9 ทักษะการวางกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมที่นักธุรกิจควรมี โดย William Malek | Techsauce

9 ทักษะการวางกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมที่นักธุรกิจควรมี โดย William Malek

หลังจากคร่ำหวอดในวงการวิศวกรรมและระบบพลังงานมานานกว่า 10 ปี William Malek  ผู้เป็น Senior Executive Director SEAC ประเทศไทย ได้ค้นพบอีกหนึ่งความน่าสนใจในวงการธุรกิจอันได้แก่ การปรึกษาด้านการจัดการ หรือ Management Consulting โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจให้ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต ซึ่งโฟกัสไปที่ทักษะการวางกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม ในงาน Techsauce Global Summit 2020: Special Edition - Evolving Stronger คุณวิลเลี่ยมได้ถ่ายทอดประสบการณ์และทัศนคติที่มีต่อทักษะนี้ ว่าทำไมถึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่ออนาคตรวมไปถึงแนะนำ 9 ความชำนาญที่นักธุรกิจควรมี และคุณสมบัติสำคัญในการเป็นนักวางกลยุทธ์ทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ

William Malek คุณวิลเลี่ยมมองสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ออกเป็นสองมุม โดยมองว่าโควิดเป็นทั้งวิกฤติแห่งหายนะและวิกฤตแห่งโอกาสในเวลาเดียวกัน การที่คุณวิลเลี่ยมมีมุมมองต่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ นั่นก็เพราะว่า ไม่ว่าธุรกิจจะเจอปัญหาที่ไม่สามารถทำให้ดำเนินกิจการตามปกติได้ ผู้ประกอบการยังจำเป็นที่จะต้องมองบวกหรือมองเห็นปัญหาในมุมที่ต่างออกไปอยู่เสมอ เพื่อจะได้มองเห็นวิธีแก้ปัญหาที่คาดไม่ถึง ต้องไม่มองเห็นปัญหาแค่เพียงด้านเดียวเพราะจะเป็นการปิดกั้นมุมมองใหม่ๆ และเป็นข้อจำกัดที่ทำให้คิดค้นกลยุทธ์ที่จะใช้นำมาบรรเทาวิกฤตได้น้อยลง นั่นก็คือการนำหลักการวางกลยุทธ์ (Strategic Foresight) มาใช้ แล้วจึงจะเห็นว่าทำไมธุรกิจถึงต้องมีการวางกลยุทธ์เพื่อรับมือกับสิ่งที่คาดไม่ถึงในอนาคต  โดยคุณวิลเลียมมีคำแนะอีกด้วยว่ามนุษย์จำเป็นต้องเป็นผู้นำแม้ในยามคับขัน ต้องยอมรับที่จะเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงองค์กรในระยะเวลาสั้น และต้องรู้จักวางแผนถึงอนาคตด้านบวกที่ยั่งยืน

The Wave of Disruption (Wicked Problems) คลื่นแห่งการหยุดชะงัก

คนส่วนใหญ่อาจมองว่าวิกฤตการณ์โควิด 19 เป็นคลื่นที่ทำให้เศรษฐกิจรวมถึงอุตสาหกรรมด้านอื่นๆ ในประเทศไทยต้องหยุดชะงัก แต่คุณวิลเลียมกลับมองว่าความร้ายแรงของโรคระบาดในครั้งนี้นั้นยังไม่รุนแรงจนถึงกับเป็นคลื่นที่ทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงักแบบที่ใครๆ คิด มองว่าเป็นเพียงแค่ระยะแห่งการฝึกซ้อมสำหรับภาคธุรกิจก่อนจะเจอวิกฤตแห่งหายนะที่แท้จริง ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับระยะต่างๆ ของคลื่น ผลกระทบจากโควิดจะอยู่แค่ในขั้นต้นๆ เท่านั้น ในอนาคตมนุษยชาติจะต้องพบเจอคลื่นลูกใหญ่ที่สร้างผลกระทบในวงกว้างและรายแรงกว่าโรคระบาดอย่างแน่นอน อันได้แก่ปัญหาสังคมผู้สูงอายุและปัญหากรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองบาดาล ปัญหาดังกล่าวมีที่มาที่ไปอย่างไร และส่งผลกระทบต่อภาครวมของเศรษฐกิจต่อประเทศรุนแรงขนาดไหน คุณวิลเลียมได้อธิบายให้ฟังพร้อมทั้งเน้นย้ำถึงความสำคัญในการนำทักษะการกำหนดกลยุทธ์มาประยุกต์ใช้เพื่อวางแผนแก้ปัญหาดังกล่าว 

สังคมผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ เรียกได้ว่าอีกไม่กี่ปีต่อจากนี้ แต่ก็ยังเป็นปัญหาที่ไม่ได้รับความสนใจมากนัก เพราะหลายๆ ฝ่ายไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นจริงในระยะเวลาเร็วๆ นี้ อย่างไรก็ตามปัญหาผู้สูงอายุจะส่งผลกระทบในวงกว้างมากกว่าที่หลายคนจะจินตนาการถึง เพราะนั้นแสดงถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่จำเป็นในอนาคต ซึ่งนับว่าเป็นกลุ่มสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ประการที่สองคือปัญหากรุงเทพฯ เมืองบาดาล มีการคาดการณ์เอาไว้ว่ากรุงเทพฯ จะถูกน้ำท่วมจนกลายเป็นเมืองใต้น้ำภายในปี 2050 และการเป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศที่จะจมหายไปภายใน 30 ปี คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก ปัญหาเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าการวางแผนรับมือกับภาวะวิกฤติในอนาคตมีความสำคัญมากแค่ไหน นอกจากจะช่วยลดระดับความรุนแรงจากผลกระทบที่จะเกิด ยังทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงอนาคตไปในทางที่ดีขึ้นได้อีกด้วย บททดสอบจากการนำการคาดการณ์นี้ไปใช้กับกลุ่มบริษัทต่างๆ ตั้งแต่ปี 2008 ถึงปี 2015 พบว่า บริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้นถึง 33% และมีอัตราการเติบโตกว่า 200% จากผลลัพธ์นี้ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าการวางกลยุทธ์รับมือกับหายนะในอนาคตนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจภาคองค์กร 

9 ความชำนาญที่นักธุรกิจควรมี

  1. Executive Sponsorship needed for Foresight การสนับสนุนผู้บริหารนับว่าเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ต่อทิศทางในอนาคตขององค์กร เพราะวิสัยทัศน์ของผู้นำนั้นจะช่วยกระตุ้นโครสร้างองค์กรทั้งภายนอกและภายในให้มองเห็นอนาคตไปในทิศทางเดียวกัน โดยผู้นำหรือผู้บริหารองค์กรก็จำเป็นที่จะฝึกฝนความคิดของพนักงานให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนอยู่เสมอ ยกตัวอย่าง Zhang Ruimin, CEO ของ Haier นับว่าเป็นบุคคลต้นแบบที่ทำทักษะข้อนี้มาใช้ คุณ Zhang ไม่ได้เป็นเพียงซีอีโอ แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้พนักงานอยากขับเคลื่อนองค์กรไปพร้อมๆ กัน  
  2. Learning การเรียนรู้ที่ทุกๆ องค์กรพึงมี การเรียนรู้หมายรวมไปถึงการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลานอกเหนือจากสิ่งที่ตัวเองถนัด บางครั้งอาจมีเรื่องที่เรารู้ดีอยู่แล้ว แต่ก็จงหมั่นฝึกฝนและตั้งหน้าตั้งตาเรียนต่อไป เพราะถ้าเรามัวแต่เรียนเเต่เรื่องซ้ำๆ ที่ไม่รู้ ก็จะเป็นการจำกัดตัวเองให้หยุดการเรียนรู้อยู่เพียงแค่นั้น 
  3. Anticipatng การคาดการณ์ต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้น ซึ่งหมายรวมไปถึงการกำหนดเป้าหมายขององค์กร เป้าหมายที่ต้องการจะบรรลุ และมองหาทางเลือกเพื่อจะช่วยนำไปสู่เป้าหมายนั้นๆ เช่นบริษัท 3M ที่มีจุดมุ่งหมายการเป็นแบรนด์ระดับโลก และยกระดับคุณภาพการผลิตไปสู่สากล เริ่มแรก 3M เป็นเพียงยี่ห้อผลิตเทปกาวธรรมดาๆ แต่ตอนนี้ 3M มีผลิตภัณฑ์หลากหลายต่อทุกกลุ่มผู้บริโภค 
  4. Innovating การสร้างสรรค์นวัตกรรมโดยการระดมความคิดและผสมผสานรูปแบบของธุรกิจเดิมที่มี (Business Model) และการออกแบบเข้าด้วยกัน เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิม 
  5. Startegy การวางกลยุทธ์เพื่อการแปลงทางและรวบรวมเลือกต่างๆ ทั้งหมดที่มีเพื่อก้าวไปสู่อนาคตที่คุณต้องการให้ธุรกิจของคุณพัฒนาไปได้ กลยุทธ์ยังช่วยให้เกิดการบรรจบกันใหม่ของวิสัยทัศน์สำหรับอนาคตที่ต้องการ เช่นเดียวกับ 3M พวกเขามองหาโอกาสในการขยายรูปแบบผลิตภัณฑ์และผลิตสินค้าใหม่ๆ อยู่เสมอ
  6. Back-Casting การมองหาแนวคิดในการดำเนินการเพื่อลดช่องว่างของธุรกิจที่มี เป็นการเติมเต็มช่องว่างสำหรับอนาคตที่ต้องการ ขั้นตอนแรกอาจเริ่มต้นด้วยการกำหนดช่องว่างของธุรกิจ จากนั้นมองหาทรัพยากรเดิมขององค์กรที่มีอยู่แล้วมาแก้ไขปัญหาช่องว่าง
  7. Executing การแปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ธุรกิจของคุณก้าวไปข้างหน้า เริ่มต้นด้วยการอำนวยความสะดวกในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลขององค์กรเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีขึ้น 
  8. Influencing การมีอิทธิพลและสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านบริหารการจัดการในอนาคตให้กับทั้งกลุ่มผู้นำและกลุ่มธรุกิจอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง การสร้างอิทธิพลสามารถทำได้โดยการสื่อสารวิสัยทัศน์ที่เกี่ยวข้องเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและมีอิทธิพลต่อการกระทำของพวกเขา โดยสร้างมูลค่าที่น่าเชื่อในการเติบโตทางธุรกิจ
  9. Reviewing การทบทวน การวัดและรวบรวมข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับข้องกับคุณภาพและผลลัพธ์ เพื่อประเมินระดับธุรกิจของตัวเอง ก่อนจะนำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยไม่ได้หมายถึงแค่การประเมินความก้าวหน้าของธุรกิจ แต่ยังหมายรวมไปถึงการข้อเสนอแนะของคุณภาพและผลลัพธ์อีกด้วย 

ก่อนจะจบบทเรียนสำคัญในการวางกลยุทธ์เพื่อสร้างนวัตกรรม คุณวิลเลียมยังได้สรุปคุณสมบัติที่สำคัญของการเป็นนักวางแผนเชิงกลยุทธ์ เนื่องจากเขาถูกตั้งถามหลายครั้งเกี่ยวกับตำแหน่งงานชนิดนี้มาก่อน มีข้อกำหนดมากมายในการเป็นผู้เชี่ยวชาญในตังแหน่งดำกล่าว แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดคือนักวางกลยุทธ์ต้องมีความหลงใหลในการมองการณ์ไกลอย่างแท้จริง เนื่องจากตำแหน่งนี้มีความแตกต่างจากนักวางแผนทั่วๆ ไปอยู่พอสมควร เป็นตำแหน่งที่ต้องอาศัยความเฉพาะเจาะจงมากขึ้นเพราะต้องประกอบด้วยกระบวนการคิดอันหลากหลายและวิสัยทัศน์สำหรับอนาคตที่ดี

และนี่เป็นเพียงคอนเทนต์บางส่วนภายในงาน Techsauce Global Summit 2020 เท่านั้น พบกับเนื้อหาที่น่าสนใจเร็วๆ นี้ หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ https://summit.techsauce.co

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...