Deep Tech มีความเกี่ยวข้องกับแนวทางใหม่ที่จะเข้าถึงนวัตกรรม และจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิด ‘คลื่นนวัตกรรมลูกใหม่’ ในขณะที่ชื่อของ Deep Tech ถูกกล่าวถึงมากขึ้น มันก็มีการพัฒนารูปแบบที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้นไปด้วย
ในบทความนี้ จะเป็นการสรุปภาพรวมของ Deep Tech จากงานสัมนาของ Hello Tomorrow Asia Pacific ในหัวข้อ The Deep Tech Difference: Best Practices for Building Successful Deep Tech Ventures ซึ่งได้กล่าวถึงวิวัฒนาการของนวัตกรรม จนมาเป็นคลื่นลูกใหม่ ที่เรียกว่าคลื่น DeepTech แนวทางในการพัฒนานวัตกรรมจาก DeepTech พร้อมกับแนะคุณลักษณะสำคัญที่จะต้องมีหาก DeepTech ต้องการที่จะประสบความสำเร็จ ในขณะเดียวกันก็สามารถขับเคลื่อนระบบนิเวศของ DeepTech ไปได้ เพราะ Deep Tech จะเป็นสิ่งใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกได้มากกว่าอินเทอร์เน็ต
Deep Tech เปรียบได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ คลื่นนวัตกรรมลูกต่อไป หรือ คลื่นลูกที่ 4 (The 4th Wave of Innovation) ซึ่งจะส่งผลให้อุปสรรคต่าง ๆ ในการสร้างนวัตกรรมลดลง ซึ่งที่ผ่านมา คลื่นแต่ละลูกได้มีการพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมที่แตกต่างกันไป ดังนี้
คลื่นลูกที่ 1 ประกอบไปด้วยนวัตกรรมจากช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
คลื่นลูกที่ 2 เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งสงครามนั้นได้ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมขึ้นมามากมาย โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการวิจัยและทดลองภายในห้องแลปขององค์กรใหญ่ ๆ อย่าง IBM และ Xerox
คลื่นลูกที่ 3 เกิดขึ้นหลังจากการวิจัยและทดลองในห้องแลปขององค์กรใหญ่เริ่มลดลง และเกิดเป็นองค์กรเล็ก ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุน VC ซึ่งต่อมาได้เรียกว่าเป็น Silicon Valley Model ที่นวัตกรรมจะเน้นไปที่ IT ระบบดิจิทัล และเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) และคลื่นลูกนี้เองที่ทำให้คนได้รู้จักกับองค์กรอย่าง Apple, Microsoft, Google และ Facebook
จากคลื่นทั้ง 3 ลูก ทำให้ตอนนี้เราจะได้เริ่มต้นเข้าสู่ยุคของคลื่นลูกที่ 4 ซึ่งคลื่นลูกนี้ จะเป็นคลื่นลูกที่แตกต่าง นวัตกรรมต่าง ๆ จะเกิดจากการรวมกันของโลกดิจิทัล (ในที่นี้ผู้เขียนเรียกว่า Bits) และโลกจริง (ผู้เขียนเรียกว่า Atoms) และนวัตกรรมเหล่านี้จะเกิดขึ้นจากหลากหลายแนวทาง
Deep Tech ไม่ได้เกี่ยวข้องแค่เพียงเทคโนโลยี แต่ Deep Tech คือ แนวทางใหม่ที่จะทำให้เกิดนวัตกรรม
Deep Tech คือ การผสานระหว่างแนวทาง รวมทั้งเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมผ่าน วงจรการออกแบบ-สร้าง-ทดสอบ-เรียนรู้ (Design-Build-Test-Learn Cycle: DBTL) ที่จะทำให้การพัฒนานวัตกรรมเป็นไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
DeepTech กับการผสานแนวทางต่าง ๆ จนเกิดเป็นนวัตกรรม: จะเป็นการสร้างนวัตกรรมที่รวมเอาทักษะและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Science) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และการออกแบบ (Design) มาใช้ตั้งแต่เริ่มต้นขั้นตอนแรก ตั้งแต่การมองหาปัญหาที่เกิดขึ้น ไปจนถึงการหาคอนเซ็ปต์วิธีการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้
DeepTech กับการผสานเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการสร้างนวัตกรรม: เมื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ มาผสาน และทำงานร่วมกัน ช่องวางด้านด้านนวัตกรรมก็จะลดลง ปัญหาที่ไม่สามารถในอดีต ก็มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ และยังเพิ่มความสามารถในการค้นหาแนวทางใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหา
สำหรับวงจร DBTL คือ ขั้นตอนการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ลดความเสี่ยงลงได้ และช่วยเร่งความเร็วในการพัฒนานวัตกรรมนั้น ๆ ได้ ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยเร่งให้สามารถเจอโซลูชันที่เหมาะสมกับปัญหาที่เจอได้
และเพื่อจะทำให้มีการรับเอาแนวทางการสร้าง DeepTech เกิดขึ้น ให้ลองนำเอาคำถาม 4 ข้อต่อไปนี้ ไปเป็นตัวช่วย
ยังมีมุมไหนที่ยังไม่ได้มองอีกบ้างไหม ?
จะสร้างตัวต้นแบบ (Prototype) ได้อย่างรวดเร็วหรือไม่ ?
มันจะทำงานได้จริงไหม ?
แล้วจะทำอย่างไรให้มันเติบโต ขยายออกไปได้ ?
จากคำถาม 4 ข้อนี้ จะช่วยให้เกิด DeepTech ขึ้นได้ หากมีคำตอบของทั้ง 4 ข้อเกิดขึ้นพร้อมกัน ตัวอย่างเช่น หากตอบคำถามได้เพียง 3 ข้อ ขาดแต่ข้อที่ว่า นวัตกรรมตัวนั้นไม่สามารถ Scale หรือเติบโตออกไปได้ คำตอบสำหรับข้ออื่น ๆ ก็สูญเปล่า เพราะหากขาดข้อใดข้อหนึ่งไป ก็จะเท่ากับว่าเสียทั้งเวลา เสียทั้งต้นทุน และเสียทั้งทรัพยากรในหารพัฒนาไปอย่างเปล่าประโยชน์
Deep Tech จะต้องมี 4 คุณลักษณะ ดังนี้:
Deep Tech จะสร้างนวัตกรรมที่อิงจากปัญหาที่เกิด และไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว
Deep Tech จะผสานการทำงานของเทคโนโลยีรูปแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยพบว่า 96% ของ Deep Tech จะใช้เทคโนโลยีอย่างน้อย 2 อย่าง และ 66% จะใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมากกว่า 1 อย่าง
Deep Tech จะสร้างขึ้นมาบนความก้าวหน้าของดิจิทัล โดย DeepTech นี้จะเข้ามาเปลี่ยนนวัตกรรมต่าง ๆ จากที่อยู่ในโลกดิจิทัล ให้เข้ามามีบทบาทในโลกจริงด้วย ซึ่งจะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นทางกายภาพ มากกว่าที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยพบว่า 83% ของ Deep Tech กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์อยู่ด้วย
Deep Tech จะต้องพึ่งพาระบบนิเวศน์ที่เชื่อมต่อถึงกัน (Interconnected Ecosystem) และจะต้องทำให้มันเติบโตต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่ต้องการจะลุยสนาม Deep Tech ควรจะมองสถานการณ์ต่าง ๆ ในมุมกว้างอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็จะต้องโฟกัสไปที่ปัญหาเชิงลึกที่มีอยู่ด้วย
จากความท้าทายดังกล่าว เพื่อช่วยองค์กรไทยในการก้าวข้อข้อจำกัดในการลงทุนและพัฒนา Deep Tech ทาง Techsauce จึงได้มีการร่วมมือกับ Hello Tomorrow เดินหน้ายกระดับประสิทธิภาพองค์กรด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูง หรือ Deep Tech โดยการเชื่อมโยงองค์กรในประเทศไทยกับกลุ่ม Deep Tech Startups ผ่านการร่วมมือทั้งในรูปแบบพันธมิตรและการเข้าลงทุน สนใจติดต่อได้ที่ [email protected]
======================
สรุปประเด็นจากการเสวนาระหว่าง
Massimo Portincaso, Chairman, Hello Tomorrow
Arun Narayanaswamy, Co-founder and Head of Products, SmartHub.ai
Roy Tharakan, Regional Director - Commercial Excellence, Cargill
Somsubhra Gan Choudhuri, Co-Founder & CEO, AI Palette
Ernest Xue, Head, Hello Tomorrow Asia Pacific
ซึ่งจัดขึ้นโดย Hello Tomorrow Asia Pacific และ SGInnovate เป็นพันธมิตรกับ OVHcloud
=======================
ที่มา: Hello Tomorrow APAC
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด