ธนาธร กับ 'Hyperloop' และ 'โอกาส' หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางของไทย | Techsauce

ธนาธร กับ 'Hyperloop' และ 'โอกาส' หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางของไทย

Blognone Tomorrow 2019 งานสัมนาด้านเทคโนโลยีเชิงธุรกิจที่จัดโดย Blognone สื่อสาย IT ออนไลน์ชั้นนำของไทย ซึ่งในปีนี้กลับมาภายใต้หัวข้อ Human & Machine ซึ่งเป็นหัวข้อที่สะท้อนให้เห็นถึงภาพการเปลี่ยนผ่านและการทำงานร่วมกันระหว่างคนและเทคโนโลยีที่มากขึ้น เนื้อหาจึงเจาะลึก 3 แกนหลัก ได้แก่ AI, IoT และ Cloud Computing

หนึ่งในไฮไลท์สำคัญของงานครั้งนี้คือ session ของคุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ จากพรรคอนาคตใหม่ ที่วันนี้ไม่ได้มาพูดเรื่องการเมืองหรือการแก้รัฐธรรมนูญ แต่มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยี Hyperloop ภายใต้หัวข้อ ‘Hyperloop and Path Skipping Development Strategy’ ถึงสาเหตุว่า 'ทำไม' ตัวเขาถึงสนใจใน Hyperloop และ ทำอย่างไรประเทศไทยถึงจะหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง

Path Skipping Development Strategy

คุณธนาธรเริ่มต้นด้วย การกล่าวถึงข้อมูลในปี 1960 มีประเทศที่ถูกจัดให้เป็นประเทศรายได้ปานกลางอยู่ 101 ประเทศ หลังจากนั้นผ่านมาถึงปี 2008 กลับมีประเทศที่หลุดพ้นออกจากกับดักนี้เพียงแค่ 13 ประเทศเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่อยู่ในทวีปยุโรป รวมถึงประเทศในเอเชีย เช่น สิงคโปร์ เกาหลี ฮ่องกง ญี่ปุ่น และไต้หวัน โดยหลายประเทศใช้เวลาค่อนข้างน้อยในการหลุดออกจากการเป็นประเทศรายได้ปานกลาง

ซึ่งล้วนแล้วแต่ใช้ทฤษฎีบางอย่างทำให้ตัวเองหลุดพ้นอย่างรวดเร็ว นั่นก็คือ 'Path Skipping Development Strategy' หรือ ทฤษฏีการข้ามเส้นทางการพัฒนา จากปกติที่หากจะพัฒนาประเทศมักจะเริ่มจากการอุตสาหกรรมผลิตเหล็ก แล้วต่อด้วยผลิตเสื้อผ้า และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นขั้นตอนไป แต่ไอเดียนี้คือการข้ามขั้น ไปสู่สิ่งที่ยังไม่มีคนทำสำเร็จมาก่อน ให้ประเทศไทยกลายเป็น 'Hub' และเป็นผู้ผลิตก่อนคนอื่น ไม่อย่างนั้นก็คงจะหนีไม่พ้นการนำเข้าเทคโนโลยีเช่นเดิม และไม่สามารถหลุดพ้นจากการกับดักรายได้ปานกลาง

การปรับตัวในระดับจุลภาค

ยกตัวอย่างบริษัท Thai Summit ที่สามารถทำกำไรได้เพิ่มขึ้นแม้จะลดจำนวนพนักงานลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากการปรับตัวต่อโลกที่เปลี่ยนไปด้วยเทคโนโลยี

คุณธนาธร กล่าวถึงวิธีที่ Thai Summit สามารถสร้างความยั่งยืน และต่อกรกับความเร็วของโลก ด้วยการคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้;

  1. ความเข้าใจในเทรนด์ของเทคโนโลยี และ การคิดค้นนวัตกรรม - Thai Summit เป็นผู้ supply ชิ้นส่วนที่ใช้ผลิตตัวรถยนต์ อย่าง Ford และ Tesla ด้วยวัสดุเบา เพื่อการประหยัดพลังงาน ซึ่งถือเป็น solution ที่ลูกค้ากำลังมองหา
  2. Automation คืออนาคต - ในโรงงานของ Thai Summit มีการนำหุ่นยนต์มาใช้ลดต้นทุนในการจ้างแรงงานที่ไม่เกิด value added รวมถึง การเก็บข้อมูล และการใช้ smart LED เพื่อประหยัดพลังงานและลดระยะเวลา return of investment ให้เหลือเพียง 2.7 ปี
  3. การลงทุนในวิศวกรรมและคน - คือการให้ความสำคัญกับการศึกษาพัฒนา และการทดสอบ

"โรงงานอุตสาหกรรมที่ยังไม่ได้พัฒนาและเข้าไม่ถึงเทคโนโลยียังมีอีกเป็นจำนวนมาก และยังเป็นช่องว่างทางธุรกิจอย่างมหาศาล ดังนั้นถ้าใครเป็น Solution Provider ได้ ผมเชื่อว่าโอกาสทางธุรกิจยังมีอีกมหาศาล" คุณธนาธรกล่าว

เป็นผู้นำย่อมดีกว่าเป็นผู้ตาม

ต่อคำถามที่ว่า ทำไมถึงมองข้ามช็อต ข้ามรถไฟความเร็วสูงไป คุณธนาธรกล่าวว่า ถ้าจะลงทุนในรถไฟความเร็วสูงจากจีนหรือญี่ปุ่น ก็เหมือนการเอาเงินไปจ้างคนต่างชาติในการทำงาน แต่ถ้าหากนำเงินจำนวนเดียวกันนั้น มาปรับรถไฟที่มีปัจจุบันให้เป็นรางคู่ และขณะเดียวกันก็ผลิตตัวรถไฟเอง รวมถึงลงทุนใน R&D ของ Hyperloop จะสามารถตอบโจทย์ให้คนในชาติได้มากกว่า ซึ่งเขาเชื่อว่า Hyperloop หรือการเดินทางผ่านท่อความดันอากาศต่ำ ด้วยความเร็ว 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คือการเดินทางรูปแบบที่ 5 ในอนาคตอันใกล้ และจะประหยัดพลังงานกว่ายานพาหนะรูปแบบอื่น

"สิ่งสำคัญคือกล้าคิดที่จะลงทุนใน R&D หรือเปล่า? ขณะนี้เมื่อเทคโนโลยีมันยังไม่สมบูรณ์ มันก็จะเปิดโอกาสให้มีผู้เล่นใหม่ๆ สอดแทรกขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา ถ้าเรามัวแต่รอให้มันสมบูรณ์เต็มร้อยแล้ว ท้ายที่สุดเราก็หนีไม่พ้นการนำเข้าเทคโนโลยี เหมือนกับที่ผ่านมา เหมือนรถไฟฟ้า และ social media"

คุณธนาธรมองว่า ในการเริ่มต้นลงทุนใน R&D และให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพื่อที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา และเพื่อก่อสร้างอุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Hyperloop ได้ และแม้ในท้ายที่สุดจะไม่เกิดขึ้นจริง ก็จะไม่สูญเปล่า เพราะความรู้ที่ได้อย่างไรก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีอื่นได้ด้วย

คาดผลประโยชน์จากโครงการ Hyperloop ต่อประเทศไทย

  • ประมาณการณ์ผลประโยชน์เชิงเศรษฐศาสตร์ อยู่ที่ 971,495 ล้านบาท
  • ประมาณการณ์ผลประโยชน์ต่อ GDP ประเทศไทย เพิ่ม 713,685 ล้านบาท
  • การจ้างงานเพิ่ม 183,780 ตำแหน่งงาน
  • ประเทศไทยจะมีศักยภาพในการเป็น Transportation Hub ของ Inland AEC โดยวางเมืองพิษณุโลกเป็นตำแหน่งยุทธศาสตร์

การเข้ามาของคลื่นเทคโนโลยีทั้ง Infotech และ Biotech จะเปลี่ยนโฉมหน้าของโลกไปอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นประเทศจึงต้องสร้าง Ecosystem เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้ให้ได้

  1. คนต้องกล้าเสี่ยง โดยจำเป็นตัองมีการให้สวัสดิการที่ดีมากขึ้น เพื่อที่คนจะได้กล้าลงทุนและมีความมั่นใจว่าถ้าหากลงทุนพลาดก็จะยังมีที่ยืน ซึ่งหากระบบแบบนี้เกิดขึ้นจริงก็จะทำให้คนกล้าเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  2. โอกาสต้องเปิด ถ้าไม่เปิดรับสิ่งใหม่ๆ หรือไม่ยอมรับความหลากหลาย หรือการแข่งขัน โอกาสใหม่ๆ จะไม่เกิดขึ้น
  3. รัฐต้องพร้อมปรับตัว รัฐที่ไม่เปิดรับหรือไม่เข้าใจความเปลี่ยนแปลง จะเป็นต้นทุนมหาศาลของประเทศที่ต้องแข่งขันกับโลกที่หมุนเร็ว

อย่างไรก็ตาม คุณธนาธรได้กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า ประเทศไทยยังมีความหวัง เนื่องจากล่าสุดมีคนรุ่นใหม่และนักศึกษาไทยที่เริ่มพัฒนา POD จำลอง เพื่อไปแข่งที่งาน SpaceX Hyperloop POD Competition ของ Elon Musk ในปีนี้ ดังนั้นจึงเชื่อว่าต่อจากนี้จะมีการศึกษาและพัฒนาในอีกหลายๆ ด้าน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image
Responsive image

9 ทักษะดิจิทัล ปี 2024 สร้างมูลค่าให้บริษัทด้วย Tech Skills แห่งอนาคต

ทักษะดิจิทัล หรือทักษะด้านเทคโนโลยี (Tech Skills) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด...

Responsive image

AI ล้ำหน้าหรือภัยอนาคต? แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ล่าหรือเหยื่อ | Tech for Biz EP.17

ในยุคที่ AI เติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีการคาดการณ์ว่ากว่า 300 ล้านตำแหน่งจะหายไป คำถามคือ คุณจะยืนอยู่ฝ่ายไหนระหว่างเหยื่อที่ถูกแทนที่ หรือนักล่าที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ? แล้วต้องปรับต...