บทบาทของทรู 5G สู่การสร้างเมืองอัจฉริยะ | Techsauce

บทบาทของทรู 5G สู่การสร้างเมืองอัจฉริยะ

เทคโนโลยี 5G นับเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างเมืองอัจฉริยะ บทบาทของ 5G ในฐานะผู้เล่นหลักที่จะขาดไปไม่ได้ และคำตอบที่ว่าภาคธุรกิจจะได้อะไร หากเราสามารถพัฒนาเมืองอัจฉริยะได้สำเร็จ สามารถหาบทสรุปได้จากงาน True 5G Tech Talk สัมมนา5G พลิกโฉมประเทศไทย ครั้งที่ 6 กับหัวข้อ Intelligent City & Security การพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนโดย 5G โดยในบทความแรก เราได้พูดถึง บทบาทและโอกาสของเทคโนโลยี 5G กุญแจสำคัญในการยกระดับและขับเคลื่อนธุรกิจและอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน 

สำหรับบทความนี้ ทรู 5G ร่วมกับ Huawei ASEAN Academy และ Techsauce ได้เชิญจากองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการศึกษาและพัฒนาเมืองของไทย ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองที่น่าสนใจ ได้แก่ ดร.การดี เลียวไพโรจน์ หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ (FutureTales Lab) หรือศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา บริษัท แมกโนเลีย คอวลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) และคุณธวัชชัย ฤกษ์สำราญ รองผู้อำนวยการธุรกิจโมบายล์และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ 5G บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น

‘ฉลาด มีความสุข และยืดหยุ่น’  3 หัวใจหลักของเมืองอัจฉริยะ 

ดร.การดี ได้กล่าวถึงนิยามและหน้าตาของ ‘เมืองที่ชาญฉลาด’ ออกเป็น 3 รูปแบบ

1.         Intelligence city ฉลาดในเชิงของข้อมูล 

2.         Happy city ต้องมั่นใจว่าเมื่อเราสร้างแล้ว ผู้คนที่อยู่ จะต้องมีความสุข

3.         Resilience city ต้องเป็นเมืองที่สามารถปรับตัวได้ ยืดหยุ่น เพื่อรองรับกับความท้าทายต่างๆ ในอนาคต

5G ผู้เล่นสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการขับเคลื่อนเมือง 

คุณธวัชชัย กล่าวถึงความสำคัญของเทคโนโลยีการสื่อสารและการเชื่อมต่อ เป็นปัจจัยเบื้องหลังสำคัญที่จะทำให้การสร้างเมืองอัจฉริยะเป็นไปได้ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายเจเนอเรชั่นก่อนๆ มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอที่จะรองรับการสร้างเมืองให้ฉลาดขึ้น เพราะฉะนั้นการเข้ามาของเทคโนโลยี 5G จึงกลายเป็นคำตอบ ทั้งความเร็วที่มากขึ้น ความหน่วงที่ต่ำลง ศักยภาพในการรองรับผู้ใช้งานและจำนวนอุปกรณ์เชื่อมต่อที่มากขึ้น และสิ่งสำคัญคือ Network Slicing ที่ทำให้การใช้งานเครือข่ายยืดหยุ่นและเหมาะสมตามความต้องการการใช้งานไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้งานทั่วไป หรือระดับองค์กรในภาคอุตสาหกรรม

“ความฉลาดของเมือง ต้องมี Connectivity ที่ฉลาดก่อน”  คุณธวัชชัย กล่าวเสริม

สำหรับ ดร.การดี มองว่าการสร้างเมืองให้ฉลาดเพื่อให้ผู้คนมีความสุขและเมืองเองมีความยืดหยุ่นที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงนั้น ต้องประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ Hard Infrastructure, Soft Infrastructure, Future Persona และสุดท้ายคือการดูแลโลกควบคู่ไปกับการพัฒนา สำหรับ Soft Infrastructure ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ การเดินทาง หรือการทำงาน  จำเป็นต้องสร้างให้ตอบโจทย์ Future Persona ด้วย

“อย่าลืมว่าเมื่อเราสร้างเมือง เราจะใช้โจทย์สมมติฐานหรือความต้องการในปัจจุบันไม่ได้ เพราะฉะนั้นการทำความเข้าใจ Future Persona จึงสำคัญ”

ดร.การดี  อธิบายเพิ่มเติมว่า การวางแผนพัฒนาเมือง จำเป็นต้องสำรวจความต้องการของคนรุ่นต่อไปด้วย และในส่วนนี้เองจะทำให้เทคโนโลยี 5G เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพราะ 5G จะกลายเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานสำคัญในอนาคต ทั้งยังเชื่อว่าการเติบโตของ Automation และ Robotics จะเข้ามามีส่วนร่วมกับการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ และเทคโนโลยีดังกล่าวจำเป็นต้องมี 5G เป็นเบื้องหลังสำคัญ จึงกล่าวได้ว่า 5G นั้นเสมือนเป็นกุญแจสำคัญดอกหนึ่ง ที่จะมาช่วยขับเคลื่อนให้เมืองมีความอัจฉริยะและจะขาดไปไม่ได้

ภาคธุรกิจจะได้อะไรจากเมืองที่ฉลาดขึ้น  

 สำหรับคำถามถึงสิ่งที่ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมจะได้รับ หากเราสามารถพัฒนาเมืองให้มีความอัจฉริยะได้ คุณธวัชชัย ได้ให้มุมมองว่า ภาคธุรกิจจำเป็นต้องเปิดใจยอมรับ และเริ่มต้นใช้เทคโนโลยีในการทำธุรกิจ เพราะหากไร้การเริ่มต้นแล้ว การพัฒนาก็ไม่มีทางเกิดขึ้นเช่นกัน

“หลายโครงการที่ทรู 5G เข้าไปทำ อย่างเคสศิริราชที่ร่วมกับหัวเว่ยด้วย  ก็เกิด Smart Hospital ถ้าไม่มีจุดตั้งต้นมันไปไม่ได้หรอก แต่พอมันเกิดขึ้นแล้ว มันทำให้มีต้นแบบ และขยายผลต่อได้”

ดร.การดี แสดงความคิดเห็นว่า แค่เพียงการเชื่อมโยงข้อมูลมหาศาลเข้าถึงกัน ก็ช่วยให้ต้นทุนการผลิตของภาคเอกชนลดลงไปได้มาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต การติดต่อกับภาครัฐ งานด้านกฎหมาย หรือภาษี เป็นต้น ซึ่งหากเราสามารถสร้างประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อได้ ก็จะยิ่งช่วยลดต้นทุนในภาคอุตสาหกรรมได้

นอกจากนั้น หากมีการการใช้ 5G  มาช่วยพัฒนาให้บุคลากรมีความสามารถเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนกับการสร้างและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในรูปแบบเดิมซึ่งเป็นการลงทุนที่สูง ก็จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยลดต้นทุนให้กับภาคธุรกิจได้เช่นกัน เช่น การใช้เทคโนโลยี VR เพื่อฝึกทักษะบุคลากร

คุณธวัชชัย กล่าวทิ้งท้ายว่า เทคโนโลยีไม่สามารถอยู่ด้วยตัวของมันเองได้ สิ่งสำคัญกว่าคือการพัฒนา ‘คน’ ไม่ว่าจะด้านทักษะ การปรับตัว เป็นต้น เพราะในอนาคตเราไม่รู้เลยว่าเทคโนโลยีจะพัฒนาไปอีกมากแค่ไหน จึงจำเป็นต้องมีทรัพยากรคนที่พร้อมตลอดเวลา

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

6 เทคนิคใช้ AI ยกระดับธุรกิจ SME ให้โดดเด่นและติดตลาดไว

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันกันอย่างดุเดือด การสร้างแบรนด์ที่โดดเด่นและเป็นที่จดจำไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจ SME ที่ต้องเผชิญกับข้อจำกัดด้านทรัพยากรและงบประมาณ อย่างไรก็ตามป...

Responsive image

Startup Ecosystem จีน ถึงจุดต่ำสุด นักลงทุนหาย startup เกิดใหม่น้อย

‘จีน’ ประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก เป็นตลาดส่งออกสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นจุดหมายปลายทางที่ดีที่สุดของนักลงทุน…แต่ในตอนนี้ประเทศมหาอำนาจอย่างแห่งนี้กำล...

Responsive image

Gartner เผย! AI เป็นตัวการสำคัญ ทำค่าความปลอดภัยด้านข้อมูลทั่วโลกพุ่ง 15% ภายในปี 2025

Gartner เผยผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าองค์กรทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายด้านความปลอดภัยข้อมูล (Information Security) ที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเติบโตของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์...