อนาคต ME Generation ยุคที่คนมีอำนาจเข้าถึงข้อมูลสุขภาพอย่างเท่าเทียม มุมมองด้าน HealthTech โดยนาเดีย สุทธิกุลพานิช | Techsauce

อนาคต ME Generation ยุคที่คนมีอำนาจเข้าถึงข้อมูลสุขภาพอย่างเท่าเทียม มุมมองด้าน HealthTech โดยนาเดีย สุทธิกุลพานิช

จะดีแค่ไหนหากเราสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของตนเอง สามารถควบคุม ทำความเข้าใจตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในอนาคตของสุขภาพได้อย่างทันท่วงที? อาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องเกินจริง แต่ไม่ใช่อีกต่อไป ในวันแรกของงาน Techsauce Global Summit 2018 เราได้รับเกียรติจากคุณนาเดีย สุทธิกุลพานิช Head of Fuchsia Innovation Center เมืองไทยประกันชีวิต มาพูดในเวที HealthTech ถึงเรื่องอนาคตของระบบสุขภาพที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลของตัวเองได้อย่างเท่าเทียม

คุณนาเดีย สุทธิกุลพานิช Head of Fuchsia Innovation Center เมืองไทยประกันชีวิต

คุณนาเดียเริ่มด้วยคำถามที่ว่า คุณคิดว่าตัวเองมีความรู้ในข้อมูลด้านสุขภาพและวิธีการป้องกันแก้ปัญหาดีพอหรือไม่? คุณเป็นคนที่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและทำการเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้ทำการตรวจสอบก่อนหรือเปล่า? เป็นที่น่าเป็นห่วงว่าแหล่งข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่คนไทยได้รับนั้นมีความน่าเชื่อถือมากแค่ไหน จากผลการสำรวจข้อมูลความรู้เรื่องสุขภาพของคนไทยของกรมส่งเสริมสุขภาพ Health Promotion Division พบว่า มีเพียงร้อยละ 1 ของคนไทยที่ มีความรู้ ด้านสุขภาพเป็นอย่างดี ร้อยละ 39 พบว่ามีความรู้ด้านสุขภาพในระดับปานกลาง ส่วนอีกร้อยละ 60 พบกว่า มีความรู้เรื่องสุขภาพในระดับต่ำ

แท้จริงแล้วประชาชนได้รับข้อมูลอะไร ทำไมถึงไม่มีความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพอย่างเพียงพอ?

สาเหตุที่ความรู้ด้านสุขภาพคนไทยยังน้อยนั้นเนื่องจาก เรื่องของข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลด้านสุขภาพได้อย่างเต็มที่ เพราะเมื่อได้ทำการตรวจร่างกาย ข้อมูลต่างๆ จากที่ได้ทำการตรวจไปนั้นไม่ได้ถูกเผยแพร่หรือจัดเก็บให้เกิดประสิทธิภาพในการเข้าถึง อีกทั้งต่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นมันเป็นการยากที่จะทำให้ข้อมูลทางการแพทย์ทุกอย่างเข้าใจง่าย และในปัจจุบันหากผู้ป่วยต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจ ก็ยากที่จะทราบว่าแหล่งข้อมูลใดที่มีความน่าเชื่อถือ ดังนั้นหากว่าเรามีแพลตฟอร์มด้านสุขภาพให้ผู้ป่วยใช้และให้อำนาจในการถือครองข้อมูลของตนเองและช่วยให้เกิดความเข้าใจในข้อมูลจะทำให้สามารถประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย อีกทั้งสามารถทำการป้องกันและรักษาชีวิตของตนเองได้อย่างทันท่วงที

ใครควรเป็นผู้ถือครองข้อมูลด้านสุขภาพ?

ผู้ที่มีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลนั้นแน่นอนว่าจะต้องเป็นประชาชน ความอิสระในการเข้าข้อมูลถึงอาจฟังดูเป็นเรื่องเกินจริง แต่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ มีบางประเทศที่มีการจัดการข้อมูลในลักษณะเดียวกันแล้วแม้ว่ายังไม่ใช่ทางการแพทย์ก็ตาม คุณนาเดียได้ยกตัวอย่างในกรณีของประเทศสิงคโปร์ที่ได้มีการเก็บข้อมูล KYC (Know Your Customer) ระบุตัวตน (Identification) ของประชาชน ซึ่งรัฐเป็นผู้เก็บรักษาข้อมูลและเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลต่างๆ ตามแต่ละจุดประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลสุขภาพสามารถ นำไปสู่การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

สิ่งที่สำคัญก็คือการให้ความสำคัญในเรื่องของการให้ข้อมูลแก่ประชาชน และช่วยให้เกิดความเข้าใจพร้อมทั้งให้คำแนะนำการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง การทำให้ผู้ป่วยได้ทำความเข้าใจในสุขภาพของตนเองนั้น ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะสามารถป้องกันโรค ช่วยให้เกิดการวินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็ว และทำการรักษาโรคได้อย่างทันท่วงที ซึ่งจะเป็นการช่วยลดขั้นตอนในการรักษา ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และนำไปสู่การป้องกัน การส่งเสริมสุขภาพ และการบำบัดรักษาอย่างถูกต้อง

ตัวอย่างเช่น ก่อนหน้านี้เราไม่สามารถทำนายล่วงหน้าได้ว่าเราเป็นโรคอะไร แต่ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ในตอนนี้มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สามารถทำการตรวจและทำนายล่วงหน้าได้ นั่นก็คือการตรวจความผิดปกติของดีเอ็นเอในยีนส์ของแต่ละบุคคลหรือ Genetic Testing เมื่อเราได้ทำการตรวจก็จะรู้ได้เลยว่าเรามีความเสี่ยงทางด้านสุขภาพที่เกิดจากพันธุกรรม เป็นอย่างไร เพื่อที่จะนำข้อมูลมาดูแลตัวเองและป้องกันโรคได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปแสดงให้กับแพทย์ที่จะทำการรักษาต่อไปได้อีกด้วย

ปัจจุบันมีอุปกรณ์ด้านสุขภาพที่สามารถสวมใส่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ เครื่องตรวจการนอนหลับ, เครื่องวัดความดันโลหิต, เครื่องตรวจสุขภาพอื่นๆ จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้มีให้ใช้กันอย่างกว้างขวาง แล้วเราจะทำอย่างไรในการจัดการกับข้อมูลจากเครื่องเหล่านี้ได้บ้าง? แล้วข้อมูลเหล่านี้ จะสามารถถูกนำไปใช้ได้อย่างไร? คุณนาเดียพูดในแง่ของผู้ใช้งานที่ต้องการให้เกิดการร่วมมือกันระหว่าง โรงพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข บริษัทประกัน แพลตฟอร์มด้านสุขภาพต่างๆ ในการให้อำนาจของการถือครองข้อมูลกลับมายังเจ้าของข้อมูลเพื่อที่จะช่วยในการประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และที่สำคัญที่สุดคือการร่วมมือกันระหว่างแต่ละหน่วยงานในการนำข้อมูลเหล่านี้มาสร้างประโยชน์ให้กับเจ้าของข้อมูลอย่างแท้จริง

การใช้ข้อมูลสุขภาพ ที่มากกว่าแค่การดูแลตัวเอง

ในอนาคตข้อมูลด้านสุขภาพนั้นจะสามารถถูกนำมาเป็นส่วนสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันในด้านอื่นๆของเราได้ด้วย ดูกรณีของประเทศจีนที่จะมีการปล่อยระบบ Social Credit ในปี 2020 เพื่อใช้ตัดสินความน่าเชื่อถือในด้านต่างๆ ของประชาชนที่จะนำไปสู่การเข้าถึงสินค้า บริการ และโอกาสทางสังคมในด้านต่างๆที่มากกว่าหากมี social credit ที่ดี โดยการคำนวณ social credit นั้นจะมาจากข้อมูลหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบประวัติการใช้จ่าย ความสัมพันธ์กับผู้อื่น ไปจนถึงประวัติการรักษาสุขภาพ ลองจินตนาการดูว่า หากเราสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์และสามารถนำมันมาใช้ประโยชน์ในลักษณะนี้ได้ จะดีแค่ไหน หากทุกคนมีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูล มีอำนาจในการตัดสินใจในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลของตัวเอง เราจะก้าวไปอีกขั้น หากเรารู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง มีทางเลือกอะไรบ้างที่ควรจะทำเพื่อเป็นการป้องกันและรักษาสุขภาพของตนเองได้ในอนาคต

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สองวิธีเรียกคืนอำนาจบริหารจากบริษัทตัวเอง ถกประเด็นน่ารู้จากซีรีส์ Queen of tears

เจาะลึกประเด็นซีรีส์ Queen of tears การต่อสู้แย่งชิงอำนาจบริหาร Queens Group กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฮงจะกลับมายึดคืนอำนาจบริหาร ...

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...