เจาะลึกกลยุทธ์การบุกเข้าสู่ตลาดจีน สำหรับบริษัทเทคฯ และสตาร์ทอัพไทยต้องทำอย่างไร | Techsauce

เจาะลึกกลยุทธ์การบุกเข้าสู่ตลาดจีน สำหรับบริษัทเทคฯ และสตาร์ทอัพไทยต้องทำอย่างไร

โอกาสทำธุรกิจในระดับโลก นับเป็นความท้าทายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาแห่งการลงทุนในปัจจุบันนี้ ซึ่งตลาดจีนนับเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดทั้งด้านของมูลค่าทางเศรษฐกิจและประชากร การเข้าใจเทรนด์และความต้องการของผู้บริโภค รวมไปถึงเทคนิคในการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดจีนได้อย่างมั่นคง จึงเป็นสิ่งที่บริษัทเทคโนโลยีและนักธุรกิจต้องให้ความสนใจอย่างยิ่ง

คุณ William Bao Bean SOSV General Partner และ Managing Director แห่ง Chinaccelerator ซึ่งเป็น VC ระดับโลกอีกทั้งยังเป็นนักลงทุนผู้มีประสบการณ์ลงทุนระดับโลกและนักธุรกิจผู้ทำธุรกิจในประเทศจีนมาอย่างยาวนาน ได้ร่วมเป็น Speaker ในงาน Techsauce Global Summit 2022 ภายใต้หัวข้อ “China Market Entry Strategy: How Tech Company Enter the Chinese Market”

ตอนนี้จีนกำลังจะกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก และด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรม แนวคิด และพฤติกรรมผู้บริโภค ทำให้การจะเข้าสู่ตลาดภายในประเทศจีนนั้นมีความท้าทายที่ยากมาก และต้องเลือกธุรกิจที่จะเข้าให้ดี 

คุณ William กล่าวว่าตอนนี้ธุรกิจที่มีศักยภาพและเป็นที่จับตาในจีนนั้น ได้แก่ธุรกิจด้านสุขภาพและ  Telemedicine ด้วยจำนวนประชากรที่มากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกทำให้มีความต้องการบริการทางด้านสุขภาพ รวมถึงมีบริษัทประกันที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลกด้วยเช่นกัน 

ต่อมาในเรื่องของธุรกิจการศึกษาเนื่องจากมาตรการกฎหมายใหม่ทำให้ธุรกิจการเรียนเสริมนอกห้องเรียนกลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ส่งผลให้สตาร์ทอัพยูนิคอร์นด้านการศึกษาในประเทศรวมถึงธุรกิจด้านการสอนประเภทนี้ถูกปิดตัวลงอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกันกับธุรกิจด้านบริการทางการเงิน การลงทุนในตลาดหุ้น การลงทุนในกองทุนรวม การควบคุมอย่างเข้มงวดและยากมาก และต้องแข่งขันกับบริษัทเจ้าใหญ่ของจีนอย่าง อาลีบาบาและ Tencent ซึ่งมีต้นทุนการแข่งขันที่ดีกว่า ทำให้ธุรกิจทางด้านการเงินนั้นเข้าแข่งขันยากมากยิ่งขึ้น

“ในด้านของธุรกิจเกมตอนนี้มีความพยายามแข่งขันในเรื่องของลิขสิทธิ์เกมจำนวนมาก กระจายเข้าสู่ผู้ประกอบการรายย่อย จึงถือเป็นดอกาสในการเข้าแข่งขัน แต่ก็ต้องระวังเรื่องของกฎหมายที่อาจเปลี่ยนไปในอนาคต”

อีคอมเมิร์ซเป็นพื้นที่หนึ่งที่สตาร์ทอัพระหว่างประเทศหรือบริษัทต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วมจำนวนมาก เพราะความต้องการบริโภคและด้วยนโยบายการล็อคดาวน์ประเทศอย่างเข้มข้นของจีน ทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างมาก และไม่ได้เพียงแค่การซื้อของภายในประเทศ แต่ยังรวมถึงสินค้าจากต่างประเทศที่สามารถหาได้ในประเทศจีน

ประเทศจีนบริโภคสินค้าอยู่ที่ประมาณ 40% ของสินค้าฟุ่มเฟือยทั่วโลก ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 40% เป็นสินค้าที่ซื้อจากต่างประเทศเนื่องจากกำแพงภาษีทำให้ซื้อจากต่างประเทศถูกกว่า แต่กลับมีเที่ยวบินไปจีนเพียง 42 เที่ยวบินต่อสัปดาห์เท่านั้น เพราะด้วยสถานการณ์โควิด ทำให้กลายเป็นโอกาสที่จะขายสินค้าที่เคยเป็นที่ต้องการได้ 

ตอนนี้หลายแพลตฟอร์มต่างลงทุนอย่างหนักเพื่อเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซจีนให้ได้แม้ว่าจะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากและยังไม่สามารถคืนทุนได้ก็ตาม หัวใจสำคัญที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้ได้ก็คือข้อมูล อาลีบาบาและ Tencent ต่างเปิดเผยข้อมูลของตัวเองแต่กลับไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ ซึ่งเป็นเพราะแต่ละเพลตฟอร์มต่างนำเสนอข้อมูลแต่เพียงของตัวเอง ทำให้ไม่สามารถเทียบข้ามแพลตฟอร์มได้ การจะสามารถแข่งขันในประเทศจีนได้ทำให้ทุกบริษัทต่างก็มี AI ของตัวเองเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบตลาดกับคู่แข่งอื่น ๆ แบบเรียลไทม์ หรือช่วยในการพูดคุยกับลูกค้าได้

“Supply chain Logistic Data AI เป็นความได้เปรียบที่บริษัทต่างชาติมีมากกว่าจีน”

40% ของบริษัทขนาดใหญ่ทั่วโลกเชื่อว่าจีนจะเป็นตลาดรายได้อันดับหนึ่งของโลก ในขณะที่จีนกำลังเติบโต ในไม่ช้าก็จะเป็นประเทศเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของโลก ดังนั้นจึงน่าจะเป็นตลาดที่สร้างรายได้อันดับหนึ่งให้กับบริษัทด้วย 

ซึ่งการแข่งขันกันระหว่างบริษัทต่างชาติกับบริษัทท้องถิ่นเองก็มีการเปลี่ยนไป จากเมื่อก่อนรัฐบาลจีนสนับสนุนให้ต่างชาติเข้ามาตั้งบริษัทในประเทศอย่างมากก็ได้เปลี่ยนเป็นให้การสนับสนุนบริษัทท้องถิ่นมากขึ้น ทำให้ตอนนี้หากต้องการเข้าสู่ตลาดก็ต้องมีการสร้างความร่วมมือหรือเป็นพันธมิตรกับบริษัทท้องถิ่นให้ได้ ซึ่งคุณวิลเลียมกล่าวอีกว่า เมื่อคุณขายให้กับบริษัทในประเทศจีน การขายให้กับบริษัทเดียวกันทั่วทั้งเอเชียจะง่ายขึ้นมาก

นอกจากนี้การเกิดขึ้นของ Metaverse เองก็กำลังเป็นเทรนด์ที่พูดถึงอย่างมากในจีน ซึ่งกว่า 78% ของผู้คนในจีนรู้สึกตื่นเต้นเกี่ยวกับ metaverse สูงกว่าประชากรของประเทศอื่น ๆ มาก ดังนั้นจึงมีโอกาสในธุรกิจเสมือนจริงนี้ และมีการลงทุนจำนวนมาก 

โดยผู้เล่นรายใหญ่ทั้งหมด เช่น Tencent Alibaba Baidu แต่ยังมีโอกาสสำหรับสตาร์ทอัพรายใหม่อีกด้วย ปีที่แล้วธุรกิจ Virtual Reality มีมูลค่า 8 พันล้านเหรียญสหรัฐในจีน ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วมาก สุดท้ายสิ่งสำคัญที่นักธุรกิจจะเข้าไปในตลาดจีนต้องระวังก็คือเรื่องของข้อกำหนด ซึ่งอาจจะเปลียนแปลงได้ทุกเมื่อ ดังนั้นจึงอยากให้ทุกคนเตรียมความพร้อมสำหรับทุกการเปลี่ยนแปลง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ส่องกฎหมายและนโยบายที่ดึง Silicon Valley มาลงทุนในอินโดนีเซีย

บทความนี้ Techsauce จะพาไปเจาะลึกกับ 5 ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้อินโดนีเซียได้รับความสนใจจากบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในช่วงเวลานี้...

Responsive image

Fortune จัดอันดับ 100 สตรีผู้ทรงอิทธิพลแห่งเอเชีย ไทยติดอันดับ 14 คน มากสุดเป็นอันดับ 2!

นิตยสารฟอร์จูน (Fortune) ได้ประกาศรายชื่อ "100 สตรีผู้ทรงอิทธิพลแห่งเอเชีย" ประจำปี 2024 การจัดอันดับนี้มุ่งเน้นยกย่อง "สตรีผู้สร้างนิยามใหม่แห่งความเป็นผู้นำ" ไม่ว่าจะเป็นการปฏิวั...

Responsive image

ปฏิวัติการบริหารธุรกิจด้วย SAP on Cloud: ง่ายกว่า คุ้มค่ากว่า ปลอดภัยกว่า

แนะการใช้ SAP on Cloud อย่างชาญฉลาด โดย True IDC พาไปรู้จัก 'Huawei Cloud' ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่มี Data Center 3 โซนในไทย ที่พร้อมรองรับการทำงานของ SAP เป็นอย่างดี และ Pe...