คุยกับ ทิวา ยอร์ค ‘ความล้มเหลว’ ที่ทำให้เกิด Digital Transformation | Techsauce

คุยกับ ทิวา ยอร์ค ‘ความล้มเหลว’ ที่ทำให้เกิด Digital Transformation

เมื่อปลายเดือนมกราคาที่ผ่านมา Kaidee แพลตฟอร์มที่เป็นเหมือนตลาดนัดมือสอง ได้เปิดบ้านพร้อมแถลงแผนปี 2018 ที่เตรียมรุกหน้าพัฒนาตลาดซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ และสร้างตลาด FarmKaidee โดยเปิดโอกาสให้เกษตรกรไทยมีพื้นที่ซื้อ-ขายออนไลน์ ซึ่งเรียกได้ว่าในช่วงหลายปีมานี้ Kaidee เป็นหนึ่งใน Startup ที่ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในแพลตฟอร์มซื้อขายออนไลน์บ้านเรา ในบทความนี้ Techsauce ได้นั่งคุยกับคุณทิวา ยอร์ค Head Coach/CEO ของ Kaidee (ที่เราหลายคนมักเคยได้เห็นในโฆษณาของ Kaidee) ถึงการสร้างทีมพัฒนาและสร้างความแข็งแกร่งให้ Kaidee เติบโตได้จนถึงทุกวันนี้ และความล้มเหลวที่ทำให้เกิด Digital Transformation

วัฒนธรรมองค์กรและแรงจูงใจของทีม Kaidee คืออะไร?

คุณทิวา: วัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งที่เราตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อขับเคลื่อนทีมให้แข็งแกร่ง แต่ก่อนเรามี 8 ข้อแปะไว้ที่ผนังด้านหน้าออฟฟิศ ตอนนี้เราลดลงเหลือเพียง 3 ข้อ โดยเกิดจากที่ทุกคน ทุกระดับในองค์กรร่วมกันสร้างขึ้นมา ไม่ใช่เพียงคนใดคนหนึ่งในองค์กรเท่านั้น เราคือใคร วัฒนธรรมที่เราต้องการคืออะไร เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดในองค์กรของเรา มี 3 อย่าง คือ Team, Ownership และ Passion Team คือ เราเป็นทีมทำงานด้วยกัน Ownership คือ รับผิดชอบในสิ่งที่ต้องทำ Passion คือ ใส่ใจกับสิ่งที่ทำ

ถ้าพูดถึง Digital ในองค์กร คนไทยมีความสามารถ มีไอเดีย มีฝีมือ สิ่งที่ Kaidee ทำคือสร้างทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อให้ทุกคนไม่ว่าจะเป็นใคร อยากให้แสดงออกว่าคิดอะไร มีไอเดียอะไร ไม่ว่าจะเกี่ยวกับออฟฟิศหรือผลิตภัณฑ์ของเรา มีการทำ User test ให้แม่บ้านในองค์กรได้ลองใช้ ถ้าใช้แล้วยังมีข้อสงสัยก็แสดงว่ามันยังไม่ง่ายพอ เราต้องการให้ทีมเราแสดงออกมาว่าเค้าคิดเห็นอย่างไร อยากเปิดพื้นที่ให้เค้าได้แสดงความคิดเห็น เพื่อที่จะช่วยให้องค์กรดีขึ้น

ทัศนคติเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แต่ทักษะหรือความสามารถคือสิ่งที่เขาเขียนมาใน CV ทักษะเป็นสิ่งที่เราสามารถสอนได้ แต่ที่ไม่สามารถสอนได้คือนิสัย ซึ่งคนที่จะเข้ามาในองค์กรก็จะต้องมี  3 ข้อที่กล่าวไปข้างต้นด้วย

Digital Transformation ในมุมมองของคุณทิวา?

คุณทิวา: ผมมองว่า Digital เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยธุรกิจได้ ผู้ประกอบการต้องคิดว่าจะใช้ Digital ทำอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง Kaidee เราวางตัวเป็น Marketplace ที่ให้ปู่ ย่า ตา ยาย เข้ามาขายของโดยไม่ต้องคิดมาก

ปัจจุบัน Digital Transformation เป็นสถานการณ์บังคับไปแล้ว แต่ต้องนำมาใช้ให้เหมาะสมกับประเภทธุรกิจที่ทำอยู่ เช่น หนังสือพิมพ์ สำคัญที่ผู้อ่าน ถ้าไม่มีผู้อ่านก็อยู่ไม่ได้ หนังสือพิมพ์ก็ต้องมาคิดว่าจะเข้าถึงผู้อ่านได้อย่างไร

“Digital Transformation ขึ้นอยู่กับ Mindset ของแต่ละองค์กรว่าเราจะทำหรือไม่ องค์กรทั่วๆ ไป จะมีแนวคิดว่าต้องการให้พนักงานทุกคนเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ออกไปทำอะไรเพื่อเรียนรู้ แต่เขาลืมไปว่าการที่คนๆ หนึ่งได้ทำอะไรแล้ว fail นั่นคือการเรียนรู้อย่างหนึ่ง”

Mindset ของ Kaidee ที่เรามองทีมคือ เราเชื่อว่าการที่พนักงานหนึ่งคนคิดอะไรขึ้นมาได้และอยากลองทำ ความล้มเหลวนั้นมันเป็นสิ่งที่เรารับได้นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้เขาบอกต่อกับคนรอบข้างหรือคนในทีมว่านี่คือสิ่งที่เราได้เรียนรู้มา และเราจะได้ไม่ต้องทำพลาดซ้ำอีก

“คนไทยคิดว่า Fail ไม่ดี แต่ถ้าไม่ Fail แสดงว่าคุณยังไม่เคยลงมือทำ แต่องค์กรใหญ่ต้องมั่นใจก่อนว่ามันเวิร์คแล้วค่อยทำ ถ้าอย่างนั้น Digital Transformation ก็ไม่เกิด”

หลายๆ คนอาจจะมองว่า Digital Transformation คือการทำแอปพลิเคชันหรือทำเว็บไซต์ขึ้นมา แต่จริงๆ ไม่ได้เป็นอย่างนั้น คำว่า Digital Transformation เกิดได้จากสิ่งเล็กๆ เหมือนที่เราทำ เราไม่ได้มองว่า Kaidee ใหญ่ เรามองว่าสิ่งที่เราทำมันเล็กมาก แต่เราสามารถสร้างความแตกต่างให้กับชีวิตคนได้ นี่คือนิยามของ Digital Transformation ของ Kaidee  

อะไรที่ทำให้องค์กรเปลี่ยนแปลงได้ยาก?

คุณทิวา: Digital Transformation เป็นวิธีคิดมากกว่ามากกว่าที่จะใช้เครื่องมือ ขึ้นอยู่กับ mindset ของแต่ละองค์กรว่าเราทำได้หรือไม่ เราจะเปลี่ยนโลกนี้หรือลูกค้าของเราอย่างไร เป็นสิ่งที่ยากกว่า ลองลงมือทำให้เกิดขึ้นมาก่อน แล้วค่อยคิดว่าเราจะทำอย่างไรต่อไป

องค์กรทั่วๆ ไป จะมีแนวคิดว่าต้องการให้พนักงานทุกคนเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ออกไปทำอะไรเพื่อเรียนรู้ แต่เขาลืมไปว่าการที่คนๆหนึ่งได้ทำอะไรแล้วล้มเหลว นั่นคือการเรียนรู้อย่างหนึ่ง เราเชื่อว่าการที่พนักงานหนึ่งคนคิดอะไรขึ้นมาได้และอยากลองทำ และความล้มเหลวนั้นมันเป็นสิ่งที่เรารับได้ นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้เขาบอกต่อกับคนรอบข้างหรือคนในทีมว่านี่คือสิ่งที่เราได้เรียนรู้มา เพราะความล้มเหลวในครั้งนี้ และเราจะได้ไม่ต้องทำพลาดซ้ำอีก นี่คือ Mindset ของ Kaidee ที่เรามองทีม

“ส่วนหนึ่งมาจากวัฒนธรรมของประเทศเราที่เมื่อเราเคยล้มเหลวแล้ว ทำให้เราไม่กล้าที่จะลงมือทำอะไร”

Kaidee มีวิธีการ Re-brand อย่างไรให้ลูกค้าลบชื่อเดิมออกไปได้?

คุณทิวา: ความเข้าใจเรื่อง Brand ของแต่ละคนคือ Brand จะแยกออกมาจาก Performance แต่สำหรับเราอะไรที่เป็นการตลาดถือว่าเป็น Brand หมด สิ่งสำคัญของ Brand ที่ Kaidee ให้กับลูกค้าคือบริการที่ไม่เคยเปลี่ยน ลูกค้าก็เข้าใจว่าคุณค่าอยู่ตรงไหน เขาได้อะไรจากสิ่งที่เราทำอยู่

“เราเปลี่ยน Brand ได้ แต่คุณค่ากับสิ่งที่ทำอยู่ไม่เคยเปลี่ยน” ความท้าทายทางธุรกิจ Kaidee เมื่อต้องรับมือกับคู่แข่ง?

คุณทิวา: สิ่งสำคัญคือโจทย์ของเราไม่เคยเปลี่ยน สุดท้ายคนจะรัก Kaidee เพราะ คนขายนำของมาลงขาย คนซื้อต้องการสินค้าที่ไม่เหมือนที่อื่นและในราคาที่เหมาะสม ไม่ว่าจะมีคู่แข่งเข้ามาโจทย์ของเราก็ยังเหมือนเดิม เรามองว่าเราทำธุรกิจนี้ไม่ใช่เพื่อคู่แข่ง แต่เพื่อลูกค้า

Kaidee เป็นตลาดนัด ที่เลือกใช้เทคโนโลยีขยายพื้นที่ตลาดนัดนี้ให้ใหญ่ที่สุด ใครก็สามารถลงขายของในหมวดหมู่กว่า 264 หมวดได้ พ่อค้าแม่ค้านึกไม่ออกก็เอาของมาลงขายดี แล้วก็เจอคนที่รอจะซื้อของในหมวดหมู่นั้นๆ อยู่ ซึ่งเมื่อปี 2017 มีการค้นหาสินค้าใน Kaidee วันละ 2 - 3 ล้าน ที่น่าสนใจคือสินค้ามีหลากหลายมาก อย่างสินค้าที่คนค้นหามากอันดับที่ 11 คือรถไถ นี่ก็แสดงว่าเทคโนโลยีเราได้เปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้ลูกค้าได้แล้ว

ผ่านเรื่องราวมากมาย ความท้าทายในฐานะผู้บริหารระดับสูงเป็นอย่างไร?

คุณทิวา: การจะนำวัฒนธรรมขององค์กรเราไปทำให้มันเกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ยากมาก เราจะสื่อสารกับคนในองค์กรให้เข้าใจได้อย่างไร เพราะปัญหาขององค์กรไม่ว่าจะขนาดไหน ส่วนใหญ่คือปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างทีม แต่สิ่งที่ทำให้ผมมีความสุข คือการที่เห็นผู้ใช้บอกว่าลงขายสินค้าและขายสินค้านั้นได้ เกิดเป็นแรงบันดาลใจและมีแรงที่จะสู้ต่อจากลูกค้าที่บอกว่ามันดี

“ เขาขายของที่เขาไม่ได้ใช้แล้ว ไม่ต้องซื้อของใหม่ ส่งผลต่อ Carbon Footprint เราเชื่อว่าการซื้อขายของมือสองทำให้ชีวิตคุณดีขึ้นได้ เราเชื่อว่าเราสามารถสร้างทีมคนไทยให้เกิดขึ้นในระดับโลกได้ นี่เป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้เราอยากตื่นขึ้นมาในตอนเช้า ไม่ได้ตื่นมาเพราะจะได้โบนัส ”

Secret Sauce ในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

คุณทิวา: สำหรับเราคือเรายอมรับการเปลี่ยนแปลง อย่าใช้อีโก้เข้ามา อยู่ที่ว่าเราจะยอมเปลี่ยนตัวเองหรือไม่ในธุรกิจมีแค่ 2 แบบ คือ โตหรือตาย ไม่มีธุรกิจใดที่จะอยู่คงที่เดิม ธุรกิจที่คิดว่าจะอยู่ตลอดไป แสดงว่าคุณกำลังจะตาย เพราะคุณไม่ได้ปรับหรือเปลี่ยนเพื่ออะไรใหม่ๆ บางธุรกิจถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนเพียงเล็กน้อย ก็ถือว่าได้เปลี่ยนแล้ว โอกาสโตให้ธุรกิจก็จะมีมากยิ่งขึ้น

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...