ทำอย่างไรให้วงการ e-Commerce ไทย แข่งขันได้ ค้าขายข้ามแดนรอด | Techsauce

ทำอย่างไรให้วงการ e-Commerce ไทย แข่งขันได้ ค้าขายข้ามแดนรอด

อีกงานสัมมนาที่ สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย (THECA) จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนการปลดล็อกศักยภาพธุรกิจของผู้ประกอบการไทยให้เติบโตสู่ตลาดสากล คือ THECA Global-Asia Chapter presents: “Unlocking Cross-Border e-Commerce and Live-Commerce Opportunities for Next-Level Growth” โดยภายในงานมีการพูดถึงการขับเคลื่อน Cross-border e-Commerce และ e-payment ซึ่งเป็นหนึ่งใน 'กลยุทธ์ 8 มิติ ภารกิจเพื่อผลักดันวงการ e-Commerce ไทย' ของทางสมาคมฯ และการเสวนาเกี่ยวกับ Cross-border e-Commerce และ e-payment โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ 

e-commerce, THECAคุณกุลธิรัตน์ ภควัชร์ไกรเลิศ นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเทค อี-บิสสิเนส เซ็นเตอร์ จำกัด 

e-commerce THECAงานสัมมนาเกี่ยวกับ Cross-border e-Commerce และ Cross-border e-payment นี้ สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย (THECA) จัดขึ้นในวันที่ 22 ตุลาคม 2567 ณ ห้อง Auditorium ชั้น 5 อาคารยูโอบี

คุณกุลธิรัตน์ ภควัชร์ไกรเลิศ นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเทค อี-บิสสิเนส เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวถึงตัวเลขในหลากหลายมิติที่เกี่ยวข้องกับการค้าข้ามพรมแดน ความสามารถในการทำธุรกิจและการแข่งขันทางการค้า  สถิติและค่าเฉลี่ยต่างๆ จากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ฯลฯ ดังนี้

  • เทียบให้เห็นจำนวนยูนิคอร์นว่าไทยมีเพียงน้อยนิด
    • อเมริกา มีมากกว่า 600 ตัว
    • จีน มีมากกว่า 400 ตัว
    • สิงคโปร์, ฮ่องกง มี 12 ตัว
    • ไทย มี 3 ตัว
  • ประเทศ/เขตการปกครองที่น่าจับตาจากการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศ (Digital Competitiveness Ranking)
    • อันดับ 4 สิงคโปร์ 
    • อันดับ 9 ฮ่องกง 
    • อันดับ 11 จีน 
    • อันดับ 40 ไทย 
  • ประเทศที่แนะนำให้ผู้ประกอบการไทยคว้าโอกาสการค้าข้ามแดนในภูมิภาค APAC
    • จีน 
    • อินโดนีเซีย 
    • เวียดนาม 
    • ญี่ปุ่น
  • จากการศึกษาแพลตฟอร์ม B2C ในภูมิภาคเอเชีย พบอัตราส่วนการใช้งานมาร์เก็ตเพลสที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ (ที่มา : ESCAP และ THECA) โดยสถิติประเทศไทยมีดังนี้
    • ไทยมี 213 มาร์เก็ตเพลสที่ทำธุรกิจแบบ B2C
    • 88% ของทราฟิกบนมาร์เก็ตเพลสมาจากใช้งานอินเทอร์เน็ต
    • อัตราส่วนการเข้าชมสินค้าออนไลน์คิดเป็น 77% ต่อจำนวนประชากร
    • อัตราส่วนที่มีการซื้อสินค้าออนไลน์อยู่ที่ 55%
    • ความหนาแน่นของ B2C ในไทย คิดเป็น 8.7% ของทราฟิกทั้งหมดที่เกิดขึ้นในภูมิภาคที่ศึกษา

e-commerce THECA

e-commerce THECA

ส่องตลาด e-Commerce แบบรวบรัด 

ท่ามกลางสมรภูมิการค้าออนไลน์ คุณกุลธิรัตน์ให้ข้อมูล การจัดอันดับมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce Value Ranking) ว่า มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซในจีนสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยมียอดขายออนไลน์ต่อปี 2.78 ล้านล้านดอลลาร์ แซงหน้าสหรัฐอเมริกาที่มียอดขายออนไลน์ต่อปีอยู่ที่ 843 พันล้านดอลลาร์

สำหรับตลาดอีคอมเมิร์ซในจีนมีทั้งที่เป็นแพลตฟอร์ม e-Commerce และ Social Commerce ซึ่งมีฐานผู้ใช้งานที่แข็งแกร่งสุดๆ ไม่ว่าจะเป็น

Tiktok

  • จำนวนผู้ใช้แพลตฟอร์ม Tiktok (Active Users) ในจีน (Touyin) อยู่ที่เดือนละ 800 ล้านราย
  • ตัวอย่าง KOL (Key Opinion Leader) ชื่อดัง 'หลี่เจียฉี' มีผู้ติดตามบน Touyin 65 ล้านราย เป็น KOL ที่ขายสินค้าได้ทุกประเภท และโด่งดังมากจากการไลฟ์ขายลิปสติกแล้วมีคนซื้อมากกว่าแจ็ค หม่า จึงได้ชื่อว่าเป็น 'ราชาสิปสติก' ทั้งนี้มีตัวเลขแวดล้อมจากการไลฟ์ของหลี่เจียฉีอันน่าทึ่ง อาทิ
    • สร้างยอดขายลิปสติกได้มากกว่า 15,000 แท่งภายในเวลาไม่กี่นาที 
    • ยอดเข้าชมต่อไลฟ์มีมากกว่า 200 ล้านวิว 
    • สร้างมูลค่ายอดขายโดยเฉลี่ยต่อออร์เดอร์มากกว่า 3,000 บาท 
    • สร้างมูลค่ารายได้ต่อการไลฟ์หนึ่งครั้งอยู่ที่ราว 57 ล้านบาท
    • สร้างยอดขายในช่วงเดือนมกราคม - มิถุนายน 2024 รวม 6 เดือนได้มากกว่า 9.9 หมื่นล้านบาท
    • ทำกิจกรรม CSR ให้ประเทศจีนมากกว่า 1 พันล้านบาท และได้เป็นแบบอย่างที่ดีของ KOL จีน

Kuaishou 

  • เป็นแพลตฟอร์ม Live Commerce และ Video Streaming ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีน รองจาก Touyin
  • จำนวนผู้ใช้แพลตฟอร์ม Kuaishou (Active Users) อยู่ที่วันละ 500 ล้านราย

Xiaohongshu

  • จำนวนผู้ใช้แพลตฟอร์ม Xiaohongshu (Active Users) อยู่ที่เดือนละ 100 ล้านราย

WeChat

  • มีผู้ใช้งานในไทยผ่านไลน์ 52 ล้านบัญชี
  • จำนวนผู้ใช้แพลตฟอร์ม WeChat (Active Users) อยู่ที่เดือนละ 1.3 พันล้านราย

WeTV 

  • เป็นบริษัทลูกของ Tencent 
  • เป็นบริษัทเทคที่มีมูลค่า (Valuation Technology) สูงเป็นอันดับ 1 ของจีน
  • จำนวนผู้ใช้แพลตฟอร์ม WeTV (Active Users) อยู่ที่เดือนละ 120 ล้านราย

Weibo 

  • จำนวนผู้ใช้แพลตฟอร์ม Weibo (Active Users) อยู่ที่เดือนละ 520 ล้านราย

Temu ที่เป็นประเด็นร้อนในไทย

  • Temu มีบริษัทในสิงคโปร์ จึงสามารถทำธุรกิจข้ามแดนไปยังประเทศต่างๆ ได้รวมถึงประเทศไทย
  • Temu นำเสนอสินค้าราคาประหยัดเข้าถึงตลาดใน 77 ประเทศทั่วโลก โดยใช้การตลาดนำจนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเห็นโฆษณาของ Temu มากกว่าแอปอื่นๆ 
  • Temu ใช้กลยุทธ์ Gamification ในการรุกตลาด และสามารถดึงดูดผู้ใช้งานจำนวนมากให้เข้ามาใช้งานแอปซ้ำๆ
  • ในปี 2025 Temu จะเข้ามาเปิดบริษัทในไทย การเสียภาษีก็จะเป็นไปอย่างถูกต้อง

KOL Live commerce trends 2025

e-commerce THECAจากเทรนด์การขายสินค้าผ่าน Live Commerce ที่สามารถสร้างเม็ดเงินได้มหาศาล คุณกุลธิรัตน์แนะคนที่อยากเป็น KOL หรือเป็น KOL แล้วและอยากไลฟ์ขายของให้ปังว่า 1) ต้องเลือกสินค้าที่ตรงกับภาพลักษณ์ของแบรนด์และ KOL โดยดูว่าสินค้านั้นๆ ตรงกับความสนใจของแฟนๆ ของ KOL และถ้า KOL ไลฟ์แล้วจะต้องไม่เสียภาพลักษณ์ ราคาสินค้าก็ต้องสมเหตุสมผลกับกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ติดตาม KOL ด้วย 2) ต้องเลือกสินค้าที่ทำให้คนสนใจได้ตลอดการไลฟ์ มีสินค้าหลากหลาย และ 3) ปัจจัยประกอบอื่นๆ ที่ต้องพิจารณา ได้แก่ แพลตฟอร์มที่เหมาะกับการไลฟ์, บริการเดลิเวอรีที่เหมาะสม, การบอกสถานะของแบรนด์, การนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพเหนือความคาดหมาย และการเล่าเรื่องหรือทำสคริปต์เพื่อให้สินค้าน่าสนใจยิ่งขึ้น 

มากกว่านั้น คุณกุลธิรัตน์ยังเผยเคล็ดวิชาสำหรับแบรนด์เพื่อให้การขายสินค้าผ่าน Live Commerce ปังยิ่งขึ้น ดังนี้

  • ถ้าไม่อยากอยู่หน้ากล้องเอง อาจให้ทีมงานไลฟ์ หรือสร้างทีมไลฟ์อย่างจริงจัง 
  • ถ้าเลือกใช้ KOL ต้องเลือกคนที่เหมาะสมกับสินค้า จ้างให้ถูกคน แล้วตกลงกันให้ดีว่าจะจ้างแบบ PR Model หรือ Commission Model
  • ตั้งราคาสินค้าที่จะไลฟ์ให้ถูกกว่าขายสินค้าหน้าร้านค้าปลีก ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้ประโยชน์
  • เปิดช่องทาง Official ให้แบรนด์สื่อสารกับลูกค้าได้โดยตรง
  • ใช้ช่องทางขายของหลายๆ แพลตฟอร์มเพื่อเพิ่มการรับรู้ อย่าง KOL จีน ใช้ 5 แพลตฟอร์มในการขายของ หากเป็น KOL ในไทยอาจใช้ 3 แพลตฟอร์ม แล้วจะมีอย่างน้อย 1 แพลตฟอร์มที่โดดเด่นขึ้นมา
  • นอกจาก KOL อาจให้ KOC (Key Opinion Customer) คือ ให้ลูกค้ามาเป็น KOL เช่น ศิลปินสาวใช้สินค้าและชื่นชอบแบรนด์อยู่แล้ว แบรนด์ก็สามารถชักชวนมาเป็น Brand Ambassador ได้
  • ต้องมอนิเตอร์ Data ต่างๆ อยู่เสมอ และใช้ AI เป็นเครื่องมือช่วยวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า

3Cs แนวคิดในการพาสินค้าไทยไปบุกตลาดโลก

คุณกุลธิรัตน์ฝากแนวคิดในการพาสินค้าไทยไปบุกตลาดโลกว่าต้องมี 3Cs ได้แก่

  • C - Culture : นำเสนอสินค้าที่มีเอกลักษณ์ มีจุดขายที่แสดงถึงความเป็นไทยหรือวัฒนธรรมไทย
  • C - Connectivity : ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเชื่อมตลาดการค้าและหาพาร์ตเนอร์ในต่างประเทศเพื่อทำตลาดไปทั่วโลก
  • C - Consistency : รักษามาตรฐานของสินค้าและบริการให้ดี เพื่อให้ลูกค้าไว้วางใจและมีความจงรักภักดีต่อแบรนด์

e-commerce THECA

สำหรับปี 2025 คุณกุลธิรัตน์ชี้เป้าว่า เป็นโอกาสอันดีของผู้ประกอบการไทยที่จะลงทุนในตลาดจีน เนื่องจากจีนมีประชากรเป็นพันล้าน เป็นตลาดใหญ่ที่มีกำลังซื้อมาก โดยด้านที่น่าลงทุนมีดังนี้

  • พลังงาน
  • ยานยนต์ไฟฟ้า
  • เศรษฐกิจสีเขียวและผลิตภัณฑ์ BCG
  • ธุรกิจร่วมสร้างกิจการสตาร์ทอัพ
  • อีคอมเมิร์ซ, Live-Commerce & KOL, อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน
  • สินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG)
  • ร้านอาหารค้าปลีกแนวใหม่ที่เชื่อม O2O ได้
  • ธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่บริการ
  • นวัตกรรมใหม่และธุรกิจที่ใช้ AI
  • ปัจจัยที่เสริมความบันเทิง
  • ธุรกิจเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

นอกจากนี้ THECA ยังให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหา 'ทุนเทา' และสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยร่วมกับหลายหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียน รับแจ้งปัญหาสินค้าหรือธุรกิจต่างชาติผิดกฎหมายผ่านแพลตฟอร์ม Traffy Fondue อาทิ สินค้าไม่มี มอก., สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์, คิด Vat แต่ไม่ออกใบกำกับภาษีให้ ทั้งยังรับสมัคร 'นักสืบทุนเทา' เพื่อร่วมสืบหาต้นทางหรือร่วมแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วย

e-commerce THECA

ภายในงานยังมีการแลกเปลี่ยนความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้าน Cross-Border & e-payment และ AI business ผ่าน Panel Talk 'Global Cross-Border e-Commerce & Payment landscape: อัปเดตเทรนด์การชำระเงินทั่วโลก-เอเชีย' โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ คุณเพิ่มบุญ เอี่ยมสุภาษิต เลขาธิการสมาคม และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พระอินทร์ ฟินเทค จำกัด คุณนริสา เชื่อวิดุล - ออว์ กรรมการสมาคม และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โคโกะเพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด คุณแอนดริว ฮอง ซาน จี (Mr. Andrew Hong San Djie) กรรมการสมาคม และ Managing Director บริษัท ชแนลมีเดีย จำกัด, การบรรยายพิเศษจากธนาคารยูโอบี ประเทศไทย รวมถึง 4 บริษัทชั้นนำ เกี่ยวกับ CBEC & e-payment และ Live-Commerce Pingpong payment Goumee International VMO Thailand Cloudcommerce โดยมี คุณปุญญามาลย์ สุบรรณ ณ อยุธยา กรรมการและโฆษกสมาคมฯ เป็นผู้ดำเนินรายการ 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไข 5 ความลับไต้หวัน ที่ทำให้อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์แกร่งที่สุดในโลก

สำรวจเหตุผลที่ทำให้ไต้หวันกลายเป็นผู้นำอุตสาหกรรมเเซมิคอนดักเตอร์ระดับโลก พร้อมเจาะลึกกลยุทธ์ของ TSMC และบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีแห่งอนาคต...

Responsive image

AGI มาแน่ในปี 2025 ? ทำไม OpenAI ถึงเป็นเจ้าแรกที่ทำ AI ที่ฉลาดเหนือมนุษย์ได้ก่อนใคร

นักวิจัยจาก OpenAI เคยออกมาคาดการณ์ว่า AGI หรือปัญญาประดิษฐ์ที่เหมือนมนุษย์มากท่ีสุด หรือฉลาดเหนือมนุษย์หลายเท่า อาจมาให้เห็นภายในช่วง 3 ปีนับจากนี้ แต่ล่าสุดดูเหมือนว่าเราอาจไม่ต้...

Responsive image

ถกยุทธศาสตร์ AI ไทย หนทางดึงไทยกลับเวทีโลก ควรเริ่มอย่างไร ?

ค้นพบโอกาสและความท้าทายของ AI ที่จะพลิกโฉมเศรษฐกิจและสังคมไทย พร้อมกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาประเทศให้ก้าวทันโลกในยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน!...