เจาะแนวคิด TMB Business ONE เมื่อธนาคารดิจิทัลต้องเป็นมากกว่าเครื่องมือทำธุรกรรมการเงิน | Techsauce

เจาะแนวคิด TMB Business ONE เมื่อธนาคารดิจิทัลต้องเป็นมากกว่าเครื่องมือทำธุรกรรมการเงิน

ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้ ในภาคธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือองค์กรขนาดใหญ่ การทำ Digital Transformation กลายเป็นความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ผู้ประกอบการต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพื่ออำนวยความสะดวก และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจมากขึ้น โดยเฉพาะในการดำเนินงานด้านการเงิน ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของการหล่อเลี้ยงธุรกิจ แม้ว่าที่ผ่านมา Digital Banking จะเข้ามามีบทบาทสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับผู้ประกอบการแล้วอาจจะยังไม่ได้ตอบโจทย์มากที่สุด ซึ่งปัญหาหลัก ๆ จะอยู่ที่ประสบการณ์ของผู้ใช้ที่อาจจะมีความซับซ้อนเกินไป และไม่ได้ครอบคลุมฟังก์ชันสำหรับภาคธุรกิจเท่าที่ควร ทำให้ TMB ซึ่งเป็นธนาคารที่พัฒนาโซลูชันเพื่อลูกค้าธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องนั้น ได้พัฒนา “Business ONE” แพลตฟอร์มธนาคารดิจิทัลรูปแบบใหม่ ที่สามารถเข้ามาแก้ทุก Pain Point ของลูกค้าธุรกิจได้อย่างครอบคลุม และตอบโจทย์การดำเนินงานของภาคธุรกิจได้อย่างครบวงจรเช่นกัน

Techsauce ได้มีโอกาสพูดคุยกับ คุณเสนธิป ศรีไพพรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ และคุณรัชกร ชยาภิรัต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารนวัตกรรมทางดิจิทัล (ลูกค้าธุรกิจ) ของ TMB  ซึ่งเป็น 2 ผู้บริหารผู้อยู่เบื้องหลังการพัฒนาแพลตฟอร์ม “Business ONE” ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ ถึงแนวคิดที่ต้องการทำให้ Digital Banking สามารถพัฒนาไปได้ไกลมากกว่าการให้บริการธุรกรรมทางการเงินแก่ลูกค้าธุรกิจ มาให้ติดตามกัน

TMB Business ONE

ที่มาของแนวคิด ทลายกรอบ Digital Banking แบบเดิม สู่การทำความเข้าใจลูกค้าด้วย Design Thinking

คุณเสนธิป กล่าวว่า เดิมในการให้บริการลูกค้าทุกธนาคารต่างก็มีช่องทางของ Digital Banking ให้กับลูกค้าธุรกิจอยู่แล้ว แต่ Pain Point สำหรับลูกค้าที่เป็นจุดร่วมเดียวกัน คือ User Experience จากการใช้งานที่ยาก และมีความซับซ้อน ดังนั้นจึงทำให้ TMB ได้พัฒนา “Business ONE” ขึ้นมา เพราะเรามองไปไกลกว่าเพียงแค่การเป็นธนาคารดิจิทัลที่ดีขึ้น ใหม่ขึ้น ใช้งานง่ายขึ้นเท่านั้น แต่เราได้นำกระบวนการ Design Thinking มาใช้ในการออกแบบโซลูชันสำหรับลูกค้า จึงทำให้ต้องคิดใหม่ทั้งหมด

TMB Business ONE

ทุกวันนี้การทำธุรกรรมบนออนไลน์ของไทยมีการเติบโตสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ลูกค้าธุรกิจยังประสบปัญหาหลายประการเวลาทำธุรกรรมบนดิจิทัล หรือ อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง Pain Point หลาย ๆ อย่างทำให้ลูกค้าไม่สามารถทำธุรกรรมได้อย่างครบวงจร อาทิ การใช้งานต้องเข้าหลายระบบ มีขั้นตอนเยอะ บางอย่างซับซ้อนและใช้งานยาก เป็นต้น จากปัญหาการใช้งานต่าง ๆ ที่ลูกค้าต้องเผชิญ สุดท้ายอาจทำให้เลือกที่จะทำธุรกรรมแบบเดิม ๆ หรือเข้าไปทำธุรกรรมการเงินที่สาขาเพื่อตัดปัญหาแทน  

“Business ONE” ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจนี้ ไม่ได้ต้องการจะเป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มทั่วไป เพียงแค่ดีขึ้น ใหม่ขึ้น หรือใช้งานง่ายขึ้นเท่านั้น แต่จะต้องสามารถแก้ Pain Point ของลูกค้าธุรกิจได้จริง โดยเราใช้ Design Thinking ในการออกแบบแพลตฟอร์ม ซึ่งทำให้เราต้องคิดใหม่เลยว่า Digital Banking จะต้องไม่เพียงทำได้แค่การเป็นช่องทางการทำธุรกรรมการเงินเท่านั้น แต่จะต้องเป็นธนาคารดิจิทัลที่คู่ขนานไปกับการใช้งาน ที่ลูกค้าสามารถใช้งานได้อย่างเป็นธรรมชาติ สำหรับทุกกระบวนการด้านการเงินของธุรกิจ

ด้านคุณรัชกร กล่าวเสริมในประเด็นนี้ว่า จากการที่เราไม่ได้ต้องการให้ "Business ONE" มีบทบาทเป็นเพียงแค่ Internet Banking เท่านั้น ดังนั้นในการพัฒนาแพลตฟอร์มนี้ขึ้นมา เราเริ่มต้นจากศูนย์ ซึ่งหมายความว่า เราทำความเข้าใจลูกค้าก่อนว่า Pain Point คืออะไร หลังจากนั้นจึงนำไปสู่การดีไซน์รูปแบบว่า Customer Journey ควรจะเป็นอย่างไร เมื่อเสร็จแล้วจึงนำตัวอย่างมาให้ลูกค้าประเมินความยากง่ายของการใช้งาน ซึ่งเราให้ความสำคัญแม้กระทั่งเรื่องของภาษาที่ใช้บนแพลตฟอร์ม เพื่อที่จะให้ลูกค้าเข้าใจง่ายมากที่สุด 

Business ONE มีฟังก์ชันที่สร้างความแตกต่างจาก Internet Banking ทั่วไป ตอบโจทย์ลูกค้าธุรกิจอย่างไร

คุณรัชกร กล่าวว่า นอกจากการมุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์ของลูกค้าด้วยการลดขั้นตอนในการใช้งานลงกว่า 60% (ยกตัวอย่าง เมื่อลูกค้าต้องการที่จะโอนเงิน สำหรับ Internet Banking แบบเดิมจะต้องเข้าออกหน้าจอถึง 7 ครั้ง กว่าจะทำธุรกรรมสำเร็จ แต่ “Business ONE” ลดขั้นตอนเหล่านั้นลงมาเหลือแค่ 3 ครั้งเท่านั้น) และยังได้มีการพัฒนาให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าธุรกิจที่มีความต้องการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินให้คู่ค้าระหว่างประเทศ การบริหารความเสี่ยงค่าเงิน สินเชื่อ การบริหาร Supply Chain ที่ต้องใช้งานแบบแยกระบบ แต่ “Business ONE” ได้รวมไว้ในระบบเดียว เมื่อลูกค้าเข้ามาก็สามารถทำธุรกรรมการเงินได้ครบหมด พร้อมกันนี้ จากการที่ลูกค้าต่างก็มีความต้องการที่จะเข้าถึงแพลตฟอร์มผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลาย เราก็ได้มีการพัฒนาให้ “Business ONE” สามารถรองรับและใช้งานได้ในทุกฟีเจอร์ด้วยเช่นกัน 

TMB Business ONE

สำหรับอีกฟังก์ชันที่มีความแตกต่างจากการใช้งาน Internet Banking ทั่วไปอย่างชัดเจนเลย คือ การที่เราพยายามมองว่า “Business ONE” ไม่ใช่แค่เครื่องมือในการโอนเงินอีกต่อไปแล้ว แต่จะหาโซลูชันอย่างไรที่ทำให้ลูกค้าสามารถนำไปต่อยอด

ในเชิงธุรกิจได้ด้วย อาทิ การที่ธนาคารมีข้อมูลด้านกระแสเงินสดของลูกค้าอยู่ แต่จะดีกว่าหรือไม่ ถ้าเราสามารถเอามาแสดงผลให้กับลูกค้าได้เห็นสถานะว่าปัจจุบันมีเงินคงเหลือเท่าไหร่ ถ้าหากต้องจ่ายเงินเดือนพนักงานหรือคู่ค้าจะมีเพียงพอหรือไม่ ซึ่งตรงนี้ทำให้ลูกค้าสามารถบริหารอนาคตได้ล่วงหน้า ซึ่งถ้าเทียบกับ Internet Banking แบบเดิมไม่มีสิ่งเหล่านี้

นอกจากนี้ “Business ONE” ยังได้เพิ่มฟังก์ชันสำหรับโซลูชันที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงินเข้าไปด้วย จากการที่เรามองว่าสุดท้ายในอนาคตลูกค้าคงคาดหวังกับธนาคารมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นจึงพยายามที่จะเชื่อมต่อกับพาร์ทเนอร์ที่จะสามารถเข้ามาตอบโจทย์ลูกค้าได้มากที่สุดเช่นกัน 

“Business ONE” เป็นแพลตฟอร์มที่มีความ Agile สูง เพราะฉะนั้นในอนาคตจะสามารถต่อยอด หรือเชื่อมต่อฟีเจอร์เพิ่มขึ้นได้รวดเร็วและถี่มากขึ้น รวมถึงจะเป็นแพลตฟอร์มที่มี Open API เพื่อทำให้สามารถเชื่อมต่อกับพาร์ทเนอร์ได้ง่ายและเร็วขึ้นด้วย

TMB Business ONE

ทิศทางของ Digital Banking หลังจากนี้ ในอนาคตภายในระยะ3-5 ปี  

คุณเสนธิป ได้ให้มุมมองสำหรับทิศทางตลาดของ Digital Banking ในอนาคตไว้ว่า  เราเชื่อว่าตอนนี้ธนาคารต่างก็ไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่แค่การทำธุรกรรมการเงินแล้ว แต่จะต้องเชื่อมกับโซลูชันด้านอื่น ๆ ที่จะทำให้การบริหารธุรกิจครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อกับ ระบบ HR หรือ ระบบจัดการ Supplier หรือแม้แต่ Stock  Management เป็นต้น และในอนาคตเราต้องคิดกันอีกว่า โซลูชันที่เราได้พัฒนาขึ้นจะสามารถตอบโจทย์ธุรกิจ SME ที่จะสามารถเป็นแพลตฟอร์มที่ให้ลูกค้าต่อยอดไปจาก Digital Bank ได้ โดยให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้ในต้นทุนที่ต่ำ ด้วยการที่มีธนาคารเข้ามาเป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกเพิ่มให้ลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจของลูกค้าเติบโตอย่างยั่งยืน 

ส่วนคุณรัชกร กล่าวทิ้งท้ายว่า ในอนาคตระยะ 3-5 ปีข้างหน้า พาร์ทเนอร์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับธนาคารมาก เพราะเรามีความจำเป็นที่จะต้องเสริมเครื่องมืออื่น ๆ ที่จะสามารถเข้ามาเป็นเพื่อนร่วมในธุรกิจ ที่ทำให้สามารถตอบโจทย์ให้ลูกค้ามากขึ้น เพราะก่อนหน้านี้ลูกค้าอาจมองว่า Internet Banking เป็นแค่ Financial Bank แต่ต่อไปเส้นคั่นระหว่าง Financial กับ Non-Financial จะหายไป ซึ่งต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าธนาคารไม่ได้เก่งทุกเรื่อง ดังนั้นเราจึงต้องหาพาร์ทเนอร์เพื่อมาช่วยแก้ Pain Point อื่น ๆ ให้กับลูกค้าได้ด้วย 

สุดท้ายต้องย้ำว่า เรื่องของข้อมูล หรือ Data จะมีความจำเป็นมาก โดยปัญหาที่ทำให้ลูกค้าธุรกิจยังเข้าไม่ถึงข้อมูลได้ดีมากนัก เพราะว่าข้อมูลนั้นยังอยู่ในรูปแบบของกระดาษ แต่ต่อไปเมื่อข้อมูลเหล่านี้ถูกทำให้อยู่ในรูปแบบของดิจิทัลมากขึ้น จะทำให้เกิดโอกาสที่สามารถดึงมาวิเคราะห์ เพื่อทำการต่อยอดในธุรกิจได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน 

ทั้งนี้ลูกค้าที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Relationship Manager ที่ดูแลธุรกิจท่าน หรือ โทร 02-643-7000 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ tmbbank.com/techsauce/fb

#BusinessONE #TMB #MakeREALChange    

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Physical AI เอไอยุคใหม่ที่ Jensen Huang กล่าวถึงคืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน CES 2025 คือการที่ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ได้มีการพูดถึงยุคต่อไปของ AI นั่นก็คือ ‘Physical AI’ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญยิ่งที่ AI กำลังจะเข...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...

Responsive image

เปิดตัว ‘รถบินแยกร่าง’ XPeng ผสมเครื่องบินกับรถตู้ รุ่น Land Aircraft Carrier ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท

XPeng Aero HT เปิดตัว Land Aircraft Carrier รถบินได้แบบแยกร่างสุดล้ำที่ CES 2025 พร้อม eVTOL พับเก็บได้ ใช้งานง่าย ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท วางแผนผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2026...