เมื่อถามถึง Corporate Venture Capital ของไทยที่ลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ หนึ่งในชื่อแรกๆ ที่เหล่าสตาร์ทอัพนึกถึงต้องมี InVent อยู่อย่างแน่นอน InVent เป็นหน่วยงานที่ดูแลทางด้านการลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพของบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ Intouch และเป็นผู้ลงทุนในสตาร์ทอัพระดับแนวหน้าของประเทศไทย อาทิ เช่น Ookbee Computerlogy และ Wongnai รวมถึงสตาร์ทอัพไทยในสหรัฐฯ อย่าง Social Nation อีกด้วย ก่อนที่เราจะมาพบกับทีมงานเบื้องหลังของ InVent คุณธนพงษ์ ณ ระนอง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานบริษัทร่วมทุน บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ พี่มด หัวเรือสำคัญของ InVent ได้ให้ข้อมูลกับ Techsauce และอธิบายถึงขอบเขตการทำงานและความรับผิดชอบของ InVent ว่า
“InVent เป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ (VC) ของ Intouch ทำหน้าที่ดูแลงานทั้งหมดด้าน VC โดยจะมีหน่วยงานอื่นๆใน Intouch ที่เข้ามาช่วยสนับสนุนงานด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานบัญชี กฏหมาย หรือฝ่ายบุคคล ในส่วนของทีม InVent นั้นเราแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ
ปัจจุบันทีมงาน InVent ของเราไม่ได้ใหญ่มาก โดยมีจำนวน 6 คนซึ่งแต่ละคนมีความเชี่ยวชาญที่ต่างกันออกไป แต่ทุกคนมีความเข้าใจที่ดีในเรื่องของธุรกิจสตาร์ทอัพ”
(จากซ้ายไปขวา) คุณพงศ์วุฒิ อิทธิพูลสวัสดิ์ (กอล์ฟ) คุณศุภารัตน์ โอภาสยานนท์ (แหม่ม) คุณธนพงษ์ ณ ระนอง (พี่มด) คุณทวันทว์ บุณยะวัฒน์ (ทวันทว์) คุณนิธิมา บุญโพธิ์ (เอ๋) และคุณวิธวินท์ อิทธิภาณุวัต (วิน)
คุณกอล์ฟและคุณวิน: เราจะดูแลในส่วนงานการลงทุนใหม่ (New Investment) ตั้งแต่การสร้างแบรนด์และเน็ตเวิร์คที่ดีเพื่อหาสตาร์ทอัพใหม่ๆที่น่าลงทุน (Deal Sourcing) งานประเมินโปรดักต์ ตลาด บริษัทและตัวผู้ก่อตั้งซึ่งต้องมีการทำรีเสิชและหาข้อมูลกันอย่างละเอียดเพื่อให้ทีมมีความเข้าใจมากที่สุดในแต่ละอุตสาหกรรมหรือฟังก์ชันเฉพาะด้านก่อนตัดสินใจทำการลงทุน การทำ Due Diligence (ดูรายละเอียดเพิ่มเติม) ไปจนถึงการเจรจา การวางโครงสร้างดีลและการทำดีลให้สำเร็จ (Deal Structuring & Execution)
คุณทวันทว์: ผมรับผิดชอบการดูแลให้คำปรึกษาแก่บริษัทภายหลังที่เราทำการลงทุนไปแล้ว (Post-Investment) โดยเน้นช่วยเหลือให้แต่ละบริษัทที่เราลงทุนไปเติบโตขึ้น รวมถึงการพาไปคุยกับพาร์ทเนอร์ต่างๆในเน็ตเวิร์คของเราเพื่อพัฒนาและต่อยอดธุรกิจให้เติบโต นอกจากนี้ ในบางเรื่องที่ขอร่วมพิจารณากับบริษัทก็ต้องควบคุมให้ได้ตามสัญญา ปกติทาง InVent จะมีการนัดพูดคุยรายเดือนกับแต่ละบริษัทที่ได้ลงทุนไปเพื่อสร้างความมั่นใจว่าแต่ละบริษัทจะสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ บางครั้งอาจมองว่าเป็นการมอนิเตอร์เพื่อควบคุมแต่จริงๆแล้วทางทีมมีความใส่ใจที่จะเข้าไปฟังและคอยสอบถามอย่างใกล้ชิดว่ามีปัญหาหรือเรื่องอะไรที่ทางทีมสามารถช่วยเหลือได้ เพราะโดยธรรมชาติของบริษัทสตาร์ทอัพหลายๆอย่างเปลี่ยนแปลงกันเร็วมาก บางเรื่องถ้าทิ้งไว้นานก็อาจช่วยเหลือได้ไม่ทันการ
คุณแหม่มและคุณเอ๋: เราดูแลในส่วนงานสนับสนุนอื่นๆ ตั้งแต่การตลาด (Marketing) งานสื่อสารและประชาสัมพันธ์ (Communications & PR) รวมไปถึงการจัดกิจกรรมและอีเว้นท์ต่างๆ เช่น การพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ระหว่างผู้บริหารบริษัทที่เราได้ลงทุนไป หรือกิจกรรมประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างแบรนด์ให้ InVent และบริษัทสตาร์ทอัพของเรา นอกจากนี้ก็สนับสนุนในส่วนของการดูแลบริษัทต่างๆหลังการลงทุนด้วยเช่นกัน
แต่ละท่านตอบมาเป็นเสียงเดียวกันว่า ในงาน VC ก็มีบทบาทที่หลากหลาย ไม่ใช่เพียงงานลงทุนอย่างเดียว ดังนั้นจึงไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องจบด้านการเงินมาโดยตรงอย่างที่หลายๆคนคิด เพราะการประเมินมูลค่าบริษัทเป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานเท่านั้น อย่างไรก็ตามก็แนะนำว่าในทีมที่ดูแลการลงทุนก็ควรมีอย่างน้อยหนึ่งคนในทีมที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการเงินโดยเฉพาะ แต่คนที่ทำงานด้านนี้จำเป็นต้องมีความเข้าใจเรื่องธุรกิจและกฏหมายพื้นฐาน รวมถึงความรู้ในด้านเทคโนโลยีด้วย เพราะสุดท้ายแล้วงาน VC คือการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ความต้องการของตลาดและโปรดักต์มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว ทางทีมเชื่อว่านักลงทุนที่ดีควรจะต้องมีความสามารถในการมองคน ตลอดจนเข้าใจในเทคโนโลยีและรู้ถึงความต้องการของตลาดอยู่ตลอดเวลา
คุณกอล์ฟ: เนื่องจากทางทีม InVent จะเน้นการลงทุนในบริษัทระดับ Series A เป็นต้นไป ในแต่ละปีจะมีจำนวนไม่มากอยู่แล้วเมื่อเทียบกับบริษัทในระดับ Seed ที่จะมีการเพิ่มจำนวนขึ้นในปีหลังๆ และมีข้อสังเกตว่าทางผู้ก่อตั้งในประเทศไทยมักนิยมเริ่มต้นวางแผนการระดมทุนในช่วงปลายปีกันเป็นพิเศษ
คุณวิน: เนื่องจาก InVent มีแบรนด์ที่ดีและที่เป็นที่รู้จักมานานตั้งแต่ยุคแรกๆของวงการสตาร์ทอัพประเทศไทย พอเทรนด์การทำสตาร์ทอัพเริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างขึ้น จำนวนดีลที่ติดต่อเข้ามาก็เยอะขึ้น แต่สุดท้ายแล้วจำนวนดีลที่ดีจริงๆในแต่ละปียังค่อนข้างเท่าเดิมไม่ได้เปลี่ยนไปเท่าไร
คุณวิน: แม้ว่า InVent จะเน้นการลงทุนกับสตาร์ทอัพไทยเป็นหลัก แต่ทางทีมก็มีการขยายไปลงทุนต่างประเทศตั้งแต่ปีที่แล้ว หากเราพบโอกาสการลงทุนที่ดีในต่างประเทศ เราก็พร้อมที่จะลงทุนเช่นกัน เราได้มีการลงทุนที่สิงคโปร์และซิลิคอนวัลเลย์ ในลักษณะการร่วมลงทุน (Co-invest) ไปบ้างแล้วโดยในบางดีล InVent ก็สามารถเป็น Lead Investor ได้ด้วยเช่นกัน
คุณกอล์ฟ: ทางทีมเราพร้อมเปิดรับพิจารณาดีลต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา ซึ่งถ้ามีโปรดักต์ที่มีศักยภาพน่าสนใจ และสามารถนำเข้ามาปรับใช้ได้กับตลาดในประเทศไทยได้ก็จะยิ่งดี
คุณทวันทว์: ความท้าทายนั้นมาจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ปัจจัยภายในก็เช่น การบริหารจัดการของบริษัทสตาร์ทอัพ ที่มีความตั้งใจจะพัฒนาให้ไว แต่ไม่ได้สำรวจตรวจสอบสถานะและกระบวนการทำงานของบริษัทของตัวเองมากพอ เช่น เรื่องบัญชีและกฎหมาย ทางที่ดีควรจัดการโครงสร้างให้ดีทั้งระบบตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน รวมถึง CEO ที่ควรมีทักษะด้านการบริหารจัดการคนซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในการจะทำให้ธุรกิจสำเร็จได้ หากเป็นชาวต่างชาติก็ต้องมีความเข้าใจในเรื่องของวัฒนธรรมและการทำงานของพนักงานคนไทยด้วยเช่นกัน ซึ่ง InVent จะมีทีมงานที่เชี่ยวชาญด้านต่างๆ คอยให้คำปรึกษา ในส่วนนี้จะช่วยให้สตาร์ทอัพนำวิธีการไปปรับใช้ในการบริหารองค์กรเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจ ส่วนปัจจัยภายนอกอาจเป็นเรื่องของสภาพเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค เทคโนโลยี และข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้องต่างๆ ซึ่ง CEO จะต้องให้ความใส่ใจและสามารถปรับเปลี่ยนให้ทัน
คุณแหม่ม: หนึ่งในความท้าทายที่สุดของพวกเราคือการหาบริษัทที่มีผู้ก่อตั้งที่เก่ง มีวินัยในการบริหารงานและสามารถเชื่อใจร่วมงานด้วยกันในระยะยาวได้ ที่เป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับนักลงทุน
พี่มด: ช่วงระยะหลังๆ เมื่อบริษัทเทคสตาร์ทอัพกำลังเป็นที่จับตามองในวงกว้างขึ้น เป็นธรรมดาที่ย่อมมีทั้งคนที่สนับสนุนและคนที่ยังไม่เข้าใจในธุรกิจด้านนี้ดีนัก อยากให้น้องๆ สตาร์ทอัพมีความกล้าที่จะแสดงออกแต่ต้องไม่ควรพูดหรือขายอะไรเกินจริง ควรมุ่งมั่นสร้างผลงานให้เกิดเป็นรูปธรรมและเกิดนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ ให้ผลงานพูดแทนสิ่งที่เราทำ
ทางทีมงาน InVent ยังฝากคำแนะนำทิ้งท้ายไว้ว่า ไม่ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจสตาร์ทอัพจะเป็นอย่างไร สุดท้ายแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดคือพื้นฐานธุรกิจของบริษัท ในขณะที่หลายๆ คนอยากเร่งสร้างมูลค่าบริษัท (Valuation) ให้สูงที่สุด แต่ความจริงแล้วการระดมทุนไม่ใช่ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจใดๆ การระดมทุนที่เหมาะสมต่างหากคือกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ อยากให้สร้างบริษัทอยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืนในระยะยาวตั้งแต่วันแรก และเมื่อธุรกิจของเราดี นักลงทุนที่ดีจะเข้ามาหาเราเอง
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด