บทสัมภาษณ์ โทนี่ เฟอร์นานเดส แห่ง AirAsia สู่การเป็น Digital Airline เตรียมเปิด Venture Capital และ Accelerator ในปีนี้ | Techsauce

บทสัมภาษณ์ โทนี่ เฟอร์นานเดส แห่ง AirAsia สู่การเป็น Digital Airline เตรียมเปิด Venture Capital และ Accelerator ในปีนี้

AirAsia ได้จัดงาน Hackathon ขึ้นเป็นครั้งแรก ภายใต้ชื่องานว่า “AIRVOLUTION 2017: Spearheading Innovation in Asean” ซึ่ง Techsauce เองก็ได้เคยประชาสัมพันธ์การเปิดตัวและรับสมัครผู้เข้าแข่งขันไป งานจัดขึ้นในวันที่ 18 - 19 มีนาคม ณ อาคาร AirAsia HQ ที่เพิ่งเปิดใหม่ ในมาเลเซีย โดยมีผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 100 คน จาก 20 ทีม จาก 10 ประเทศ  และเราเองก็ได้มาเข้าร่วมงาน พร้อมพบกับคุณโทนี่ เฟอนันเดส ผู้ก่อตั้ง AirAsia และได้พูดคุยเพิ่มเติมถึงที่มาที่ไป และวิสัยทัศน์กับการเป็น Digital Airline

tony fernandes digital airline interview

อะไรคือที่มาของการจัดงาน Hackathon ในครั้งนี้

โทนี่: ผมคิดว่าเรายังมีอะไรหลายอย่างมากที่พวกเราสามารถปรับปรุงธุรกิจได้อีก โดยการนำดิจิทัลเข้ามาช่วย ผมเองก็ไม่ทราบนะว่า Hackathon นี่คือวิธีที่ดีที่สุดหรือเปล่า ผมกำลังทดลองอยู่ แต่จากคำถามที่ว่าคุณจะสามารถได้รับไอเดียใหม่ๆ มากมาย และเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วได้ยังไง นี่จึงเป็นวิธีของผมที่จะ Fast track เพื่อที่จะได้ทรัพย์สินทางปัญญา และความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ให้กับบริษัท และสร้างความสัมพันธ์กับผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 100 คนในวันนี้

คำว่า 'Digital Airline' ในความหมายของคุณ คุณคิดว่ามันเป็นอย่างไร

ดิจิทัล...คือรากของแอร์เอเชีย เราคือสายการบินแรกในเอเชียที่ใช้อินเทอร์เน็ต และมากกว่า 80% ของ transactions ของเรามาจากเว็บไซต์ ...เราคือสายการบินแรกในเอเชียที่มี Mobile app และเราคือสายการบินแรกที่มีการใช้ Social media กับลูกค้าอย่างจริงจัง

แต่...โลกเราก็ได้เปิดกว้างเป็นอย่างมากเลย คุณลองดูสิ่งที่ Uber ทำ หรือกระทั่งแอปหาคู่เดทอย่าง Tinder มันยังมีปัญหา และปรากฏการณ์มากมายที่คุณสามารถทำได้ผ่านเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น การสมัครขอวีซ่า ซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องน่าเซ็งที่สุดในโลก ผมก็เพิ่งเสนอกับรัฐบาลมาเลเซียไปว่า ทำไมเราไม่ทำแอปพลิเคชัน แล้วก็ยังมีเรื่องของ Data อีก มันยังมีปรากฏการณ์อีกมากมายที่คุณทำได้ผ่านข้อมูล อย่าง Predictive Analysis ฯลฯ

ดิจิทัลของผม มันก็คือดิจิทัล ในทุกๆ สิ่งที่เราทำนั่นเอง

ผมคิดว่าการจ่ายเงินด้วยเงินสดนั้นเก่าแก่มากแล้ว ผมอยากให้การซื้อของบนเครื่องบินใช้อิเล็กทรอนิกส์ไปเลย จ่ายเงินผ่านแอปของแอร์เอเชียได้ เราตั้งใจว่าจะเปิดตัวในช่วงเมษายน-พฤษภาคม ปีนี้ นี่คือตัวอย่างของสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นดิจิทัลสำหรับเรา จะใช้เวลานานแค่ไหน เพื่อจะเป็น Digital Airline น่ะหรอ? ผมไม่ทราบเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทผมตอบรับกับมันได้เร็วแค่ไหน แทนที่จะให้โลกนี้เคลื่อนที่ไปเร็วกว่าบริษัทของผม

ช่วยยกตัวอย่างองค์ประกอบที่คุณมองเอาไว้ในการเข้าสู่ Digital Airline

อย่างแรกเลยคือเรื่อง Personalization เมื่อคุณล็อคอินเข้ามา เราจะรู้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณ เรารู้ว่าคุณเคยบินไปไหนบ้าง เราจะคัดสรรโปรโมชันให้เหมาะกับคุณ

ต่อมาคือเรื่อง Channels คุณจะพบว่าคุณสามารถซื้อตั๋วของเราได้ ผ่าน LINE, WeChat, Facebook ตอนนี้เรามีเซลล์คอยดูแลช่องทางเหล่านี้ นอกจากการซื้อตั๋วแล้ว ก็จะทำให้ประสบการณ์ที่สนามบินเป็นดิจิทัลมากขึ้น การปรับปรุงพัฒนา Self-service check-in, การทำ Mobile boarding pass, การทำตู้ให้ drop กระเป๋าได้แบบ self-service, การระบุ ID ผู้โดยสารโดยใช้ข้อมูลดิจิทัลอย่าง ลายนิ้วมือ หรือการจดจำใบหน้า เพื่อให้คุณเดินเข้าเครื่องบินได้สะดวก ไม่ต้องใช้เอกสารมาก

Area ใหญ่ที่เราสนใจคือ Data โดยเฉพาะเรื่อง Personalization แต่นอกจาก Data ในฝั่งลูกค้าแล้ว ก็รวมถึง Data ในฝั่ง Operation ด้วย ข้อมูลวิศวกรรม ข้อมูลการบิน ข้อมูลทรัพยากรบุคคล เราจะนำมาใช้ในการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานต่างๆ

การมุ่งสู่ดิจิทัลของคุณ จะละทิ้งวิถีเดิมไปเลยหรือเปล่า? ฉันเคยถูกสายการบินโลวคอสที่ยุโรปบังคับให้เช็คอินออนไลน์ พอไม่ทำ เขาก็เก็บเงินเพิ่ม

เราจะขับเคลื่อนคนไปสู่ช่องทางดิจิทัลอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นเราจะคิดเงินคุณเพิ่ม เพราะว่ามันเป็นรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น จากการต้องมีโต๊ะเช็คอิน และต้องจ้างพนักงานนั่งประจำ แต่เราจะทำให้ดีที่สุดที่จะบาลานซ์ และค่อยๆ เปลี่ยน

แสดงว่ายังไงเทรนด์ของวงการสายการบินก็ต้องให้ไปออนไลน์ เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย?

เรื่องลดรายจ่ายก็เป็นปัจจัยนึง แต่อีกปัจจัยคือเรื่องประสิทธิภาพ และอีกปัจจัยคือเรื่องการเพิ่มรายได้ด้วย เช่น แทนที่จะมีเว็บไซต์ที่ไม่ว่าใครเข้ามาก็เห็นเหมือนกันหมด เราจะนำเสนอเว็บไซต์ที่ Personalize ในสิ่งที่คุณสนใจ เพื่อเพิ่มโอกาสการสร้างรายได้

RF20170318_Airvolution2017-4

ภาพบรรยากาศงาน

นอกจาก Hackathon นี้ คุณมีแผนอื่นๆ อีกไหม อย่างเช่นการทำ Corporate Venture Capital หรือ Accelerator Program

Hackathon เพิ่งเป็นเพียงปฐมบทเท่านั้น เราจะทำ Corporate Venture Capital ด้วยอย่างแน่นอน

เมื่อคุณไปที่ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่แล้วก็จะมีปัญหาคล้ายๆ กัน คือ "ขาดแคลนเงินทุน" พวกเราส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับ Venture Capital เราคุ้นเคยการกู้ยืม ไม่ว่าจะจากสถาบันการเงิน หรือจากเพื่อนและคนในครอบครัว

ตอนนี้แอร์เอเชียได้ร่วมมือกับแลปสองแลปจากภายนอก ซึ่งได้สร้างมาแล้วสามธุรกิจ และเรามีโอกาสได้ลงทุนในนั้น แต่แอร์เอเชียเราจะมุ่งสู่ Corporate Venture Capital และ Corporate Accelerator ของตัวเองภายในปีนี้อย่างแน่นอน

บทความแนะนำจากผู้เขียน: เปิดดูกรณีศึกษา บริษัทใหญ่ที่สุดระดับท็อปของโลก มีวิธีปรับตัวกับการมาของสตาร์ทอัปอย่างไรบ้าง

นี่เป็นสัญญาณถึงการเบนเข็ม Core Business ของคุณหรือเปล่า

โอ้ ไม่เลย และจะไม่เป็นอย่างนั้นด้วย ธุรกิจหลักของเราคือ Passenger Services (การให้บริการด้านการโดยสาร) ซึ่งเป็นส่วนที่ใครๆ ก็ทราบดีอยู่แล้ว และปัจจุบันเราก็ยังมีธุรกิจอื่นอยู่ด้วย เช่น Academy และการ Joint Venture ร่วมกับ Expedia การ Joint Venture ร่วมกับบริษัทประกัน และอื่นๆ

การทำ Partnership เป็นการใช้ประโยชน์จาก Database ของเรา ให้กับบริษัท หรือ Talent คนไหนก็ตาม ในการสร้างโปรดักส์ที่สนับสนุนแอร์เอเชีย อย่างเคสความร่วมมือกับ Expedia ถึงเราจะมี Marketing ต่างๆ ที่ดีมาก แต่เราก็ไม่มีเทคโนโลยีที่ Expedia มี ที่เจาะไปถึงกลุ่มโรงแรม

ดังนั้น Partnership และกิจกรรมต่างๆ ที่เราทำ จึงเป็นการช่วยสนับสนุนธุรกิจหลักของแอร์เอเชีย

คุณจะจัด Hackathon เป็นอีเวนต์ประจำปีไหม และจะมีในประเทศอื่นๆ อีกหรือไม่

ผมไม่มองเรื่อง Timing ว่าต้องเป็นประจำปีนะ เมื่อไรที่เราคิดว่าถึงเวลาต้องจัด เราก็จัด ไม่แน่ว่าอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ผมอาจจะไปจัดที่กรุงเทพ หรือที่ฟิลิปปินส์ก็ได้

เสริมจากผู้เขียน: คุณไอรีน CEO ของ AirAsia Malaysia ได้ให้ข้อมูลหลังจากนี้ว่า งาน Airvolution ในครั้งนี้ ถือเป็น Hackathon แรกของมาเลเซีย ที่จัดแบบ International มีผู้เข้าร่วมแข่งขันจากหลากหลายชาติ 

ฝากคุณโทนี่พูดทิ้งท้ายถึงแบรนด์แอร์เอเชีย

ที่ผ่านมา ผมคิดว่าแอร์เอเชียเราทำได้ดีมากในเรื่องการสร้างแบรนด์ให้เป็นแบรนด์ที่ทุกคนรู้จัก แม้แต่คนอเมริกาและยุโรปพวกเขาก็รู้จักเราแล้ว เราจะยังคงสร้างแบรนด์ต่อไป และมันจะไม่ใช่เพียงการเปลี่ยนการรับรู้ของคนภายนอก แต่ผมอยากจะเปลี่ยนการรับรู้ของคนภายในด้วย

มากกว่าการบอกคนภายนอก Hackathon นี้เป็นการบอกกับสตาฟของผมว่า โลกของเราเปลี่ยนแปลง เราต้องเปลี่ยนแปลงแล้วนะ ถ้าเราไม่เปลี่ยน เราก็จะถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง ซึ่ง Hackathon ส่วนหนึ่งเป็นการล้างกรอบความคิดของสตาฟของผมเอง ให้คิดแบบดิจิทัล และส่วนหนึ่งก็เป็นการผสมผสานความคิดกับผู้คนจากภายนอก

อีก 15 ปีข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น? ผมไม่ทราบเหมือนกัน รถบินได้? ผมรู้แค่ว่าโลกจะเปลี่ยนเร็วมาก และเราต้องพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง

tony fernandes

เรายังมีบทความ cover ในงานอีกหลายประเด็น เตรียมติดตามได้ในเร็วๆ นี้ค่ะ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...