คุยกับ Traveloka ยูนิคอร์นแห่ง SEA กับการขับเคลื่อนองค์กรด้วยคนรุ่นใหม่ | Techsauce

คุยกับ Traveloka ยูนิคอร์นแห่ง SEA กับการขับเคลื่อนองค์กรด้วยคนรุ่นใหม่

ในช่วงสองปีมานี้ หลายคนคงได้เห็นโฆษณาของ Traveloka ทั้งในรถไฟฟ้า โทรทัศน์หรือในโลกออนไลน์ ที่บอกว่า นี่คือแพลตฟอร์มด้านการจองตั๋วเครื่องบินและที่พักที่สามารถค้นหาได้ในราคาถูกที่สุด ส่วนฝั่งของ Startup แน่นอนว่าเรารู้จัก Traveloka ในนามของยูนิคอร์นของ South East Asia โดยในบทความนี้เราจะพาไปรู้จักกับ Traveloka กันมากขึ้น กับการมาตั้งออฟฟิศในประเทศไทย ที่ขับเคลื่อนโดยกลุ่มคนรุ่นใหม่ (Young Blood)

คุณธีร์ ฉายากุล Traveloka Country Manager Thailand และคุณโสภณ สุรเชษฎไพศาล People Operations Manager ได้ร่วมพูดคุยกับ Techsauce ถึงการมาบุกตลาดในประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่โดดเด่นด้านการท่องเที่ยว

Traveloka เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีที่เข้ามาตั้งออฟฟิศในไทยตั้งแต่ปี 2015 จุดเริ่มต้นของแพลตฟอร์มที่เป็นยูนิคอร์นของ South East Asia นี้ เริ่มจากผู้ก่อตั้ง 3 คน ที่พบกับปัญหาการเดินทางที่ยากลำบาก และมีความคิดว่าการท่องเทีี่ยวต้องง่ายกว่านี้ ซึ่งหากทั้ง 3 คนมีปัญหา ก็คิดว่าคนอื่นก็ต้องมีปัญหาเช่นกัน ดังนั้นจึงสร้างแพลตฟอร์มที่เกิดจาก Pain Point ของตัวเอง ทำให้ทุกคนสามารถเดินทางสะดวกขึ้น ง่ายขึ้น ประหยัดขึ้น โดยในปี 2014 Traveloka ประสบความสำเร็จด้านการจองตั๋วเครื่องบินเป็นอย่างมาก จึงได้ต่อยอดธุรกิจด้วยการจองโรงแรม

ทำไมถึงเลือกเข้ามาในตลาดไทย?

คุณธีร์ : ประเทศไทยเป็นประเทศลำดับที่ 3 ที่ Traveloka มาบุกตลาด โดยธุรกิจของ Traveloka คือเรื่องการท่องเที่ยว และประเทศไทยเป็นที่โดดเด่นประเทศท่องเที่ยว ซึ่งในช่วงเวลาสามปีที่ผ่านมาก็ได้รับการตอบรับที่ดี กับบริการที่ทำให้สะดวกและเร็วขึ้น และคุ้มค่าราคา ซึ่งการท่องเที่ยวนั้นมีหลายด้าน แต่การจองตั๋วเครื่องบินกับที่พักโรงแรมถือเป็นจุดหลักของเราที่อยากจะโฟกัส

อะไรที่ทำให้ Traveloka แตกต่าง?

คุณธีร์ : สิ่งที่ทำให้ Traveloka แตกต่างและก้าวเข้ามาสู่การเป็นผู้นำอย่างรวดเร็วก็คือ การบริการที่ครอบคลุมทุกการเดินทาง ทั้งการจองโรงแรม ที่พักต่างๆ รวมไปถึงการจองตั๋วเครื่องบิน ซึ่งลูกค้าสามารถวางแผนการเดินทางไปในทิศทางเดียวกันในราคาที่เหมาะสม รวมทั้งเรายังมีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลายทั้งการโอนเงินและชำระด้วยบัตรเครดิตซึ่งไม่มีค่าธรรมเนียมอีกด้วย นอกจากนี้ คือความซื่อตรงที่เรามีให้กับลูกค้า โดยราคาแรกที่ลูกค้าเห็น คือราคาสุดท้ายที่ลูกค้าต้องจ่ายจริง และบริการหนึ่งที่สำคัญคือ ช่องทางการติดต่อ เรามีเบอร์ที่ลูกค้าสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้ง Facebook / line / instagram / Email ที่ลูกค้าสามารถเข้ามาสื่อสารกับเราได้

การเลือกทีมสำคัญแค่ไหน เพราะเป็นงานที่เราต้องคุยกับคน?

คุณธีร์ : แรกเริ่มที่ตั้งบริษัทในไทยเราเริ่มจากพนักงานไม่ถึง 10 คน จนตอนนี้เรามีคนเป็นหลักร้อยแล้วครับ ซึ่งความสำคัญก็คือ การเลือกคนที่ใช่มาร่วมทีม

คุณโสภณ : สำหรับฝ่ายทรัพยากรบุคคลของที่นี่ เราเรียกตัวเองว่า People Operations เนื่องจากงานที่เราทำนั้นต้องอยู่กับบุคคลากรตั้งแต่การสรรหา พัฒนา และส่งเสริมเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับพนักงาน อีกทั้งเราเชื่อว่าคำว่า “Operations” นั้น จะทำให้พนักงานมีความรู้สึกว่าเราทำงานด้วย Impact มากกว่าการควบคุมและดูแล ส่วนในเรื่องการเลือกคนเข้ามาทำงานกับเรา เรามักจะมองไปยังกลุ่ม Youngblood ที่มีความ Dynamic เพราะบริษัทเราเป็นบริษัทเทคโนโลยี ปัจจุบันคนที่ทำงานอยู่ในองค์กรจะมีอายุเฉลี่ย 20 -30 กลางๆ ดั้งนั้น คนที่จะตอบสนองกับเราได้ต้องมีความ Dynamic โดยเรามี 6 Characteristics ในการเลือกพนักงานมาร่วมทีม ได้แก่

  1. Accountability
  2. Impact
  3. Teamwork
  4. Openness
  5. Growth Mindset
  6. Fun

นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการมองเรื่อง Attitude ของคนที่มาทำงาน ว่าสามารถเข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรได้หรือไม่ มีแรงจูงใจอะไรที่อยากจะมาทำงานครับ

คุณธีร์ : สุดท้ายแล้ว ผมมองว่าการหาคนที่ใช่ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่เก่ง เพราะคนจะเก่งยังไง ถ้าเข้ามาแล้วไม่เหมาะกับวัฒนธรรมองค์กร ก็จะไม่ดีกับทั้งสองฝ่าย

คุณโสภณ : เราไม่ตีกรอบในการเลือกคน คนที่มาทำงานไม่จำเป็นต้องจบสาขาที่เรียนมาโดยตรง แต่เราจะดูว่า มี Passion กับอะไร อยากทำงานแบบไหน เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามาลองกัน

สิ่งที่จะดึงดูดคนให้มาทำงานนอกจากการเป็น Traveloka?

คุณโสภณ : เรารู้ว่าคนรุ่นใหม่ มีความยืดหยุ่นในการทำงาน มักจะวางแผนชีวิตไว้แล้วว่าปีๆ นึงจะทำอะไร หรืออนาคตต่อจากนี้จะเป็นยังไง ดังนั้น เราเปิดโอกาสให้คนที่ทำงานมานานๆ สามารถเปลี่ยนสายการทำงานในองค์กรที่เหมาะสมได้ เพราะเด็กรุ่นใหม่ก็ยังคงค้นหาตัวเองอยู่ บางทีเขาอาจทำงานในทีม Content แต่เมื่อต้องมาดีลกับทีม Marketing มากๆ ก็อาจอยากลองทำ Marketing ซึ่งเราก็เปิดโอกาสตรงนี้เช่นกัน

เป็นบริษัทที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว มีการสนับสนุนการท่องเที่ยวให้กับพนักงานอย่างไรบ้าง?

คุณโสภณ : เราให้ความสำคัญกับวันพักร้อน เมื่อเป็นพนักงานที่นี่ เราให้วันลากับพนักงานไปเลย 15 วัน และมีเงินก้อนหนึ่งให้ได้ใช้ในแพลตฟอร์มของ Traveloka และยังมีงบสำหรับทีมในการในการไป Outing กันอีกด้วย นอกจากนี้ เรายังให้ความสำคัญกับ Career Development โดยจะหมุนพนักงานไปที่ภูมิคภาคต่างๆ เพื่อสร้างให้เกิด Movement ในการทำงาน

เราอยากให้ทุกคนที่มาทำงานมีความสนุก อย่างที่ออฟฟิศของเรา ก็จะมีมุมพักผ่อน โต๊ะปิงปอง มีอาหารกลางวันให้พนักงาน โดยเรามองว่าออฟฟิศลักษณะนี้เป็นออฟฟิศยุคใหม่ ที่ทำให้พนักงานที่นั่งตามโต๊ะ สามารถมีปฏิสัมพันธ์กัน สามารถสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ ในการทำงานมากขึ้นได้

เป้าหมายในปี 2018 นี้คืออะไร?

คุณธีร์ : วิสัยทัศน์ของเราคือ Enabling Mobility นั่นคือการจะอย่างไรให้การเดินทางสะดวกขึ้น ดีขึ้น ซึ่งสองปีที่ผ่านมาเห็นได้ชัดว่า ความต้องการของลูกค้ายังคงเป็นเรื่องการจองตั๋วเครื่องบินและโรงแรม ฉะนั้น ในปี 2018 เป้าหมายของเราก็ยังคงจะทำ Product ที่ให้ความสุขกับลูกค้าได้มากที่สุด ลูกค้าใช้เยอะที่สุด และจะทำให้ได้ดีที่สุด

ซึ่งยอดมูลค่าทางการท่องเที่ยวที่จะเพิ่มอีก 5 เท่านับจากนี้ ผมมองว่าการเติบโตของตลาดดังกล่าวก่อให้เกิดโอกาสเยอะมาก และ Traveloka เองก็อยากจะอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นผู้นำตรงนี้ ทำให้เราไม่หยุดมองหานวัตกรรมใหม่ๆ มาตอบโจทย์ลูกค้า โดยเราก็มีฝ่าย Business Development ที่กำลังพัฒนานวัตกรรมในภูมิภาคนี้ พร้อมทั้งยังมองหาโอกาสอื่นๆ ทำให้คนสามารถเดินทางได้ง่ายขึ้น

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...