หลังจากที่เราได้มีการอธิบายเรื่อง Blockchain Scalability ซึ่งเป็นการปรับขนาดเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพมากพอในการรองรับการเพิ่มขึ้นของอัตราปริมาณงานของระบบกันไปแล้ว ในบทความนี้เราจะพามาทำความรู้จักและสร้างความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ Blockchain Layer ตั้งแต่ Layer 0 ตลอดจน Layer 3 เพื่อที่จะทำให้เข้าใจบทบาทและความสำคัญ chain ต่าง ๆ ได้มากขึ้น
Blockchain layer zero เป็น Layer แรกในบรรดาโปรโตคอลทั้งหมด มีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมต่อกับโปรโตคอลอื่นๆทั้งหมดอย่างราบรื่น โดย Layer 0 จะประกอบด้วย Internet Hardware และการเชื่อมต่อที่ช่วยให้ Layer ที่ 1 ทำงานได้อย่างราบรื่น และเพื่อสร้าง Chain ที่เชื่อมต่อถึงกัน รวมทั้งเสนอทางเลือกที่ทำให้ smart contracts สามารถพัฒนาได้มากขึ้น
ตัวอย่างของ Blockchain Layer 0 ได้แก่ Cosmos, Axelar, Polkadot ซึ่งคุณสมบัติหลักของทั้ง 3 เชน คือ การทำงานร่วมกันแบบ Cross Chain
Blockchain Layer 1 เป็น Layer พื้นฐาน ที่เน้นในเรื่องของการทำธุรกรรม ซึ่งมีความปลอดภัยสูง แต่ยังมีข้อจำกัดตรงที่การปรับปรุงขนาดของเครือข่าย และปัญหาที่มักจะพบเจอใน Blockchain Layer 1 คือเมื่อมีผู้ใช้งานมากขึ้น ย่อมส่งผลให้ความเร็วและความสามารถในการประมวลผลนั้นช้าลง จึงทำให้เกิดการทำธุรกรรมที่ล่าช้าและค่าธรรมเนียมที่แพง
ตัวอย่างของ Blockchain Layer 1 ที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ Bitcoin, Ethereum, Cardano
Blockchain Layer 2 เปรียบเสมือนกับ Third-party ที่ใช้ร่วมกับ Layer 1 โดยเป็นการเพิ่ม node เพื่อแก้ไขในส่วนของการทำธุรกรรมให้มีการประมวลผลที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้นและค่าธรรมเนียมที่ถูกลง โดยวิธีการนั้นจะเป็นการนำธุรกรรมของ Blockchain Layer 1 มาประมวลผลและหลังจากนั้นก็ส่งข้อมูลกลับไปยัง layer 1 นั้นเหมือนเดิม
ในส่วนของวิธีการแก้ไขในการ Scale ของ Blockchain บน Layer 2 มีวิธีการแก้ไขอยู่หลายแบบ แต่ในที่นี้จะทำการยกตัวอย่างมา 2 แบบ ได้แก่
เป็นการเพิ่มความจุและความเร็วของธุรกรรมโดยรวม โดยการอำนวยความสะดวกในการสื่อสารแบบสองทางระหว่างช่องทางการทำธุรกรรมแบบ blockchain และแบบ off-chain ผ่านวิธีการต่างๆ
ยกตัวอย่างเช่น Bitcoin's Lightning Network คือเครือข่ายที่มาช่วยแก้ไขในเรื่องความล่าช้าในการประมวลธุรกรรมของ bitcoin
มีการประมวลผลธุรกรรมมาจาก Layer 1 แต่ sidechains จะแตกต่างจาก state channels ตรงที่ Sidechains จะมีการบันทึกธุรกรรมทั้งหมดลงบนnetwork เนื่องจากมีการใช้ระบบฉันทามติ(Consensus mechanism) เหมือนกับ Layer 1
ยกตัวอย่างเช่น Polygon เป็น sidechain ที่แยกมาจาก Ethereum
โดยสรุปแล้วความแตกต่างระหว่าง Blockchain Layer 1 และ Layer 2 นั้นคือ
Layer 1 สามารถที่จะตรวจสอบธุรกรรมได้ด้วยตัวเอง
Blockchain Layer 3 หรืออีกชื่อคือ Layer Application โดยหน้าที่หลักของ Layer 3 คือ ทำหน้าที่เป็นเพียง UI ที่ผู้ใช้โต้ตอบกับส่วนหน้าซึ่งก็คือ DApp ในขณะที่ smart contracts ทำงานที่ส่วนหลังเพื่อทำธุรกรรมอัตโนมัติบน Blockchain
ส่วนการแก้ปัญหา Layer 3 ส่วนใหญ่เป็นการ cross-chain ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึง Dapp ต่างๆบน Blockchainที่ต่างกันจาก Dapp เดียว
ตัวอย่างเช่น CakeDeFi เป็นแอปพลิเคชั่น Defi ที่ให้บริการแก่ผู้ถือเหรียญ BTC ด้วยบริการการปักหลัก การให้ยืม และการขุดสภาพคล่อง CakeDeFi สร้างขึ้นบน DeFiChain fork ของ Bitcoin
อ้างอิง
Layer 0 | Alexandria (coinmarketcap.com)
What Is Blockchain Layers 0, 1, 2, and 3: Explained | Zebpay
What Are Application Layer Protocols? | Alexandria (coinmarketcap.com)
Blockchain Layers Explained: Layer 0, Layer 1, Layer 2 And Layer 3. (nigeriabitcoincommunity.com)
A beginner's guide to understanding the layers of blockchain technology
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด