ใครได้อะไร? เมื่อ Grab ควบรวมกิจการ Uber ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | Techsauce

ใครได้อะไร? เมื่อ Grab ควบรวมกิจการ Uber ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ก่อนหน้านี้มีข่าวลือว่า Uber เตรียมขายธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ Grab ล่าสุด Grab ออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการแล้วว่าได้ซื้อกิจการ Uber ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) ภายใต้ข้อตกลงที่ถือว่ามีมูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์การซื้อธุรกิจออนไลน์ในภูมิภาค สรุปมาให้ดูคร่าว ๆ ว่าทั้ง Grab และ Uber ใครได้อะไรไปบ้าง?

Uber ได้อะไร?

  • ได้ถือหุ้นใน Grab 27.5%
  • CEO ของ Uber คือ Dara Khosrowshahi จะได้นั่งเป็นกรรมการบริษัทของ Grab

Grab ได้อะไร?

  • ได้กิจการของ Uber (รวมไปถึงได้กิจการของ UberEats ใน Southeast Asia) ในประเทศแถบ Southeast Asia ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม
  • รายชื่อคนขับ และผู้โดยสารจากแอปพลิเคชัน Uber รวมไปถึงลูกค้าที่สั่งอาหาร ผู้จัดส่ง และพันธมิตรร้านอาหารจากแอพพลิเคชั่น UberEats
  • ได้สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนรายใหญ่อย่าง Softbank ที่ลงทุนใน Didi Chuxing ในจีน, Ola ในอินเดีย, รวมไปถึง Uber และ Grab ด้วย

ข้อมูลอื่น ๆ

ข้อมูลจากแถลงการณ์ยังระบุด้วยว่า แอปพลิชัน Uber จะให้บริการต่อไปอีกเป็นเวลาสองสัปดาห์ (หรือวันที่ 8 เมษายน 2561) เพื่อให้เวลาแก่คนขับ Uber ในการเข้าไปลงทะเบียนสมัครกับแกร็บทางช่องทางออนไลน์ที่ www.grab.com/th/comingtogether

ส่วนแอปพลิเคชั่น UberEats จะให้บริการต่อไปจนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2561 และหลังจากนั้นข้อมูลรายชื่อผู้จัดส่งและพันธมิตรร้านอาหารก็จะถูกถ่ายโอนไปยังแอปพลิเคชั่นของ Grab (GrabFood) ต่อไป

แถลงการณ์จาก Grab ระบุว่า

ภายหลังการควบรวมธุรกิจ แกร็บจะมุ่งพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวสู่การเป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการแบบ O2O (Online to Offline) และผู้ให้บริการรับส่งอาหารชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นอกจากนี้แถลงการณ์จาก Grab ยังระบุด้วยว่าข้อตกลงการซื้อกิจการ Uber ใน Southeast Asia ครั้งนี้ ถือว่ามีมูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์การซื้อธุรกิจออนไลน์ในภูมิภาคนี้ แต่ไม่ได้เปิดเผยมูลค่าการซื้อขายว่ามีจำนวนเท่าใด

ความคิดเห็นกองบรรณาธิการ : Monopoly ข้อกังวลที่หลีกหนีไม่ได้?

แน่นอนผู้บริโภคย่อมต้องเกิดข้อกังวลต่อการควบรวมกิจการของสองยักษ์ใหญ่ด้าน Ride-hailing ที่ก่อนหน้านี้มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด แต่เมื่อเป็นรายเดียว ซึ่งแข่งแกร่งมากขึ้น ผู้บริโภคจะมีทางเลือกหรือไม่

ในมุมของ Techsauce เรามองว่าในหลายประเทศก็มีบริการ Ride-hailing ที่เกิดจาก Startup หรือ Corporate ในประเทศนั้น ๆ อยู่แล้ว ซึ่งโอกาสนี้อาจจะทำให้ผู้เล่นรายเดิมหรือรายใหม่ ทั้งภาครัฐและเอกชน เข้ามาแข่งขันในการให้บริการแท็กซี่ได้มากยิ่งขึ้น

โดยในประเทศไทยปัจจุบัน มีผู้ให้บริการอยู่หลายราย อ่านได้ที่บทความ เปรียบเทียบหมัดมวย บริการ Ride-Hailing ในไทยปี 2018 โดยจะพบว่ายังมีทั้ง LINE TAXI, All Thai Taxi, Smart Taxi, Taxi OK และ Liluna ที่ให้บริการอยู่

จับตากันยาว ๆ ครับ ปีนี้ Ride-hailing ใน Southeast Asia โดยเฉพาะในไทยสนุกแน่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ญี่ปุ่นส่ง AI สุดล้ำ ปฏิวัติวงการแพทย์ แก้วิกฤตขาดแคลนหมอในไทย

ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวล้ำไปไกล แต่ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ยังคงเป็นความท้าทายสำคัญของประเทศไทย ล่าสุด สตาร์ทอัพชั้นนำจากญี่ปุ่นได้นำเทคโนโลยี AI มาช่วยแก้ปัญหานี้ สร้างความ...

Responsive image

Gartner เผย! 10 เทรนด์เทคโนโลยี 2025 ที่ผู้นำต้องปรับตัวรับตามให้ทัน

โลกเทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว องค์กรธุรกิจและผู้นำด้านไอทีจึงต้องปรับตัวให้ทัน Gartner บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก ได้เผย 10 เทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ (Strategic Technology T...

Responsive image

เจาะลึกอนาคต Data Center - Cloud Service ไทย อัพเดท ปี 2024 Big Tech ลงทุนในไทยแล้วกี่เจ้า ?

บทความนี้จะพาไปเจาะลึกบริษัทที่เข้ามาลงทุนในไทย พร้อมศักยภาพ แนวโน้ม และโอกาสในการลงทุน Data Center และ Cloud Service ในประเทศไทย ที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด พร้อมต่อยอดให้ไทยกลา...