การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ : องค์กรขนาดใหญ่ต้องปรับตัวไปกับอุตสาหกรรมอย่างไร และสตาร์ทอัพจะเข้ามาช่วยอะไรได้บ้าง | Techsauce

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ : องค์กรขนาดใหญ่ต้องปรับตัวไปกับอุตสาหกรรมอย่างไร และสตาร์ทอัพจะเข้ามาช่วยอะไรได้บ้าง

ดร.จาชชัว แพส ผู้อำนวยการด้าน Digital Transformation ของเอสซีจี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น กรรมการผู้จัดการ ‘AddVentures By SCG' เมื่อต้นปี 2017 เพื่อช่วยให้ธุรกิจเอสซีจีเติบโตอย่างก้าวกระโดดและเป็นผู้นำด้าน Digital Transformation ซึ่งในงาน Techsauce Global Summit 2017 ดร.จาชชัวมาเป็นหนึ่งใน Speaker ของงาน โดยมาพูดในหัวข้อ ‘The NEW Industrial Revolution: How Corporate Giants Must Transform With the Industry – And How Startups Can Help’

ทำไมเอสซีจีต้องขับเคลื่อนไปสู่ Digital Transformation?

ด้วยความที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่และมีบริษัทในเครือมากมาย เอสซีจีต้องขับเคลื่อนองค์กรเพื่อไปสู่ Digital Transformation (การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับทุกส่วนของธุรกิจ) โดย ดร.จาชชัวให้เหตุผลไว้ดังนี้

  1. การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องทำเพื่อความอยู่รอด - ตั้งแต่ปี 1995 มีคลื่นความเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ธุรกิจถูก Disrupt จนต้องล้มหายตายจาก เช่น ธุรกิจเพลง ธุรกิจเช่าวิดีโอ ธุรกิจถ่ายภาพ ต่อมาในปี 2010 ธุรกิจนิตยสาร การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมทีวี ตามมาด้วยธนาคาร ค้าปลีก สุขภาพ โทรคมนาคม และอุตสาหกรรมประกัน ก็ถูก Disrupt ด้วยเช่นกัน ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่มีใครรู้ว่าธุรกิจอะไรจะถูก Disrupt ต่อไป ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดในยุคดิจิทัลที่บริษัทต้องทำเพื่อความอยู่รอดคือ Digital Transformation 
  2. ระบบนิเวศยูนิคอร์นที่แข็งแรงขึ้นทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงในภาคเอกชน - เมื่อต้นทศวรรษที่ผ่านมา Airbnb กับ Pinterest เป็นกลุ่มแรกที่สร้างมูลค่าบริษัทได้ 1 พันล้านดอลลาร์ และตั้งแต่ปี 2014 ทั้งสองสตาร์ทอัพเติบโตขึ้นอย่างมาก ส่วนหนึ่งมาจากการเข้าถึงนวัตกรรมเพิ่มขึ้น ดังนั้น หากองค์กรธุรกิจต้องการเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศสตาร์ทอัพหรือเป็นผู้นำทางธุรกิจก็ต้องคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมา
  3. ต้นทุนที่ลดลงไม่ใช่เรื่องยากที่องค์กรจะเข้าถึงนวัตกรรม - ยกตัวอย่าง โดรน เมื่อ 10 ปีก่อน ราคาประมาณ 100,000 บาท แต่ปัจจุบันราคาเพียง 700 บาท ซึ่งต้นทุนที่ลดลงเรื่อยมาของเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลนี้  ย่อมทำให้องค์กรเข้าถึงนวัตกรรมได้มากขึ้น
  4. ต้องการความเร็ว - จากที่ในอดีต 500 บริษัทต้องใช้เวลาถึง 20 ปีในการเติบโตเป็นยูนิคอร์น แต่ปัจจุบันบริษัทใช้เวลาลดลงจนเหลือค่าเฉลี่ยเพียง 4.5 ปี แต่บางบริษัททำได้เร็วกว่านั้น เช่น Airbnb ซึ่งใช้เวลาเพียง 2 ปีเท่านั้นในการเป็นยูนิคอร์น

เอสซีจีมอง Digital Transformation ไว้อย่างไร?

ความหมายของ Digital Transformation สำหรับเอสซีจี คือ เทคโนโลยีดิจิทัลที่สามารถสร้างมูลค่าได้ด้วยการเปลี่ยนวิธีเก็บข้อมูล ประมวลผล จัดเก็บ และส่งข้อมูล ซึ่งขั้นตอนนั้นก็จะตรงไปตรงมาโดย

ประการแรก ทำความเข้าใจปัญหาของลูกค้า จับอารมณ์ความรู้สึกของผู้ใช้ได้

ประการที่สอง การทำแบบจำลองทางธุรกิจแบบดิจิทัล เช่น อีคอมเมิร์ซ แพลตฟอร์ม แล้วตามด้วยการทำแผนที่ข้อมูลระหว่างสินทรัพย์ (การนำข้อมูลลูกค้าและข้อมูลการตลาดของคุณไปใช้เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการทางกายภาพ)

ประการสุดท้าย มีระบบอัตโนมัติ คือ เทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งเชื่อมโยงทุกอย่างและช่วยให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ทั้งนี้ ดร.จาชชัว แพส บอกเทคโนโลยี 4 ประการที่เอสซีจีสนใจไว้ดังนี้

  • Internet of Things
  • Advanced analytics
  • Cloud services
  • Everywhere connectivity

สตาร์ทอัพจะมีบทบาทอย่างไรเมื่อองค์กรขนาดใหญ่มุ่งไปยัง Digital Transformation?

ดร.จาชชัวกล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อมองไปที่ระบบนิเวศ ไม่มีใครสามารถสร้างได้ด้วยตัวเอง ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่ายก็คือ ให้เปิดกว้างด้านนวัตกรรม

"ทุกๆ บริษัทและสตาร์ทอัพมีความเชี่ยวชาญของตัวเองก็ให้นำความเชี่ยวชาญนั้นมาแชร์กัน สำหรับ AddVentures เราดูที่การสร้าง การซื้อ การเป็นพาร์ทเนอร์ การลงทุน และการบ่มเพาะ นอกจากนี้ ทุกฝ่ายก็ต้องนำจุดแข็งออกมา เช่น บริษัทส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ เข้าถึงตลาดทั่วทั้งอาเซียน มีผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และมีหลายแผนกในบริษัท เช่น ฝ่ายทรัพยากรบุคคล วิศวกร ฝ่ายไอที เหล่านี้เป็นทรัพยากรทั้งหมดที่บริษัทเอกชนต้องดึงมาช่วยสตาร์ทอัพ และในทางกลับกัน สตาร์ทอัพก็สามารถช่วยบริษัทได้ด้วยนวัตกรรม” ดร.จาชชัวกล่าว

สุดท้าย สิ่งที่ทำให้บริษัทและสตาร์ทอัพได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายอย่างแท้จริงคือ สตาร์ทอัพนั้นเติบโตได้ช้าเมื่อเทียบกับบริษัทเอกชน ซึ่งสตาร์ทอัพสามารถเข้ามาช่วยบริษัทเอกชนทำสิ่งต่างๆ ให้เร็วขึ้นและเปิดกว้างในการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้มากขึ้น โดย AddVentures By SCG หนึ่งใน CVCs รายใหม่ล่าสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เชื่อมั่นว่า ความร่วมมือระหว่างบริษัทเอกชนและสตาร์ทอัพจะทำให้การทำงานร่วมกันก้าวไปได้ไกลกว่าการทำงานเพียงลำพัง ด้วยวิสัยทัศน์บริษัทว่า 'You Innovate, We Scale'

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...