Scalability คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อประสิทธิภาพของ Blockchain ? | Techsauce

Scalability คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อประสิทธิภาพของ Blockchain ?

Blockchain กลายเป็นเทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพล และสร้างการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยคุณสมบัติสำคัญ ได้แก่ การกระจายอำนาจ (Decentralization), ความปลอดภัย (Security) และ ความสามารถในการขยายเครือข่าย ( Scalability ) โดยเฉพาะเมื่อมีการนำไปใช้งาน และเกิดธุรกรรมขึ้นเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการปรับขนาดเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพมากพอในการรองรับการเพิ่มขึ้นของอัตราปริมาณงานของระบบจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ 

Scalability

ความสามารถในการปรับขนาดที่สัมพันธ์กับ Blockchain คือ ความสามารถในการรองรับทรัพยากรเพิ่มเติมหรือขยายขนาดตามและเมื่อฐานผู้ใช้เริ่มเติบโตเกินพื้นที่ที่มีอยู่ โดยปัจจัยต่างๆ ที่กำหนดความสามารถในการปรับขนาดของ Blockchain นั้น ได้แก่ 

ต้นทุนและความจุ(Cost & Capacity) 

ปัจจัยด้านต้นทุนและความจุในความสามารถในการปรับขนาดได้แสดงถึงความต้องการในการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากบน Blockchain ซึ่งทุก node ในเครือข่าย Blockchain ไม่มีทรัพยากรและความสามารถเพียงพอสำหรับการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลดังกล่าว นั่นจึงเป็นปัญหาที่ทำให้ต้นทุนธุรกรรมมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น

เครือข่าย(Networking) 

ในการทำธุรกรรมบน Blockchain นั้นจะมีการเชื่อมต่อไปยังทุกๆ node ซึ่งทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรของเครือข่ายเป็นจำนวนมากและทำให้เกิดความล่าช้าในการกระจาย node ดังนั้นกลไกที่มีประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลจึงมีความสำคัญ

ปริมาณงาน(Throughput) 

เวลาที่จำเป็นสำหรับการยืนยันต่อธุรกรรมหนึ่งรายการและขนาดของบล็อกสำหรับธุรกรรม ด้วยจำนวนธุรกรรมที่มากขึ้น ขนาดของบล็อกจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงทำให้ต้องใช้ทรัพยากรเพิ่มเติมมากขึ้นเช่นกัน


จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นจึงสามารถสรุปปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการปรับขนาดของ Blockchain ได้ดังนี้

ข้อจำกัด (Limitations) ปัญหาที่สำคัญที่สุดในความสามารถในการปรับ Blockchain คือ ข้อจำกัด เนื่องจากมีข้อจำกัดของ Hardware ในการขยายเครือข่ายของ Blockchain จึงเป็นเรื่องยากที่จะรักษาและบำรุง Hardware และในกรณีของการประมวลผลธุรกรรมใหม่ๆ ซึ่งแต่ละ node จะเพิ่มข้อมูลลงในบัญชี ทำให้ให้ประวัติการทำธุรกรรมที่เพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้ระบบสามารถล่มได้ 

ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม (Transaction Fees) จำนวนการใช้งานที่เพิ่มขึ้นของเครือข่ายBlockchain ทำให้กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมมีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากมีความต้องการพลังงานในการประมวลผลที่สูงขึ้นสำหรับการขุด ผู้ใช้ต้องชำระค่าธรรมเนียมเฉพาะสำหรับการตรวจสอบธุรกรรมของตน ด้วยเครือข่ายBlockchainที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผู้ใช้ต่างกระตือรือร้นที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่สูงขึ้นสำหรับการตรวจสอบธุรกรรมของพวกเขา

ขนาดบล็อก (Block Size) จำนวนธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นในเครือข่ายBlockchainนำไปสู่กระบวนการที่ใช้เวลามากในการดำเนินการธุรกรรม

เวลาตอบสนอง(Response Time) ธุรกรรมทั้งหมดในเครือข่ายBlockchain ควรผ่านกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องธุรกรรม ซึ่งในการตรวจสอบธุรกรรมจำเป็นที่จะต้องพิจารณาจากจำนวนธุรกรรมในการเข้าคิวดังนั้น เวลาตอบสนองนั้นจึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่สูง

สรุป

จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นจึงสามารถที่จะสรุปได้ว่าความสำคัญของ Blockchain scalability นั้นคือ การที่สามารถประมวลผลในการทำธุรกรรมได้เร็วมากยิ่งขึ้น จะช่วยทำให้ค่าธรรมเนียมมีราคาที่ถูกลงเพราะเป็นการลดเวลาและข้อจำกัดต่างๆที่ใช้ในการประมวลผล


อ้างอิง 

What is Blockchain Scalability? Why Will It Be a Key Investment Metric in 2022?

Blockchain Scalability Problem – Why Is It Difficult To Scale Blockchain


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำไม Deepseek อาจยังไม่ใช่การก้าวกระโดดของเทคโนโลยี ฟังความเห็น ดร.พัทน์ แห่ง MIT Media Lab

DeepSeek R1 คือ AI จากจีนที่ถูกมองว่าอาจท้าทาย ChatGPT-O1 ของ OpenAI แต่ ดร. พัทน์ ภัทรนุธาพร วิเคราะห์ว่า DeepSeek อาจยังไม่ใช่ "breakthrough" ที่แท้จริง...

Responsive image

ท๊อป Bitkub Group ถกประเด็น ‘อนาคตสินทรัพย์ดิจิทัล & โทเคน’ บนเวที WEF 2025

สรุปประเด็น ‘สินทรัพย์ในอนาคต’ กับการถูกแปลงสภาพการใช้งานไปอยู่ในรูปของ ‘สินทรัพย์ดิจิทัลและโทเคนดิจิทัล’ ที่ คุณท๊อป - จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้ง Bitkub Capital Group Holdin...

Responsive image

สิงคโปร์ ทำอย่างไรให้เป็นยักษ์ใหญ่ Fintech?เมื่อหัวใจของนวัตกรรมคือ ‘คน’

โลกยุคดิจิทัลพาให้หลายวงการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะ Fintech ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีสิงคโปร์เป็นผู้นำด้านการเงินแล้ว นับได้ว่าเป็นศูนย์กลาง Fintech ของภูมิภาค SEA ก็ว่าได...