ประเทศไทยมีความพร้อมด้าน AI อยู่ในอันดับที่ 56 ของโลก | Techsauce

ประเทศไทยมีความพร้อมด้าน AI อยู่ในอันดับที่ 56 ของโลก

ประเทศไทยได้รับการให้คะแนนความพร้อมด้าน AI อยู่ที่อันดับที่ 56 ของโลก จาก 194 ประเทศ ประจำปี 2019 ในขณะที่สิงคโปร์คว้าอันดับที่หนึ่ง โดยอ้างอิงข้อมูลจาก Oxford Insights ประเทศไทยได้รับคะแนนอยู่ที่ 5.458 จาก 10 คะแนน

ประเทศเพื่อนบ้านของไทย

  • สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 1 คะแนน 9.186
  • มาเลเซียอยู่ในอันดับที่ 22 คะแนน 7.108
  • ฟิลิปปินส์ในอันดับที่ 50 คะแนน 5.704
  • อินโดนีเซียตามาในอันดับที่ 57 ด้วยคะแนน 5.42

ซึ่งสิงคโปร์นับว่าเป็นประเทศจิ๋วแต่แจ๋วที่สามารถคว้าอันดับหนึ่งมาได้ โดยมีสหราชอาณาจักร เยอรมัน สหรัฐอเมริกา ฟินแลนด์ สวีเดน แคนาดา ฝรั่งเศส เดนมาร์ก และญี่ปุ่น ตามมา นี่เป็นเพียงครั้งที่สองที่ Oxford Insights ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ หลังจากเริ่มต้นการศึกษาครั้งแรกในปี 2017 เกี่ยวกับ 35 ประเทศในองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ซึ่งในปี 2017 นั้นผลการศึกษาพบว่า สหราชอาณาจักร ครองอันดับหนึ่งตามด้วย สหรัฐอเมริกา แคนาดา และเกาหลี

อ้างอิงจาก Oxford Insights เทคโนโลยี AI จะมีมูลค่าสูงขึ้นถึง 15 ล้านล้านดอลลาร์ ในเศรษฐกิจโลกภายในปี 2030 ดัชนีการวัดลำดับถูกจัดโดยการสนับสนุนของศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยตัวชี้วัด 11 ตัว ภายใต้การจัดกลุ่ม 4 กลุ่ม ได้แก่ การกำกับดูแลโครงสร้างพื้นฐาน ข้อมูลทักษะและการศึกษา รวมถึงการบริการภาครัฐและสาธารณะ

การรวบรวมข้อมูลจัดอันดับได้มาจากหลากหลายแหล่ง ตั้งแต่กลยุทธ์ AI ไปจนถึงฐานข้อมูล เช่น จำนวน Startup ด้าน AI ที่เพิ่งเริ่มต้นที่ลงทะเบียนไว้ใน Crunchbase ไปจนถึงดัชนีชี้วัด เช่น ดัชนีการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของสหประชาชาติ การศึกษานี้ยังชี้ให้เห็นว่าจีนอยู่ในอันดับที่ 20 ซึ่งไม่ได้สูงมากนัก ถึงแม้ว่าเราจะได้เห็นภาพรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นนำ AI มาใช้ในการบริการสาธารณะอยู่บ่อยครั้ง อย่างไรก็ตามคาดการณ์ว่าจีนซึ่งอยู่ในอันดับที่ 5 ของเอเชียแปซิฟิกน่าจะมีอันดับที่สูงขึ้นในการจัดอันดับในปีหน้า โดยค่าเฉลี่ยแล้วภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพ AI ดีที่สุดคือ อเมริกาเหนือ ในขณะที่ภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพแย่ที่สุดคือ แอฟริกาและเอเชียแปซิฟิก การจัดอันดับนี้ยังชี้ให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันในปัจจุบันด้านความพร้อมของ AI ระหว่างรัฐบาลโลก ซึ่งเห็นได้ว่าประเทศที่มีรายได้สูงจะมีประสิทธิภาพและการจัดการด้าน AI ที่ดีกว่า

ด้าน ดร. ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการสถาบัน IMC สถาบันฝึกอบรมและวิจัยด้านเทคโนโลยีเกิดใหม่ในกรุงเทพฯ กล่าวว่าแม้ว่ารัฐบาลไทยจะใช้ประโยชน์จาก AI และให้ความสำคัญกับ AI แต่ก็ยังไม่มีกลยุทธ์ที่ชัดเจนในระดับประเทศ และกล่าวเสริมว่า "เราควรที่จะพิจารณากลยุทธ์ของ AI ในด้านการท่องเที่ยวและการเกษตรซึ่งนี่จะเป็นปัจจัยสำคัญต่อเศรษฐกิจของเรา" ประเทศไทยยังขาดความสามารถในด้านเทคโนโลยี AI การเพิ่มนำความรู้ระดับนานาชาติเข้ามาประยุกต์ใช้สามารถนำพาให้เทคโนโลยีก้าวไปข้างหน้าได้ ซึ่งกว่าจะได้ผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ล้วนต้องใช้เวลาอย่างมาก เราจึงควรส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ด้านโปรแกรม Coding เข้าไปในโรงเรียน เนื่องจากประเทศยังขาดการวิจัยและพัฒนาที่เหมาะสมในเทคโนโลยี AI เพื่อที่จะนำไปส่งเสริมธุรกิจต่างๆ

 

อ้างอิงข้อมูล:  Oxford Insights, Bangkokpost


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek จากอดีตเฮดจ์ฟันด์ สู่ผู้ท้าทายยักษ์ใหญ่ AI โลก

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง ผู้อยู่เบื้องหลังของ DeepSeek จากอดีตผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ สู่ CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek ที่พกความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งส...

Responsive image

เปิดลิสต์ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC สนใจมากที่สุดในปี 2025

ค้นพบ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC ให้ความสนใจในปี 2025 ตั้งแต่โซลูชัน AI เฉพาะด้าน โครงสร้างพื้นฐาน AI ไปจนถึงระบบที่น่าเชื่อถือและยืดหยุ่น พร้อมโอกาสใหม่ในการสร้างธุรกิจที่...

Responsive image

วิเคราะห์บทบาท AI ด้านเศรษฐกิจและสังคม ผ่านมุมมองผู้เชี่ยวชาญจาก AI House ที่ดาวอส

ในการประชุม World Economic Forum (WEF) ที่จัดขึ้นที่ Davos นั้นหัวข้อสำคัญที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือบทบาทของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขามาร่วมพูดคุยถึง...