SMEs จะทำธุรกิจแบบเดียวกับ Startup ได้หรือไม่ เปรียบเทียบความต่างในแต่ละประเด็น | Techsauce

SMEs จะทำธุรกิจแบบเดียวกับ Startup ได้หรือไม่ เปรียบเทียบความต่างในแต่ละประเด็น

ในระยะหลังมานี้ความสนใจในการเริ่มต้นทำธุรกิจของคนรุ่นใหม่ได้กลับมาเป็นที่นิยมและพูดถึงกันค่อนข้างมากอีกครั้ง โดยเฉพาะ Startup ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่า สำหรับคนที่ทำธุรกิจแบบเดิมอย่าง SMEs อยู่แล้วจะสามารถใช้วิธีการทำงานแบบเดียวกับ Startup และสามารถเร่งการเติบโตแบบก้าวกระโดดด้วยเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนได้หรือไม่ ในบทความนี้เราจะพาย้อนกลับไปทบทวนความแตกต่างของธุรกิจ 2 ประเภทนี้อีกครั้ง 

มาเริ่มทบทวนกันที่พื้นฐาน SMEs และ Startup คืออะไร

SMEs:

SMEs หรือ Small and Medium Enterprises ที่แปลว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่มีจำนวนมากในประเทศไทย โดย SMEs จะเป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการ มีทั้งการค้าปลีก-ค้าส่ง หรือธุรกิจประเภทอื่นๆ เช่น ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจการโรงแรม รวมไปถึงธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ ธุรกิจแบบ SMEs ก็ยังเป็นตัวช่วยที่ดีในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม เพราะทำให้มีการเพิ่มขึ้นของอัตรการจ้างงาน ซึ่งต้องบอกว่าในประเทศไทยนั้นการจ้างงานของ SMEs ถือเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจไทยอีกด้วย 

Startup:

Startup คือธุรกิจที่สร้างขึ้นพร้อมแนวคิดในการแก้ปัญหาที่มีอยู่ และยังเป็นโมเดลธุรกิจที่เน้น "การเติบโตได้อย่างรวดเร็ว" ผลผลิตจากธุรกิจ Startup มักจะเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เข้ามาทำให้มนุษย์ใช้ชีวิตได้อย่างง่ายดายขึ้น โดยมักจะเห็นว่า Startup จะเป็นธุรกิจที่ให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ต จึงทำให้ธุรกิจประเภทนี้เติบโตได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้นนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้มีธุรกิจประเภทนี้เกิดขึ้นมามากมาย 

ตัวอย่าง  Startup ไทย ที่คนไทยควรสนับสนุน

เห็นภาพ Startup กันชัดๆ ยกตัวอย่าง Unicorn ที่คุ้นเคยบริการ 

ตัวอย่าง Startup ที่น่าสนใจ เช่น Airbnb ธุรกิจ Startup ระดับ Unicorn สัญชาติอเมริกันที่สร้างแพลตฟอร์มสำหรับที่พัก โดยมีสมาชิกเข้ามาปล่อยเช่าที่พักบน Airbnb กว่า 4 ล้านรายทั่วโลก และยังมีจำนวนที่พักอาศัยกว่า 7.4 ล้านแห่ง นอกจากนี้ Airbnb ยังถือเป็นหนึ่งใน IPO ที่ใหญ่ที่สุดในโลกของปี 2020 อีกด้วย

ธุรกิจ Startup ระดับ Unicorn อีกตัวที่น่าสนใจ และกำลังมาแรงในปีนี้เช่นกัน นั่นคือ Grab ธุรกิจบริการด้านการขนส่ง และการเดินทาง จากสิงคโปร์ ที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี ที่ให้บริการทั้งรถยนต์ส่วนตัว คนขับรถ แท็กซี่ บริการส่งอาหารและเอกสาร ตอนนี้ Grab มีให้บริการแล้วทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แถมล่าสุดมีข่าวว่ากำลังจะควบรวมกับ Unicorn ที่ดำเนินธุรกิจเดียวกันอีกราย คือ Gojek เพื่อ IPO อีกด้วย 

รู้จักทั้ง 2 ธุรกิจไปแล้ว คราวนี้มาเปรียบเทียบ SMEs และ Startup ในแต่ละประเด็นกันบ้าง

Scale

  • SMEs: จะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดกลาง มีการเติบโตทางธุรกิจแบบคงที่ ซึ่งบางธุรกิจอาจจะต้องใช้เวลาหลายปีจึงจะประสบความสำเร็จ

  • Startup: ธุรกิจประเภทนี้จะเริ่มจากขนาดเล็ก และพัฒนาใหญ่ขึ้นแบบก้าวกระโดดในระยะเวลาอันสั้น สำหรับ Startup ถือว่าการเติบโตของธุรกิจจะไม่มี limit เพราะเป็นธุรกิจที่สามารถปรับตัว และต่อยอดได้เสมอ

Innovations

  • SMEs: รูปแบบของผลิตภัณฑ์หรือบริการของ SMEs จะมีความคล้ายคลึงกันกับสินค้าและบริการอื่นๆ ในตลาด เช่น ร้านอาหาร โรงแรม

  • Startup: ผลผลิตที่ได้จากธุรกิจประเภทนี้จะเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ไม่ซ้ำใคร หรือเป็นการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น แอปพลิเคชั่นรับส่งผู้โดยสาร Uber

Function

  • SMEs: ผลิตภัณฑ์หรือบริการของธุรกิจประเภทนี้จะสิ่งที่มีอยู่แล้ว โดยจะนำเอาเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมมาใช้หรือนำมาปรับปรุงสินค้าและบริการให้ดีขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มเดิม หรือกลุ่มที่รู้จักธุรกิจอยู่แล้วได้รวดเร็วขึ้น

  • Startup: สำหรับประเภทธุรกิจแบบนี้จะนิยมรูปแบบการดำเนินการแบบที่ scalable ซึ่งเป็นโมเดลที่สามารถขยายฐานลูกค้าได้รวดเร็วในวงกว้าง เช่น การขยายฐานลูกค้าไปต่างประเทศ และ repeatable ซึ่งจะเป็นโมเดลธุรกิจที่สามารถทำซ้ำได้ และมีการกลับมาใช้บริการของลูกค้าเรื่อยๆ

Profit

  • SMEs: ผลตอบแทนของธุรกิจประเภทนี้จะต้องเป็นผลกำไรเพียงอย่างเดียว จึงจะทำให้ธุรกิจเติบโตไปได้ หากวางแผนทางด้านการเงินไม่ดีจะทำให้ธุรกิจจะขาดทุน และถือว่าสินทรัพย์จากการทำธุรกิจประเภทนี้เป็นสินทรัพย์ที่จับต้องได้

  • Startup: ธุรกิจประเภทนี้จะมีผลตอบแทนคือ การเติบโตของบริษัท และผลผลิตที่ปล่อยออกไปมีประโยชน์กับสังคม ตัวเงินไม่ถือเป็นผลตอบแทนที่สำคัญ แต่ก็จำเป็นเช่นกันสำหรับการลงทุนในขั้นต่อๆ ไป และสินทรัพย์ที่ได้จะเป็นสินทรัพย์ทางปัญญา

Funding

  • SMEs: เงินลงทุนจะมาจากเจ้าของกิจการหรือการกู้ยืมจากธนาคาร โดยการบริหารการเงินทั้งหมดจะจัดการโดยเจ้าของกิจการเอง 

  • Startup: เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้ Startup จะต้องทำการระดมทุนกับนักลงทุนที่สนใจ โดยทางนักลงทุนจะเป็นผู้ลงทุนให้ก่อนเพื่อรับผลประโยชน์ในอนาคต ตัวอย่างนักลงทุนที่จะมาลงทุนกับ Startup เช่น VC (Venture Capitalist), CVC (Corporate Venture Capital) หรือจะเป็น Angel Investor

บทสรุป

ถึงแม้ว่าทั้งธุรกิจ SMEs และ Startup จะเริ่มต้นด้วยการมี “ไอเดีย” เหมือนกัน แต่การดำเนินการในหลายๆ ขั้นตอน และวิธีการบริหารธุรกิจเพื่อจะทำให้ธุรกิจเติบโตกลับมีความแตกต่างกันมาก จึงเป็นข้อสรุปที่ว่าธุรกิจ SMEs แตกต่างจากธุรกิจ Startup โดยมีข้อจำกัด และข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันไปนั่นเอง 

สำหรับผู้ที่สนใจอยากเรียนรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจ Startup สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดครบถ้วนทุกประเด็นได้ที่ Startup guide จัดทำโดยทีมงาน Techsauce 


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Physical AI เอไอยุคใหม่ที่ Jensen Huang กล่าวถึงคืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน CES 2025 คือการที่ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ได้มีการพูดถึงยุคต่อไปของ AI นั่นก็คือ ‘Physical AI’ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญยิ่งที่ AI กำลังจะเข...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...

Responsive image

เปิดตัว ‘รถบินแยกร่าง’ XPeng ผสมเครื่องบินกับรถตู้ รุ่น Land Aircraft Carrier ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท

XPeng Aero HT เปิดตัว Land Aircraft Carrier รถบินได้แบบแยกร่างสุดล้ำที่ CES 2025 พร้อม eVTOL พับเก็บได้ ใช้งานง่าย ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท วางแผนผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2026...