Blockchain ได้กลายเป็นที่ยอมรับระดับโลกในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย ที่นำคุณสมบัติของเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป บทความนี้เราจะพามาทำความรู้จัก 3 ประเภทของ Blockchainว่ามีอะไรบ้าง รวมถึงตัวอย่างการนำไปใช้งานเบื้องต้นในอุตสาหกรรมต่างๆด้วย
Public blockchain เป็น Blockchain ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมได้ เนื่องจากเป็น Open Network ทั้งหมด โดยลักษณะของการใช้งานพื้นฐานของ Blockchain ประเภทนี้ คือ การแลกเปลี่ยน Cryptocurrency และการขุด รวมถึงความสามารถในการรักษาความไว้วางใจระหว่าง Community ของผู้ใช้ทั้งหมด
เนื่องจากทุกคนในเครือข่ายรู้สึกมีแรงจูงใจที่จะทำงานเพื่อพัฒนาเครือข่าย แต่ข้อเสียของ Blockchain ประเภทนี้ คือ ต้องใช้พลังงานจำนวนมากในการประมวลผลธุรกรรมเพราะใช้ระบบ Proof of work ในการตรวจสอบธุรกรรม และปัญหาอีกอย่างที่พบเจอคือ การเปิดกว้างเกินไป จึงทำให้ไม่มีความเป็นส่วนตัวในการทำธุรกรรมเท่าไรนัก
ตัวอย่างของ Public blockchain network เช่น Bitcoin , Ethereum , BNB Chain ซึ่งต่างเป็น Blockchain ยอดนิยมที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย
Private blockchain คือ Blockchain ที่ทำงานในเครือข่ายแบบปิด ซึ่งสามารถเข้าร่วมได้เฉพาะบุคคลที่ได้รับอนุญาตหรือคำเชิญเท่านั้น โดย Blockchain ประเภทนี้เหมาะที่สุดสำหรับองค์กรและธุรกิจที่ต้องการใช้ Blockchain สำหรับการใช้งานภายใน
ขณะที่การทำธุรกรรมใน Private blockchain นั้นเร็วและง่ายเมื่อเทียบกับ Public blockchain แต่ข้อเสีย คือ ไม่มีการกระจายอำนาจ เนื่องจากมีผู้มีอำนาจเพียงคนเดียวที่ดูแลเครือข่าย
ตัวอย่างของ Private blockchain network ได้แก่ Ripple (XRP) เครือข่ายแลกเปลี่ยนสกุลเงินเสมือนระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ
Consortium blockchain เป็น Blockchain ที่จำกัดผู้ใช้งาน โดยเป็นการผสมกันระหว่าง Public Blockchain และ Private Blockchain โดยที่องค์กรมากกว่าหนึ่งแห่งจะทำหน้าที่อนุญาตในการให้เข้าถึงโหนดที่เลือกไว้ล่วงหน้าสำหรับการอ่าน เขียน และตรวจสอบ Blockchain
นอกจากนี้ Consortium blockchain จะไม่เน้นที่สกุลเงินดิจิทัล เนื่องจากมีเพียงผู้เข้าร่วมที่เลือกไว้ล่วงหน้าเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วม จึงไม่จำเป็นต้องมีแรงจูงใจทางการเงินโดยตรง
ตัวอย่างการนำมาใช้ เช่น การจัดระบบการสร้างฉันทามติระหว่างองค์กร Consortium blockchain มักจะมีประสิทธิภาพมากกว่า Public Blockchain แต่มีข้อจำกัดเรื่องการกระจายอำนาจที่น้อยกว่าจึงเป็นสาเหตุที่ผู้เข้าร่วมแต่ละคนได้รับอำนาจมากกว่า
เราสามารถนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายด้าน เช่น Supply chain, การเงิน, อสังหาริมทรัพย์ และพลังงาน โดยบริษัทและบุคคลสามารถหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายและความไม่ชัดเจนในการโต้ตอบกับบุคคลที่สามในการดำเนินธุรกิจได้โดยการนำ Smart Contract มาใช้
นอกจากนี้ในอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องบริหารจัดการข้อมูลให้ปลอดภัย เช่น การดูแลสุขภาพและการระบุตัวตนทางดิจิทัล Blockchain จะช่วยให้ผู้ใช้ไม่เปิดเผยตัวตนและช่วยถ่ายโอนข้อมูลอย่างปลอดภัย
และสำหรับรัฐบาลและหน่วยงานทั่วโลก Blockchain สามรถนำมาใช้ในการรักษาความปลอดภัยในการทำธุรกรรม เพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน รวมทั้งสามารถสร้างความเชื่อใจแก่ประชาชนได้ เช่น รัฐบาลสามารถใช้ Blockchain เพื่อปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น วันเกิด หมายเลขประกันสังคม ที่อยู่ และหมายเลขใบขับขี่
อ้างอิง Blockchain Council, Cointelegraph, OriginStamp
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด