เรียนรู้ 5 รูปแบบที่มาผู้ประกอบการด้าน FinTech แล้วคุณล่ะ เป็นแบบไหน? | Techsauce

เรียนรู้ 5 รูปแบบที่มาผู้ประกอบการด้าน FinTech แล้วคุณล่ะ เป็นแบบไหน?

Markus Gnirck หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้าน FinTech และเคยมาร่วมเป็นวิทยากรพิเศษในงาน Techsauce Summit ปี 2016 ที่ผ่านมา ได้แชร์บทความเกี่ยวกับเส้นทางของผู้ประกอบการ FinTech ในเอเชียไว้ใน Forbes ไว้อย่างน่าสนใจ มีหลายคนสงสัยว่าผู้ประกอบการด้าน FinTech ซึ่งเป็นภาคธุรกิจที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเฉพาะทางมากที่สุดภาคธุรกิจหนึ่ง ก่อนหน้านี้นั้นมีพื้นฐานอะไรกันมา และเส้นทางการทำงานของพวกเขาเป็นอย่างไร ในบทความนี้สรุปไว้ได้อย่างน่าสนใจ ไปติดตามกัน

office-612532_960_720 ภาพจาก pixabay.com

คนรุ่นใหม่ไฟแรงที่พึ่งเรียนจบ

คนกลุ่มนี้เป็นคนรุ่นใหม่พึ่งเรียนจบออกมาไม่ว่าจะระดับปริญญาตรี หรือจบ MBA และเจอปัญหาในด้าน Finance เลยต้องการนำทักษะที่มี เพื่อมาแก้ปัญหาเฉพาะทางนั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เกิดในฟากของผู้บริโภค คนกลุ่มนี้มุ่งไปที่การทำให้บริการง่ายและสะดวกสบายมากขึ้น โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเป็นด้าน Machine Learning, Blockchain หรือปรับปรุงเรื่อง User Interface เพื่อประสบการณ์ใช้งานที่ดีขึ้น

  • จุดเด่น -  ความคล่องแคล่วฉับไว และเน้นไปที่มุมมองจากลูกค้าเป็นหลัก
  • ความท้าทาย - ความรู้และประสบการณ์ตรงด้านนี้ยังมีไม่มาก และต้องมาเกี่ยวข้องกับกฎเกณฑ์ต่างๆ ของภาครัฐฯ รวมถึงการทำงานร่วมกันกับธนาคารที่มีวัฒนธรรมองค์กรแตกต่างกัน ซึ่งส่วนนี้โปรแกรมอย่าง Incubator, Accelerator และ Innovation Labs สามารถเข้ามาช่วยได้

โดยในแถบเอเชียจะเจอกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Payment และ Lending ค่อนข้างเยอะ โดยนำโมเดลต่างประเทศมาประยุกต์ใช้กับในประเทศตนเอง ซึ่งคนกลุ่มนี้มีไฟและแรงผลักดันในตัวเองสูง แน่นอนว่าธุรกิจ Startup ไม่ได้สวยหรูและล้มเหลวกันมาก แต่ถ้าใครก้าวข้ามผ่านไปได้ก็มีโอกาสเปลี่ยนโฉมวงการนี้เหมือนกัน

 คนสายธนาคาร

ไม่ว่าจะเรื่องราวของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ หรือเรื่องวัฒนธรรมองค์กรขนาดใหญ่ที่อยู่มานานแล้วก็ตามจนสร้างแรงบันดาลใจให้คนที่เชี่ยวชาญด้านนี้อยากลุกออกมาทำอะไรของตัวเอง โดยเฉลี่ยคนเหล่านี้ทำงานอยู่ในธนาคารมากว่า 10 ปี และมีอายุเฉลี่ยประมาณ 35 ปี ซึ่งรู้สึกว่าถึงเวลาที่อาจต้องเปลี่ยนสายงาน

  • จุดเด่น - คนกลุ่มนี้มีประสบการณ์และความรู้ด้านนี้มาก่อนโดยตรง จะนำความรู้และความเข้าใจในกระบวนการ รวมถึงเครือข่ายและความสัมพันธ์จากงานเดิมมาใช้ในการต่อยอดได้ หลายคนเริ่มต้นจากการเป็น Startup Mentor, Advisor, Angel Investor
  • ความท้าทาย - การก้าวออกมาจุดสำคัญคือ balance ชีวิต และความมั่นคงหลายๆ อย่างจะเปลี่ยนไป คนในช่วงนี้จะเริ่มมีภาระทางครอบครัว ดังนั้นการเสี่ยงที่ต้องออกมาทำบริษัทใหม่นั้น คงต้องคิดว่าคุ้มหรือไม่ แต่ก็มีโอกาสเป็นไปได้ถ้าได้ CTO และทีมบริหารที่สามารถขับเคลื่อนในวัฒนธรรมแบบ Lean ได้

มีความคาดหวังจำนวนมากจากประเทศที่เป็นศูนย์กลางด้านนี้ ทั้งลอนดอน สิงคโปร์ นิวยอร์ค ว่าคนกลุ่มนี้จะเป็นผู้มาเปลี่ยนแปลงวงการ Financial Service แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องได้รับการสนับสนุนทางด้านเงินทุนและสร้างแพลตฟอร์มที่ใช่ ไม่งั้นโอกาสเกิดก็มีไม่มากเช่นกัน โดยลักษณะของคนกลุ่มนี้เห็นได้มากที่ สิงคโปร์ ฮ่องกง มุมไบ โตเกียว เซี่ยงไฮ้ และ ซิดนี่ ทั้งคนในท้องที่เองและ Expat มีทั้ง FinTech สาย B2B และ B2C

กลุ่มไอทียุคเดิม

FinTech ไม่ใช่เรื่องใหม่ เทคโนโลยีได้ถูกนำมาใช้ในโลกของสาย Finance และสายประกันมานานแล้ว บริษัทเทคโนโลยีทั้งเล็กและใหญ่ต่างก็พัฒนา Product  ให้กับลูกค้ากลุ่มนี้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา  ตั้งแต่ยังเป็นระบบแบบ Legacy System บางรายมุ่งไปที่กลุ่มลูกค้าตลาดเฉพาะทาง (Niche segment) และกลายเป็นผู้นำตลาดไป ด้วยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป หลายๆ ระบบปรับโมเดลใหม่ เปิด API ในการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ บริษัทเวนเดอร์รายใหญ่ก็เข้าสู่คลื่นกระแสของ FinTech ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ทั้ง IBM, Microsoft ที่เข้ามาจับเรื่อง Blockchain บริษัทเวนเดอร์ขนาดเล็กรองลงมาก็ค้นหาเงินทุนเพื่อที่จะสร้างระบบใหม่

  • จุดเด่นของกลุ่มนี้คือมีสายสัมพันธ์ด้านธุรกิจเดิมที่แข็งแรงอยู่แล้ว มี Cashflow และทีมงานที่สร้าง Product ได้
  • สิ่งที่ท้าทายคือ Product เหล่านั้นจะสามารถสร้างให้เกิดนวัตกรรมได้อย่างไร และ mindset ของการจัดการภายในองค์กรพร้อมหรือยังกับสิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะตลาดเอเชียเป็นตลาดที่มีความแตกต่างมาก แต่ละประเทศก็มีคุณลักษณะที่ไม่เหมือนกัน ทุกๆ ประเทศจะมีผู้เล่นท้องถิ่นที่พัฒนาโซลูชั่นด้าน Finance อยู่ แต่ก็จะเจอความท้าทายในการขยายธุรกิจออกไปยังประเทศอื่นๆ ที่มีกฏระเบียบและความต้องการของตลาดแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกัน

กลุ่มแอบต่อต้านการเติบโตแบบ Startup อยู่เงียบๆ

คนกลุ่มนี้ไม่ค่อยปรากฏตัว แต่สร้างบริษัทเทคโนโลยีดีๆ ออกมา พวกเขาเรียกตัวเองว่าเป็น techfin entrepreneurs เน้นไปที่เทคโนโลยีด้านภาคธุรกิจ Finance และอาจพัฒนา Product ให้กับสายธุรกิจอื่นๆ เช่น Logistic และ Healthcare คนพวกนี้จะไม่ได้ปรากฏตัวอยู่ในคอมมูนิตี้ Startup  คนเหล่านี้เริ่มต้นธุรกิจจากการที่มีโอกาสได้รับงานจากบริษัทที่ตัวเองเคยเป็นพนักงานมาก่อนแล้วออกมาทำเอง หรือรับงานวิจัยจากองค์กรใหญ่หรือมหาวิทยาลัย เรื่องราวบริษัทเหล่านี้อาจไม่ได้ดูน่าตื่นเต้นเหมือนในวงการ Startup แต่อาจเป็นบริษัทที่น่ากลัวสำหรับบริษัทเทคโนโลยีเวนเดอร์รายใหญ่ที่ไม่สามารถสร้าง Product ที่ตอบโจทย์ตลาด Niche ได้

  • จุดเด่น - มีกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย และมี Product ที่มีเทคโนโลยีที่แข็ง ลอกเลียนได้ยาก

คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ต้องมีประสบการณ์ด้านธุรกิจ Finance ระดับภูมิภาคพอสมควร ส่วนใหญ่จะอยู่ที่สิงคโปร์ และฮ่องกง และมีเมืองอื่นๆ บ้างเช่น จาร์กาตา กัวลาลัมเปอร์ ซึ่งมักมาจากคนที่เป็นคนเก่งในองค์กรใหญ่แล้วออกมาทำเอง

กลุ่ม Serial Entrepreneur

คนกลุ่มนี้เป็นคนที่หลายคนให้ความสนใจเพราะเคยพิสูจน์มาก่อนหน้าแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการระดมทุนจำนวนมากได้ การสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธนาคาร มีความเข้าใจในตลาด และมีคนเก่งทำงานด้วยรอบตัว คนกลุ่มนี้อาจเกิดจากการผสมผสานกันของคน 4 กลุ่มข้างต้นมาก่อน ตัวอย่างเด่นๆ เช่น Patrick Collison จาก Stripe, Ricky Knox จาก Tandem, Shankar Narayanan จาก Active.ai และ Samir Bhatia จาก SMECorner คนกลุ่มนี้มีโอกาสสูงในการผลักดันให้ธุรกิจเติบโตและเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุน อย่างไรก็ตามพวกเขาเหล่านี้ก็ยังต้องผ่านด่านของกฏระเบียบของธุรกิจสาย Finance ในแต่ละประเทศ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์

หลังจากอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ถ้าคุณเป็นผู้ประกอบการด้าน FinTech ลองดูว่าตัวเองอยู่กลุ่มไหน บทความนี้ไม่ได้จะชี้นำว่าคุณจะสำเร็จหรือล้มเหลว แต่อยากให้เรียนรู้จากข้อมูลของแต่ละกลุ่มที่เห็นมาทั่วเอเชีย เพื่อลดความผิดพลาดให้น้อยลงนั่นเอง

ที่มา Forbes

 

เตรียมพบกับ Markus Gnirck ได้อีกครั้ง ในฐานะ Speaker งาน Techsauce Global Summit 2017  ถ้ายังไม่มีบัตร รีบจับจองกันก่อนราคาจะปรับขึ้นนะ ดูรายละเอียดเรื่องตั๋วที่ eventpop.me/e/1369-techsauce

LOGO_linear trans orange small

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ถกยุทธศาสตร์ AI ไทย หนทางดึงไทยกลับเวทีโลก ควรเริ่มอย่างไร ?

ค้นพบโอกาสและความท้าทายของ AI ที่จะพลิกโฉมเศรษฐกิจและสังคมไทย พร้อมกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาประเทศให้ก้าวทันโลกในยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน!...

Responsive image

รัฐบาลเวียดนามขยับ SME ได้เวลาทวงคืนตลาดแฟชั่นจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจีนอย่าง Shein และ TEMU

รัฐบาลเวียดนามเตรียม "บล็อก" แอปพลิเคชันและโดเมนช้อปปิ้งออนไลน์ของจีนอย่าง Shein และ Temu ถ้าไม่จดทะเบียนอย่างถูกต้องก่อนสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ นี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการทวงคืน “อุ...

Responsive image

AI ไม่ได้แทนที่คุณ แต่จะช่วยให้คุณ 'ดีกว่าเดิม'

สำรวจแนวคิด "จิตวิทยาไซบอร์ก" ในการออกแบบระบบมนุษย์-AI เพื่อความรุ่งเรืองของมนุษย์ พร้อมบทบาทของ AI ในการพัฒนาไทยให้เป็น “AI Land” จากมุมมอง ดร.พัทน์ ภัทรนุธาพร ในงาน THE STANDARD ...