ก้าวต่อไปของเทคโนโลยี VR กับการสร้าง Contents ที่เป็นมากกว่าความบันเทิง

ก้าวต่อไปของเทคโนโลยี VR กับการสร้าง Contents ที่เป็นมากกว่าความบันเทิง

ในช่วง 2-3 ปีมานี้ กระแสเทคโนโลยี VR ยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่องและเข้ามาอยู่ใกล้ตัวให้เราได้เห็นกันมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเราจะเห็น VR กันมากในอุตสาหกรรมความบันเทิง แต่ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่นการแพทย์ อสังหาริมทรัพย์ การค้าปลีก ก็เริ่มนำ VR เข้ามาประยุกต์ใช้ให้เราเห็นกันเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยในทริป MIT Startup Ecosystem Conference ที่ AIS The StartUp ได้นำสตาร์ทอัพ ที่อยู่ใน Portfolio ไปร่วมงาน ซึ่งเราได้นำเสนอบทความกันไปแล้ว ยังมีอีกหนึ่งโปรแกรมสำคัญ คือการศึกษาธุรกิจ  VR ร่วมกับทาง IMAX ที่นิวยอร์ก

Techsauce ไม่พลาดที่จะชวน ดร.ศรีหทัย พราหมณี (ดร.ออน)  Head of AIS The StartUp มาร่วมสัมภาษณ์ และเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับ ร่วมไปถึงมุมมองความท้าทายต่าง ๆ ของเทคโนโลยี VR ที่จะเป็นได้มากกว่าเทคโนโลยีเพื่อความบันเทิง

เมื่อพูดถึง VR หลายคนอาจนึกถึงการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในอุตสาหกรรมบันเทิงเท่านั้น อะไรคือความท้าทายของ VR ที่ยังไม่สามารถก้าวเป็นเทคโนโลยีระดับ Main Stream ได้?

ความท้าทายหลัก ๆ จะเป็นเรื่องของ Content เมื่อเทียบกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน VR ยังคงมีน้อย อีกทั้ง Knowledge และ ​Know-how ยังไม่ค่อยแพร่หลาย พอคอนเทนต์น้อยทำให้คนเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้น้อย จึงเป็นเหตุที่ว่าทำไมเราถึงอยากที่จะพัฒนาศักยภาพของนักพัฒนา VR เพราะคนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับคอนเทนต์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น

นอกจาก Contents ที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น อีก 1 เรื่อง คือ  Devices ​แม้ว่าเทคโนโลยี VR จะมีให้เลือกมากก็จริง แต่ราคานั้นยังอยู่ในระดับที่คนส่วนใหญ่ไม่สามารถเอื้อมถึง ในตอนนี้กลุ่มคนที่ซื้ออุปกรณ์ VR มาทดลองใช้ยังคงอยู่ในกลุ่มที่เป็นนักพัฒนา และพวก Early Adopter ที่อยากจะลองเทคโนโลยีใหม่อยู่ ยังไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่มีแนวโน้มที่จะเป็นลูกค้าหลักทำให้ยังไม่แพร่หลาย เปรียบเทียบง่าย ๆ เหมือนกรณีของสมาร์ทโฟน ในช่วงแรกถูกใช้แค่ในกลุ่มนักธุรกิจ พอราคาลดลงในระดับที่คนทั่วไปสามารถเอื้อมถึง รวมไปถึงมีแอปพลิเคชันเข้ามาเสริมสมาร์ทโฟนให้มีศักยภาพมากกว่าการเป็นแค่โทรศัพท์อย่างเดียว ทำให้การใช้สมาร์ทโฟนได้แพร่หลายมากขึ้น

ผู้บริโภคมีแนวโน้มเปิดรับเทคโนยีนี้รวดเร็วแค่ไหน? ปัจจัยที่มีผลต่อแรงขับเคลื่อนนี้คืออะไร?

ในตอนนี้ยังคงเร็วเกินไป เนื่องจากต้องดูปัจจัยหลาย ๆ อย่างควบคู่กันไป เช่น ต้องดูว่าเทคโนโลยีนี้ได้รับการสนับสนุนในตลาดมากน้อยแค่ไหน ความจำเป็นในการใช้ในชีวิตประจำวัน หากพวกเราสามารถตอบได้ว่า VR ได้เข้ามาส่งเสริมให้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคดีขึ้นได้อย่างไร จะเป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น

VR คือเทคโนโลยีปัจจุบันและอนาคต

การปรับใช้เทคโนโลยี VR ของทาง AIS ร่วมกับ Major

ปัจจุบันเราเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกับทาง Major เรามี AIS IMAX VR ซึ่งจะมี VR Arcade เน้นที่ Entertainment และเพลงเป็นหลัก

ทุกวันนี้เรามีเทคโนโลยี VR ก็จริง แต่โดยส่วนใหญ่ยังคงได้รับความนิยมเฉพาะในการเล่นเกมหากเราสามารถทำให้คนได้เข้าไปรับรู้ประสบการณ์ในการเล่นเกมว่ามีความสมจริงอย่างไร ก็จะเป็นก้าวแรกในประเทศที่สามารถทำให้คนเข้าถึงเทคโนโลยี VR ได้มากขึ้น

ทาง AIS IMAX VR มี VR Arcade ที่พารากอนและที่ AIS D.C. ซึ่งที่ AIS D.C นั้น เราเปิดให้ members ได้เข้ามาทดลองใช้ได้ฟรี ซึ่งในสองที่จะเป็นเกมเดียวกัน สิ่งที่เราสังเกตเห็นหลังจากได้เปิดให้คนได้เข้ามาเล่นก็คือ ลูกค้าที่เข้ามาส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มลูกค้าใหม่ เข้ามารับประสบการณ์ครั้งแรก คนที่กลับมาใช้บริการอีกรอบยังคงมีน้อยอยู่ ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้เขากลับมาที่นั่นก็คือเรื่องของคอนเทนต์ ถ้าเราสามารถทำให้มีความหลากหลายมากขึ้น จะทำให้คนกลับมารับประสบการณ์ใหม่ได้เรื่อยๆ

อีกหนึ่งอย่างที่มีความสำคัญคือสถานที่ ทางเราได้ทำการศึกษาที่ตั้งของ VR Arcade ในต่างประเทศด้วยเช่นกัน พบว่าส่วนใหญ่แล้วคนที่เข้าไปยังสถานที่นั้นๆ สาเหตุหลักไม่ใช่เพราะตัวเทคโนโลยีนี้ แต่เป็นเพียงส่วนเสริมในแต่ละกิจกรรมของไลฟ์สไตล์เขาที่เขาทำในวันนั้นๆ  ดังนั้นเรามีความจำเป็นที่จะต้องเสาะหาสถานที่ที่จะเข้าไปตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ กิจกรรมในแต่ละวันของผู้ใช้ให้มีคุณค่ามากขึ้น มีความสนุกสนานมากขึ้น

ข้อคิดสำคัญและประสบการณ์ที่ได้รับจากการศึกษางาน IMAX VR in New York

การที่พวกเราเดินทางไปนครนิวยอร์กในครั้งนี้ก็เพื่อที่จะไปชมเทคโนโลยี VR ในเชิงพาณิชย์ในตลาด Mass Market ก่อนหน้านี้ทางเรามองว่าตลาดของลูกค้าอเมริกาได้นำหน้าประเทศไทย แต่เมื่อได้ดูตัวเลขแล้วพบว่าความท้าทายในอเมริกาและประเทศไทยยังคงเป็นเรื่องเดียวกัน อีกทั้งยังเป็นท้าทายของทั้งโลกด้วย ปัจจุบันไม่ใช่แค่ที่ไทยที่ได้มีการปรับใช้เทคโนโลยี VR ในขั้น Early Stage แต่ยังรวมไปถึงทั้งโลกด้วยเช่นกัน VR ยังเป็นเทคโนโลยีที่ยังอยู่ในกลุ่มของพวก Developer เป็นส่วนใหญ่อยู่

ความท้าทายของคนทั้งโลกคือจะทำอย่างไรให้เทคโนโลยี VR เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้ใช้ได้  เนื่องจากตอนนี้การทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ VR ยังคงเป็นกิจกรรมเสริมอยู่ เช่น หากคนเข้าไปโรงภาพยนตร์ หลังชมภาพยนตร์เสร็จแล้วถึงจะมาเล่น VR ต่อ ความท้าทายอีกอย่างก็คือเรื่องของคอนเทนต์ว่าจะทำอย่างไรให้มีความหลากหลายเพื่อที่ลูกค้าจะได้กลับเข้ามาใช้งานอีกเรื่อยๆ

นอกจากนี้จะทำอย่างไรให้ลูกค้าสามารถรับประสบการณ์ VR ได้ทุกที่ทุกเวลา ในตรงนี้นี่เองที่มือถือได้เข้ามามีความสำคัญ ความท้าทายคือจะถอดคอนเทนต์ภาพยนตร์ออกมาอย่างไรให้อยู่ในรูปแบบโมบายล์และสามารถรับประสบการณ์ VR ในระดับที่ไม่เสียคุณภาพของต้นฉบับ

ความได้เปรียบของอเมริกาคือนักพัฒนาของเขาได้นำหน้าเราในเรื่องของ Knowledge ในเมืองไทยหากคนได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็จะสามารถลดช่องว่างและสามารถตามทันได้เช่นกัน

คิดว่าอนาคตของ VR เป็นอย่างไร

สิ่งทีเราเห็นได้ชัดคือ VR จะถูกใช้ในเรื่องของ entertainment เป็นหลัก ส่วนถัดไปคือการใช้ VR ในอุตสาหกรรมต่างๆ ในทางการแพทย์ การทหาร จากนั้นจึงเป็นกลุ่มของ customer ว่ามันจะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในระดับ mass ได้อย่างไร

สำหรับตัว devices ก็เช่นกันกับตัวคอนเทนต์ หากถูกพัฒนาขึ้นและอยู่ในราคาที่คนเอื้อมถึงก็จะเป็นที่แพร่หลายจากการศึกษาดูงานพบว่าทั้งทาง AIS และทางอเมริกามีมุมมองที่ตรงกันในเรื่องของการทำ Contents ที่จะเป็นตัวทำให้ VR พัฒนาต่อไปได้ ดังนั้นจึงเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของ AIS The StartUp ที่ได้ทำการขยาย scope ทุกปีเราได้ทำการสนับสนุนสตาร์ทอัพที่ทำด้าน VR Content Creator หากใครที่สนใจเทคโนโลยีตัวนี้หรือกำลังทำคอนเทนต์ด้านนี้อยู่ ทางเรายินดีที่จะเป็นผู้สนับสนุนผลักดัน ใครที่มีผลงานสามารถส่งเข้ามาได้ที่ www.ais.co.th/thestartup คอนเทนต์บางส่วนของผู้ที่ส่งเข้ามาจะถูกนำขึ้นไปแสดงบนแพลตฟอร์มของ AIS Play 365 ในช่องทาง AIS Play

นอกจากนี้ทางเรายังเป็นรายแรกในการช่วยสตาร์ทอัพในเมืองไทยให้ได้รับการส่งเสริมในวงกว้าง เทคโนโลยี VR ก็เช่นกัน AIS เป็นองค์กรเอกชนรายแรกที่ส่งเสริมเให้คนทำคอนเทนต์ VR ได้เข้ามาร่วมในโครงการครั้งนี้มากขึ้น  และในตอนนี้ ทาง AIS ได้มีการจัดVR Showcase ที่ AIS D.C. ซึ่งทาง AIS ได้ร่วมมือกับทาง depa ใครที่เข้าร่วมทางเราจะนำผลงานบางส่วนเข้ามาแสดงที่ AIS D.C. ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปสัมผัสประสบการณ์ ฺVR ได้ฟรี โดยเปิดให้บริการตั้งแต่ 11.00 - 19.00 น.  ซึ่งเราหวังว่าโครงการดังกล่าวนี้จะเป็นก้าวเล็ก ๆ ต่อไปของประเทศไทย

 

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...