หนึ่งในความท้าทายขององค์กรในปัจจุบัน การทำ Digital Transformation ดูจะเป็นเรื่องจำเป็นของทุกองค์กร เพื่อไม่ให้ธุรกิจถูก Disrupt จากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภค และสามารถแข่งขันในตลาดได้ หลายองค์กรได้นำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งองค์กร และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
เมื่อองค์กรเริ่มทำ Digital Transformation ปัจจัยที่จำเป็นต้องคำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ข้อมูล (Information) ที่ต้องมีการวางแผนจัดเก็บ และนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงแนวทางในการปกป้องข้อมูลของลูกค้าอย่างถูกต้อง บุคลากร (People) ที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยี และทักษะทางด้านดิจิทัล ผสานกับประสบการณ์ในการดูแลลูกค้า เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง กระบวนการ (Process) เพราะการเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีส่งผลให้ต้องปรับกระบวนการในการทำงาน เน้นการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น รวมถึงการสร้างกระบวนการแบบ end-to-end เน้นตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก และ เทคโนโลยี (Technology) ที่ต้องมีการศึกษา และเลือกใช้ให้เหมาะกับรูปแบบ และความพร้อมของแต่ละธุรกิจ
แต่อีกหนึ่ง ‘ความท้าทาย’ เมื่อองค์กรมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ ก็อาจทำให้เกิดผลกระทบขึ้นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของธุรกิจ รวมทั้งผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม การที่จะใช้เทคโนโลยี ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมให้อยู่คู่กันไปได้ จึงต้องมีมาตรฐาน และตัววัดผลจริงๆ เพื่อให้แต่ละองค์กรมีแนวทางการดำเนินงานได้ชัดเจนขึ้น ดังนั้นแนวทางการดำเนินธุรกิจตามกรอบ ESG จึงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่มาสนับสนุนการทรานส์ฟอร์มองค์กรได้
หลักความยั่งยืนตามกรอบของ ESG ได้แก่ สิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และ การกำกับดูแลตามหลักธรรมาภิบาล (Governance) เป็น 3 แกนหลักด้านความยั่งยืนที่เป็นหัวใจของธุรกิจในยุคปัจจุบันที่ผู้ลงทุนใช้พิจารณาเมื่อทำการประเมินด้านความยั่งยืนและผลกระทบทางจริยธรรมของการลงทุนในธุรกิจหรือบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ESG ยังสามารถนำไปเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของ UN ซึ่งเป็นภาพใหญ่ขึ้นในระดับโลกได้ ทำให้ ESG จึงเป็นหนึ่งในเกณฑ์ที่นักลงทุนทั่วโลกใช้ประกอบการตัดสินใจก่อนเข้าลงทุนในบริษัทต่างๆ รวมถึงเป็นหัวข้อสำคัญในการปรับกลยุทธ์ธุรกิจที่จะช่วยสร้างมูลค่าทางธุรกิจอย่างยั่งยืน เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีสม่ำเสมอในระยะยาวขององค์กรอีกด้วย
เมื่อองค์กรทำ Digital Transformation ด้วยการวางกลยุทธ์ที่จะนำเทคโนโลยี รวมถึงความยั่งยืนตามกรอบ ESG มาเป็นแกนหลักในการเปลี่ยนแปลง แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายและต้องมีตัวชี้วัดที่ได้มาตรฐาน สามารถวัดผลได้ และมีความน่าเชื่อถือสำหรับนักลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
Dow Jones Sustainability Index (DJSI) ดัชนีที่ถูกพัฒนาโดย RobecoSAM ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนอย่างยั่งยืน ร่วมกับ S&P Dow Jones เป็นดัชนีที่คัดเลือก ‘หุ้นยั่งยืนระดับโลก’ หมายถึงการเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกที่มีความโดดเด่นในการทำธุรกิจ และคำนึงถึงประเด็นเรื่องความยั่งยืนเป็นหลัก ซึ่งได้ประเมินองค์กรทั่วโลกมากกว่า 13,000 บริษัท โดยในปี 2023 มีจำนวนบริษัทที่เข้าร่วมการประเมินมากกว่า 3,400 แห่ง ทั้งนี้ ดัชนี DJSI สำหรับบริษัทจดทะเบียนไทยจะได้รับการพิจารณาให้เข้าร่วมการคำนวณด้วยกัน 2 ดัชนี ได้แก่
เพราะ DJSI มีเกณฑ์การวัดผลจริงที่นักลงทุนให้ความเชื่อมั่น
ในปี 2023 มีบริษัทไทยที่ผ่านเกณฑ์ DJSI เพียง 28 บริษัท หนึ่งในนั้นก็คือ “บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น” ที่ได้ได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มโทรคมนาคม และได้รับการยอมรับว่าเป็น องค์กรโทรคมนาคมที่ยั่งยืนที่สุดในระดับโลก ถึง 6 ปีซ้อน
ซึ่งเป็นกรณีที่น่าสนใจว่าเบื้องหลังคะแนนสูงที่สุดอันดับ 1 นั้น ทรู ทำ Digital Transformation เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ พร้อมตอบโจทย์ลูกค้า ควบคู่ไปกับการดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี ตามหลักการ ESG อย่างไร
โดย True Corporation ได้ชู 3 แนวทางของการดำเนินธุรกิจที่ครอบคลุมความยั่งยืนในทุกมิติตามกรอบ ESG ดังนี้
1) มุ่งมั่นทำธุรกิจจากหัวใจ (Living Right)
ทรู มีการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพ และทักษะของพนักงานให้พร้อมเข้าสู่ Digital Transformation โดยให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ ปกป้องคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลุกค้า ตาม PDPA อย่างเคร่งครัด และมีการตรวจสอบระบบโดยผู้เชี่ยวชาญอย่างสม่ำเสมอ ภายใต้การรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022 พร้อมพัฒนาเครือข่ายให้ครอบคลุมประชากรทั่วประเทศถึง 90% อีกทั้งยังใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยวิเคราะห์สัญญาณ ควบคู่ไปกับการนำเทคโนโลยีไปพัฒนาโซลูชัน เพื่อช่วยเหลือสังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเราได้เห็นจากความมุ่งมั่นจากการทำให้เกิดผลจริงไม่ว่าจะเป็นการนำอุปกรณ์ไร้สาย 5G มาใช้สื่อสารในรถพยาบาลฉุกเฉิน ของศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินศิริราช หรือระบบหุ่นยนต์นำทางที่สามารถสื่อสารกับผู้ใช้บริการได้ อย่าง SRT BOT ของสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และอื่นๆอีกหลากหลายโชลูชัน
2) มุ่งมั่นสร้างสังคมที่ยั่งยืน (Living Well)
ดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและช่วยเหลือชุมชน สนับสนุนอุปกรณ์ และเทคโนโลยีสร้างระบบนิเวศ ICT ให้กับโรงเรียนถึง 5,570 โรงเรียน และยังมีสร้างบุคลากร จากการจ้างงาน และฝึกอบรมคนในชุมชม ให้สามารถดูแล และใช้งานอุปกรณ์ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังจัดทำแพลตฟอร์มออนไลน์ให้ความรู้แบบ life-long learning เพื่อช่วยพัฒนาการศึกษา และลดความเลื่อมล้ำ มีผู้เข้าใช้งานมากกว่า 34 ล้านยูสเซอร์
นอกจากการศึกษา ทรู ยังยกระดับการดูแลสุขภาพ เพิ่มความสะดวกสบาย ให้สามารถปรึกษาแพทย์ออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม หมอดี (MorDee) เพื่อให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลได้เข้าถึงการรักษาโดยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล รวมทั้งให้ความสำคัญในการพึ่งพาตนเองของชุมชน และกลุ่มเปราะบาง ผ่านการฝึกทักษะอาชีพที่เหมาะสม
3) มุ่งมั่นเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (Living Together)
มุ่งเน้นสนับสนุนการดำเนินธุรกิจใส่ใจสิ่งแวดล้อมสร้างสมดุลและเติบโตไปข้างหน้าร่วมกัน พร้อมนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (CIRCULAR ECONOMY) มาประยุกต์ใช้ เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า เช่น ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ (Scope 1 และ 2) สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) ภายในปี 2030 และบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) โดยวิธีฝังกลบให้เป็นศูนย์เช่นกัน นอกจากนี้ยังเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดผ่านหลากหลายกลยุทธ์ ผ่านการติดตั้งโซล่าร์เซลล์ที่เสาสัญญาณและชุมสายอย่างต่อเนื่อง โดยนำเทคโนโลยี AI มาช่วยบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ณ สถานีฐาน ชุมสาย และอาคารสำนักงาน มีการตรวจประเมินคู่ค้าด้านสิทธิมนุษยชน และแรงงาน ปลูกฝังการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามแนวทาง ESG ให้กับคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน
ล่าสุด S&P Global ประกาศรายชื่อองค์กรชั้นนำที่ได้รับการจัดอันดับในรายงาน The Sustainability Yearbook 2024 จากผลการประเมินด้านความยังยืน Dow Jones Sustainability Indices 2023 (DJSI 2023) โดยทรู คอร์ปอเรชั่น เป็นองค์กรไทยที่ได้คะแนนรวมสูงสุดถึง 95 คะแนน จาก 100 คะแนน ขึ้นเป็นอันดับ 1 จากทั้งหมด 9,400 องค์กรใน 62 อุตสาหกรรมทั่วโลก และยังคงครองที่ 1 ในกลุ่มโทรคมนาคมของโลก 6 ปีซ้อน
ซึ่งการแข่งขันในเวทีระดับโลกถือเป็นความท้าทายอย่างมาก การได้มาซึ่งผลคะแนนสูงที่สุด และได้ต่อเนื่องมาถึง 6 ปีซ้อน ย่อมต้องมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ไม่ย่อท้อเพื่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม และวัดผลได้จริง และนี่คือดัชนีระดับโลกที่ได้รับการยอมรับจากบริษัททั่วโลก
ทรู ยังมีความมุ่งมั่น ที่จะสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตคนในสังคม และดูแลสภาพแวดล้อม ด้วยความรักเพื่อโลกที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของ True Corporation ได้ที่ https://www.true.th/sustainability
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด