทยรัฐเป็น Technology-driven media company เราอยากให้คนรู้ว่าเราไม่หยุดนิ่ง เรามีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา และมี Product ใหม่ๆ เสมอ ซึ่งเว็บไซต์ของเราปีนี้ก็เป็นที่ 12 แล้ว เพราะฉะนั้น  Hackathon  ก็เป็นหนึ่งใน event ที่ทำให้เราก้าวไปสู่ยุคใหม่ เทคโนโลยีอะไรที่ทำให้ Product เราดีขึ้นหรือว่าตอบโจทย์กับสังคม เราก็พร้อมที่จะปรับใช้ รวมถึงลอง partner กับเด็กรุ่นใหม่หรือคนที่มี idea  ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่เราจะลอง Business model ใหม่ด้วย โดยเราจะทำเป็น Subscription model ที่จะไม่ได้มีแค่การพึ่งโฆษณา Advertising Banner ต่างๆ แล้ว ก็ถือเป็นอีกหนึ่งของการก้าวเดินครั้งใหญ่ของเราเหมือนกัน ก็หวังว่าโมเดลใหม่ของเราจะได้รับผลตอบรับจากผู้บริโภคในทิศทางบวก"  คุณธนวลัย กล่าว  

สื่อยุคใหม่ต้องอย่าหลงใหลไปกับยอด Like และ Share เกินไป

ทั้งนี้จากพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันการอ่านข่าวอย่างเดียวคงไม่พอ เพราะผู้อ่านต้องการได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นความจริง ซึ่งช่วงที่ผ่านมาไม่ว่าใครก็สามารถหยิบมือถือขึ้นมา Report news หรือกด Live และเป็นนักข่าวได้เลย ส่งผลกับความน่าเชื่อถือของข่าวค่อนข้างเยอะ เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญของสื่อในสังคมยุคใหม่นี้ นอกจากจะมีไอเดียที่ดีแล้ว  จะต้องมีจรรยาบรรณและนำเสนอข่าวสารอย่างถูกวิธีและมีข้อเท็จจริง (Fact) ประกอบด้วย 

นอกจากนี้อย่าหลงใหลกับยอด Like และ Share จนเกินไป เพราะอาจจะทำให้เรากลายเป็นแค่ผู้ที่สร้างคอนเทนต์ตามกระแสดราม่าที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ไม่ได้เป็นสื่ออย่างแท้จริง ซึ่งจุดนี้อาจทำให้หลายคนได้รับบาดแผลจากการกระทำดังกล่าว  ส่งผลให้ที่ผ่านมาเกิดการแฮชแท็กแบนสื่อหลักต่างๆ ค่อนข้างเยอะ ส่วนเทคโนโลยีขณะนี้ก็ยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อ แต่ไทยรัฐก็พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้ทันอยู่เสมอ

สำหรับการจัดงาน Hackathon ในครั้งนี้ ได้เชิญเมนเทอร์ (Mentor) ถึง 4 คน เพื่อที่จะมาให้คำแนะนำสำหรับผู้เข้าแข่งขัน Hackathon ได้แก่

  • คุณเอกสิทธิ์ เดี่ยววณิชย์ กรรมการผู้จัดการจาก บริษัท DreaMaker 
  • คุณจิรวัฒน์ กรัณย์วิทยาการ และ คุณวริศ วรรณวิธู จาก LINE Thailand 
  • คุณดาริน สุทธพงษ์ ซีอีโอจาก Hato Hub  

และบทสรุป 24 ชั่วโมงของการแข่งขัน Hackathon ในครั้งนี้ผลงานบอร์ดเกม “มาเล่นไทยรัฐ” ของทีม PAPA เป็นผู้คว้าชัยชนะในการแข่งขัน โดยคว้าเงินรางวัลจำนวน 100,000 บาท และสิทธิ์ในการร่วมงานกับไทยรัฐออนไลน์ในอนาคต ด้วยแนวคิดการนำเอาบอร์ดเกมมาช่วยเสริมทักษะในด้าน Critical Thinking และ Information Searching เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาเรื่องของข่าวปลอม (Fake news) ตั้งแต่ต้นตอและแก้ไขปัญหานี้อย่างยั่งยืน 

ส่วนรางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ ทีม SCOOPS นำเสนอไอเดียนวัตกรรม แพลตฟอร์มข่าวผสมผสานกับเกมเข้าด้วยกัน ในลักษณะคล้ายเกมโชว์  และ ทีม MIND นำเสนอไอเดียนวัตกรรม Ask Me แพลตฟอร์มการวิจัยและการสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภค เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรง ชัดเจน ลึกซึ้ง ตรงกับทุกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งหลังจากจบการแข่งขันในครั้งนี้ ไทยรัฐออนไลน์ก็พร้อมนำไอเดียของผู้เข้าแข่งขันทุกรายที่เสนอ มาปรับใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจต่อไป



บทความนี้เป็น Advertorial




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Noland Arbaugh มนุษย์คนแรกที่ควบคุมคอมพิวเตอร์ด้วยความคิดผ่าน Neuralink

Noland Arbaugh วัย 30 ปี เป็นผู้ป่วยรายแรกของ Neuralink ได้ออกมาเล่าถึงประสบการณ์หลังการฝังชิปลงสมองในพอดแคสต์ของ Joe Rogan พอดแคสเตอร์ผู้โด่งดังในสหรัฐฯ...

Responsive image

ปฐมา จันทรักษ์ ฝาก 5 ข้อถึงผู้หญิง สู่ตำแหน่ง 'ผู้นำ' ในงาน EmpowerHer Asia LEADERSHIP FORUM 2025

สรุปจากที่คุณปฐมา จันทรักษ์ Country Managing Director, Accenture Thailand กล่าวในงาน 'EmpowerHER ASIA LEADERSHIP FORUM 2025, BRIDGING THE LEADERSHIP GAP IN TECH' เวทีสนับสนุนและส่ง...

Responsive image

คมความคิดของผู้หญิงสายเทค และความท้าทายที่ต้องเผชิญ จากงาน SCBX Tech Horizon EP15

สรุปแนวคิดผู้นำที่เป็นผู้บริหารหญิงจากงาน SCBX Tech Horizon EP15 ช่วง Panel Session : Breaking Barriers & Leading the Future เวทีที่เจาะลึกความท้าทายของผู้หญิงในบทบาทการบริหารกลยุท...