ถอดบทเรียนการสานต่อธุรกิจสามรุ่น พลิกฟื้นของเสียให้เกิดมูลค่าด้วยเทคโนโลยี | Techsauce

ถอดบทเรียนการสานต่อธุรกิจสามรุ่น พลิกฟื้นของเสียให้เกิดมูลค่าด้วยเทคโนโลยี

ในยุคของคนรุ่น Baby Boomers และ Gen X เราจะเห็นธุรกิจของรุ่นพ่อที่ต่อยอดมาสู่รุ่นลูกกันหลายธุรกิจ คำถามคือในยุค Digital Disruption อย่างตอนนี้ ธุรกิจในลักษณะนั้นจะสามารถดำรงอยู่ต่อไปได้อย่างไร?

ในบทความนี้ Techsauce ได้มาคุยกับนักธุรกิจสองพ่อลูก คือคุณธนารักษ์ พงษ์เภตรา และคุณตรรก พงษ์เภตรา ที่สานต่อธุรกิจโรงงานปาล์มมาตั้งแต่รุ่นก๋ง เรียกได้ว่าคุณตรรกเป็นรุ่นที่สามแล้ว โดยความน่าสนใจของธุรกิจที่เรามาคุยกันนี้ คือการนำ “นวัตกรรม” เข้ามาพลิกฟื้นธุรกิจที่โดน Disrupt มาโดยตลอด

ธุรกิจนี้ดำเนินมาถึงรุ่นที่สามแล้ว มีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง

คุณธนารักษ์ : เดิมทีคุณพ่อทำธุรกิจไม้ และยางพารา แต่แล้วก็มีโอกาสเห็นธุรกิจปาล์มน้ำมันที่มาเลเซีย ซึ่งปาล์มเป็นพืชเกษตรอุสาหกรรมและสามารถทำได้หลายอย่าง ทำให้มองเห็นโอกาสตรงนั้นแล้วเริ่มศึกษาเรื่องปาล์มน้ำมัน

ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำโรงงานปาล์ม

คุณธนารักษ์ : เมื่อก่อนโรงงานอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 50 กม. ปาล์มน้ำมันจะมีข้อเสียก็คือ เราเก็บต้นปาล์มมาจากสวน 100 ตัน แต่ผลิตน้ำมันปาล์มจริงได้แค่ 17-20 ตัน ที่เหลือเป็นของเสีย และมีน้ำเสียอีก 23 ตัน น้ำเสียขจัดการลำบากมาก ของเสียเรามีค่า BOD ประมาณ 30,000 การจะปล่อยลงแม่น้ำ ค่า BOD ต้องไม่เกิน 1,300 ซึ่งค่ามันเกินอยู่แล้ว ฉะนั้นก็ปล่อยไม่ได้ โรงงานมาอยู่ก็มีปัญหาเรื่องกลิ่น เราจึงไปศึกษาดูจากมาเลเซียว่าเขามีการกำจัด เราศึกษาตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งมาเลเซียก็ไม่มีเทคโนโลยีในการกำจัดของเสีย

พลิกฟื้นนำของเสียไปสร้างมูลค่าที่มีมูลค่า

คุณธนารักษ์เล่าต่อว่า เมื่อวิธีบำบัดแบบที่มาเลเซียไม่ได้ผล จึงนำของเสียที่มีปัญหาเรื่องกลิ่นมาใช้ให้เป็นประโยชน์แทน โดยทำ ทำโรงไฟฟ้า Bio Gas จากปาล์ม กำจัดกลิ่นโดยการเอาแก๊สไปใช้

เราทำให้คนงานมองว่าของเสียที่ได้มาเป็นโรงงาน โรงงานที่ผลิตไฟฟ้า ช่วงเวลาที่ผลิตไฟฟ้าขายมี 2 ช่วง คือช่วงที่ราคาสูงและราคาต่ำ เวลาปั่นก็ปั่นในช่วงที่มีความต้องการสูงจะได้ราคาดี และตอนนี้ใครๆ ก็ทำ Bio Gas หมด และมีอีกโครงการที่ทำต่อคือ โรงไฟฟ้า Bio mass แบบเผา ซึ่งเราต้องการนำของเสียมาทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งปัจจุบันสามารถนำของเสียมาใช้ต่อได้ 100%

ในตอนนี้ โรงไฟฟ้า Bio gas เราทำเองหมดเลย หมักเอง ซึ่งพวกเราเป็นวิศวกร ไม่ได้มีพื้นฐานทางด้านจุลินทรีย์ ถ้าเราทำได้ระบบมันจะดีกว่านี้ เราก็พยายามจะสนับสนุนด้านวิจัยให้มีคนมองสนใจในเรื่องจุลินทรีย์ ซึ่งเมืองไทยยังขาดเรื่องพวกนี้ ผมมองว่าคนไทยมีของเสียเรื่องการเกษตรเยอะ ฉะนั้นถ้าเรามีความรู้ความสามารถเรื่องพวกนี้มันน่าจะทำอะไรได้เยอะ จึงพยายามทำวิจัยเรื่องจุลินทรีย์ ในส่วนที่ขาด

สรุป Timeline การทำธุรกิจปาล์ม ตั้งแต่รุ่นก๋ง

คุณตรรก พงษ์เภตรา ซึ่งเป็นรุ่นที่สามของธุรกิจ ได้สรุปถึง Timeline ของธุรกิจปาล์มที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2518

2518 : เริ่มต้นในธุรกิจปลูกปาล์ม

2527 : ทำโรงงานปาล์ม

2553 : BIO GAS เป็นจุดเปลี่ยนในเรื่องรายได้ เรื่องมูลค่าของของแต่ละอย่าง อย่างที่บอกคือมีปาล์ม 100 ตัน ขายได้ 20 ตัน ของเสีย 80 ตัน แต่ตั้งแต่มี Bio gas ขึ้นมา 30 % ที่เป็นน้ำเสียมีมูลค่าขึ้นมาทันที Product ก็กลายเป็น 50% จากนั้นก็มี BIO MASS ทำให้ในส่วน 50% ที่เหลือมี มูลค่าขึ้นมา ปัจจุบันนำของเสียมาใช้งานต่อได้ 100%

“เราถูก Disrupt มาตลอดทำให้เรารู้ว่าเรื่องของ Innovation มันมีค่าขนาดไหน”

แนวความคิด หรือ Mind Set ที่ทำให้เราปรับเปลี่ยนหรือเห็นโอกาส

คุณธนารักษ์ : อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันมีช่วงหนึ่งที่การแข่งขันสูงมาก มันมีความกดดัน ถ้าไม่เปลี่ยน เราแย่ จึงจำเป็นต้องหาองค์ความรู้ การมีความกดดันทำให้ต้องปรับตัว

คุณตรรก : เห็นด้วยกับคุณพ่อว่ามีความกดดันที่ต้องทำ เมื่อมีความกดดันเข้ามาเราก็ต้องปรับเปลี่ยนมาตลอด ไม่ได้รอให้แย่มาก พยายามจะเปลี่ยนมาตลอด มีที่มาของความรู้ ทำให้เราสามารถเข้าถึงความรู้นั้นๆ ได้

ได้ยินว่ามีการนำเทคโนโลยีจากอิสราเอลมาใช้งานด้วย?

คุณตรรก : ทางบริษัทตั้งแต่สมัยก๋ง ได้เคยนำน้ำหยดจากอิสราเอลมาทำที่ไทย ทำได้ 3-4 ปี แต่โครงการนั้นไม่สำเร็จ

คุณธนารักษ์  : ปัญหาของโครงการนั้นก็คือเรื่องแหล่งน้ำ ต้องไปสูบน้ำมาจากคลอง ซึ่งอยู่ไกลมาก เรื่องสูบน้ำอย่างเดียวต้นทุนก็เยอะพอสมควร ไม่เหมือนที่อิสราเอล เพราะท่อมาถึงหน้าสวน

คุณตรรก : เทคโนโลยีตัวหลักๆ ที่เรานำมาก็คือการใช้โดรน ซึ่งในเมืองไทยเราใช้โดรนถ่ายกันได้ง่ายๆ แต่พอถ่ายมาแล้วเราไม่รู้ว่าข้อมูลที่ได้มามันแปลว่าอะไร แต่ในอิสราเอล มีหลายบริษัทที่เค้าก็จะเอาภาพที่ได้มารวมกันแล้วบอกได้ว่าต้นไม้มันมีปัญหาอะไร ตัวอย่างเช่น ทำไมต้นตรงนี้จึงไม่สว่างเท่าตรงนี้ ซึ่งเค้าก็มีสถิติมากพอที่จะบอกได้ว่ามันหมายความว่าอะไร

“ปัญหาของการศึกษาบ้านเราต่างกับบ้านเค้าตรงที่ว่า ศาสตร์มันไม่รวมกัน บ้านเค้าคนทำการเกษตรกับคนทำเทคโนโลยีอยู่ด้วยกันตลอด แต่บ้านเราคนทำเกษตรกับคนทำเทคโนโลยีก็ต่างคนต่างอยู่ ก็คุยกันไม่รู้เรื่อง คนทำเทคโนโลยีก็ไม่มีตัวอย่างการใช้งานจริงๆไปวิเคราะห์ ในส่วนนี้เราเห็นความต้องการเยอะ ถ้าเราทำได้มันจะประหยัดต้นทุนให้เราได้มากขนาดไหน”

คุณธนารักษ์ : คนทำโดรนหรือทำเทคโนโลยี ก็ไม่เคยคุยกับคนทำเกษตร ฉะนั้นข้อมูลจึงไม่มีอะไรมารวมกันได้

คุณตรรก : Innovation ในเมืองไทยด้านการเกษตรส่วนใหญ่จะไปเรื่องพืชไร่ เช่น น้ำตาลหรือข้าวโพดมากกว่า แต่ไม่ใช่สำหรับอุตสาหกรรมปาล์มของเรา การบินโดรนเราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่อได้ ซึ่งเราก็พัฒนาบางตัวที่เราต้องการ เช่น พัฒนาเทคโนโลยีการนับต้นไม้ และตรวจสอบว่าต้นไม้ต้นไหนไม่ดี โดยที่ตอนนี้ยังเป็นการตรวจสอบด้วยคนอยู่ เราอยากได้เทคโนโลยีที่มันเฉพาะทางกับอุตสาหกรรมของเรา โดยเรามีเครือข่ายกับทางอิสราเอลอยู่แล้ว เราก็เข้าถึงได้ง่ายขึ้น

เมืองไทยขาดอะไร ถ้าจะทำธุรกิจเพื่อสนุบสนุนภาคธุรกิจ

คุณธนารักษ์ : ผมมองว่าคนไทยไม่ลงลึกในเรื่องการเกษตร นักศึกษาปริญญาโท ถ้าลงลึกก็จะไม่จบ ยกตัวอย่าง Smart Farming  จะเห็นว่าในต่างประเทศทำได้ดีกว่า เพราะเค้าลงรายละเอียดลึกกว่าเรา

คุณตรรก : คนทำ innovation ไม่ได้เข้าใจอุตสาหกรรมนั้นจริงๆ เราก็เห็นว่า Startup หลายๆ ตัว คิดว่าจะทำอะไรขึ้นมา แต่ก็ยังไม่ได้ไปถามคนซื้อ หรือว่ายังไม่ได้เข้าใจปัญหาที่แท้จริงว่าปัญหาเกิดจากอะไร เขาจะหยุดแค่เค้ารู้ว่านี่คือปัญหา แต่ไม่ได้เข้าไปแก้ปัญหานั้นจริงๆ เหมือนกับการที่เราทำวิจัยกับมหาวิทยาลัย เข้ามาแค่ช่วงที่มีทุน แต่เค้าไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมนั้นๆ เรื่อยๆ  ไม่เหมือนกับเอกชนที่ทำมาเรื่อยๆ เรารู้ว่าปัญหาคืออะไร แต่ทางนักวิจัยของบ้านเราไม่ได้มีเวลามาอยู่กับมันทั้งปี มันทำให้ innovation เกิดขึ้นยาก ถ้าเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็จะมีการต่อต้าน innovation ขึ้นมาว่า ก็ทำแล้วไม่เห็นได้อะไรเลย

นิยาม Digital Transformation

คุณธนารักษ์: การพยายามหาเทคโนโลยีและทำให้เข้ากับสิ่งที่เกิดขึ้น ผมเห็น Digital Transformation มาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว เราก็เลยไม่เห็นว่าความเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลเป็นอุปสรรค เราสามารถไปกับมันได้ อย่างเรื่องของการเกษตรเราก็พยายามทำ Controlling Management โดยใช้เรื่องของเทคโนโลยีเข้ามาช่วย

วิธีที่ใช้ในการวัดผล Innovation

คุณตรรก: คนทำ KPI ต้อง Set กันก่อนที่จะเริ่ม บางโครงการที่เราไม่ได้ Set ก่อนเริ่มเราจะเห็นอย่างชัดเจนเลยว่า เราไม่รู้จะทำอะไรต่อ ไม่รู้ว่าดีหรือไม่ดี อย่างแรกคือต้อง Set ก่อนเลยว่าเทคโนโลยีต้องดีได้ขนาดไหน ถึงเราจะนำมาใช้ จะได้ทำให้ได้ตามที่ตั้งไว้ เช่น ตั้งไว้ 4 ตัว ถ้าผ่าน 3 ใน 4 ก็แสดงว่าน่าจะนำมาใช้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่ที่อุตสาหกรรมด้วย

คุณธนารักษ์: ต้องเห็นคำตอบก่อน เพื่อที่จะได้มองต่อไปว่ามันคืออะไร ถ้ามีความเชี่ยวชาญอยู่ในตัวก็สามารถไปต่อได้ มองความต้องการว่าเราต้องการอะไร

อะไรคือ Secret Sauce ที่ทำให้ประสบความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้

คุณธนารักษ์: Logical Thinking สามารถคำนวณทุกอย่างเป็นตัวเลขได้ ประเมินเป็นตัวเลข เรียนรู้จากสิ่งที่ผ่านมาแล้วเอามาต่อยอด

คุณตรรก: คล้ายๆ กัน ถ้าเห็นเป็นตัวเลขก็คุยกันง่าย ถ้าเป็นเรื่องความรู้สึกมันเถียงกันไม่จบ เราทำตามสมมติฐานรุ่นก่อนๆ ที่ทำมา ทำให้ดีขึ้นเพราะเค้าก็ทำมาดีแล้ว ถ่ายทอดความรู้ด้วยการคุยกัน

และในดำเนินการตามรอยตั้งแต่ยุคของคุณปู่ เรา “รู้จริง ทำจริง”

“สิ่งสำคัญคือเราไม่กลัวที่จะเจอกับการเปลี่ยนแปลง มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลากับธุรกิจที่ผ่านมา แล้วเราก็พร้อมที่จะคิด หาวิธีการ หาทางออกที่จะดำเนินธุรกิจให้ไปต่อ”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...