'ไทยเทพรส (ภูเขาทอง)' บุกตลาดสหรัฐ ท้าชนเจ้าถิ่น 'ซอสพริกศรีราชา' | Techsauce

'ไทยเทพรส (ภูเขาทอง)' บุกตลาดสหรัฐ ท้าชนเจ้าถิ่น 'ซอสพริกศรีราชา'

Sriracha Huy Fong Foodsบริษัทไทยเทพรส พร้อมนำ 'ซอสศรีราชาพานิช' บุกตลาดสหรัฐ ท้าชน 'ซอสพริกศรีราชา' ของบริษัท Huy Fong Foods ผู้ครองตลาดซอสเผ็ดในอเมริกา

การขาย “ซอสคนรวยในราคาคนจน” ได้ทำให้ David Tran ผู้บุกเบิกซอสศรีราชาในสหรัฐชาวเวียดนามวัย 73 ปี ร่ำรวยจนกลายเป็นเศรษฐี

นาย Tran ได้ก่อตั้งบริษัท Huy Fong Foods (ซึ่งเป็นชื่อของเรือ Huey Fong ที่พาเขาไปยังสหรัฐอเมริกา) ในปี 1979 (พ.ศ. 2522) และได้ลงหลักปักฐานที่นครลอสแอนเจลิส ในตอนนั้นเขาเริ่มทำซอสเผ็ดขายสำหรับร้านอาหารเอเชียในท้องถิ่น ด้วยรถตู้สีฟ้า ข้างๆ รถมีรูปวาดไก่อันเป็นสัญลักษณ์ของแบรนด์ (Tran เป็นคนเชื้อสายจีนและเกิดปีระกา) เขาสามารถทำยอดจากการขายซอสในเดือนแรกได้ถึง 2,300 ดอลลาร์ (73,000 บาท)

'ศรีราชา' ซอสพริกเผ็ดร้อนครองใจชาวอเมริกัน

ตอนนี้เป็นเวลาเกือบกว่า 4 ทศวรรษแล้วที่ Huy Fong Foods ได้ถือครอง 9.9 เปอร์เซ็นต์ของตลาดซอสร้อนในสหรัฐ คิดเป็นเงินมูลค่า 1,550 ล้านดอลลาร์ หรือราว 50,000 ล้านบาท

แม้แต่ตัวนาย Tran เองก็ไม่คิดว่าซอสศรีราชาสูตรเวียดนามของเขาจะได้รับความนิยมมากขนาดนี้

โรงงานเก่าแก่ของ Huy Fong ตั้งอยู่ในเมืองเออร์วินเดล รัฐแคลิฟอร์เนีย ห่างไปประมาณ 20 ไมล์ทางตะวันออกของตัวเมืองลอสแองเจลิส บริษัทได้เปิดสายการผลิตถึง 16 ชั่วโมงต่อวัน ในแต่ละวันมีรถวิ่งเข้าออกบริษัทบรรทุกขวดสีแดงสดกว่าหลายแสนขวด โดยใช้พริกในการผลิตถึง 100 ล้านปอนด์ต่อปี ซึ่งก็มากพอที่จะทำให้ผู้ที่อาศัยในแถบเออร์วินเดลรู้สึกระคายเคืองกันบ้างไม่มากก็น้อย

ภาพ: Sriracha sauce (Huy Fong Foods)/ ที่มา: Derral Chen/Flickr

'ศรีราชาพานิช' ขอเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ ของส่วนแบ่งการตลาดในสหรัฐ

ตระกูลวิญญรัตน์ เป็นเจ้าของส่วนใหญ่ของบริษัทผู้ผลิตซอสในประเทศไทย

ปัจจุบันไทยเทพรสมีมูลค่าทางการตลาดมากกว่า 8,000 ล้านบาท คุณบัญชา วิญญรัตน์ รองประธานบริษัท ไทยเทพรส จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตซอสปรุงรส ภูเขาทอง” กล่าวกับสำนักข่าวบลูมเบิร์กว่า “หากไทยเทพรสสามารถได้ส่วนแบ่งการตลาดในสหรัฐเพียง 1 เปอร์เซนต์ นั่นก็เป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่มากแล้วสำหรับเรา"

อย่างไรก็ตาม การแข่งขันในครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่ว่าใครเป็นเจ้าของสูตรต้นตำรับ เพราะมีที่มาของสูตรแตกต่างกัน โดยบริษัทไทยเทพรสได้ซื้อสูตรซอสพริกศรีราชาพานิชจาก คุณแม่ถนอม จักรกภัก หญิงชาวศรีราชา ในปี 1984 (พ.ศ. 2527) นับเป็นหนึ่งปีหลังจากนาย Tran เริ่มทำซอสเวอร์ชั่นตัวเองจำหน่ายในนครลอสแอนเจลิส

ภาพ: ซอสศรีราชาพานิช/ ที่มา: Facebook, SrirajaPanich

“แม้ซอสถั่วเหลืองจะเป็นตัวทำรายได้หลักของเทพรส ซอสศรีราชาพานิชก็เป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แม้จะทำรายได้คิดเป็นเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ของสินค้าทั้งหมดก็ตาม”

“มันเป็นรสชาติที่คนในท้องถิ่นคุ้นเคย” คุณบัญชา กล่าว

เมื่อซอสศรีราชาของบริษัท Huy Fong Foods ที่ครองตลาดอเมริกันขยายในภูมิภาคเอเชีย และซอสศรีราชาพานิชของบริษัทไทยเทพรสเริ่มบุกตลาดอเมริกา แน่นอนว่าทั้งสองจะต้องเผชิญกับรสนิยมที่ต่างกันของผู้บริโภค ซอสพริกศรีราชาของบริษัท Huy Fong Foods ใช้พริก Jalapenos แดงสดจากสหรัฐ ส่วนของบริษัทไทยเทพรสใช้พริกป่นที่มาจากทางภาคเหนือและกลางของประเทศไทย

ศึกครองตลาดซอสเผ็ดครั้งนี้ไม่ได้มีเพียงศรีราชาพานิช

สมัยที่นาย Tran เริ่มก่อบริษัทใหม่ๆ เขาวิ่งวุ่นกับการหาพริกสดอยู่ตลอด ซึ่งการทำซอสให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดก็ยากพออยู่แล้ว สุดท้ายก็พบ 'Underwood Ranches' ซัพพลายเออร์ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย มาเป็นผู้จัดหาพริกของ Huy Fong ได้ในที่สุด

แต่หลังจาก Underwood ทำการส่งพริกให้ Huy Fong เป็นเพียงเจ้าเดียวมาตลอด 28 ปี ความสัมพันธ์ของทั้งสองบริษัทก็ยุติลง เนื่องจากทาง Underwoord ได้ดำเนินผลิตซอสศรีราชาของตัวเอง

“มันเป็นเรื่องง่ายมากที่จะทำซอสถ้าคุณมีพริกสดอยู่ในมือ” Tran กล่าว ซึ่งในขณะนี้เขามีซัพพลายเออร์ของอเมริกาอยู่ในมือถึง 3 เจ้า

นาย Tran ได้รับข้อเสนอมากมาย อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ได้รับมันมาพิจารณา เนื่องจากเขาวางแผนส่งต่อกิจการนี้ให้ทายาทได้ดูแลต่อ

รสชาติซอสศรีราชาพานิชจะถูกปากคนอเมริกันหรือไม่นั้นต้องคอยดูกันต่อไป นาย Tran เองก็ได้บอกกับสำนักข่าวว่าเขายังไม่เคยลองชิมมาก่อน

ด้านพ่อครัวชาวไทยที่ทำงานร้านอาหารในรัฐอิลลินอยส์กลับบอกว่าชอบรสสไตล์ไทยมากกว่า “ผมชอบซอสศรีราชาของไทยมากกว่า อาจจะเป็นเพราะว่าผมเคยชินกับรสชาตินี้ แต่ผมคิดว่าคนอเมริกันน่าจะชอบซอสของ Huy Fong เพราะมันคือรสชาติที่พวกเขาคุ้นเคย”

แบรนด์ซอสเผ็ดร้อนเจ้าใหญ่อย่าง Tabasco, Frank’s Red Hot และ Heinz ต่างก็ผลิตซอสศรีราชาของตัวเอง ซึ่งนาย Tran ก็ไม่หวั่น เนื่องจากความต้องการซอสเผ็ดของชาวอเมริกันนั้นมีมากจนฉุดไม่อยู่อยู่แล้ว

“ผมไม่เคยกังวลเลยว่าพวกเขาจะขายได้ดีกว่าหรือน้อยกว่า เพราะเรามัวแต่ยุ่งอยู่กับการผลิตซอสอยู่แล้ว แน่นอนว่าเราเจ้าเดียวอาจไม่สามารถผลิตซอสให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดได้ ดังนั้นให้พวกเขาผลิตซอสให้ทันความต้องการของลูกค้าไปเถอะครับ" Tran กล่าว

 

อ้างอิงเนื้อหาข่าวจาก: Bloomberg: The Great Sriracha Battle Is Coming to America

ภาพหน้าปกจาก Lance Leong/Flickr

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...