Venture Building การสร้างปลาเร็วในมหาสมุทรแห่งความท้าทาย | Techsauce

Venture Building การสร้างปลาเร็วในมหาสมุทรแห่งความท้าทาย

ในปัจจุบันที่นับว่าเป็นยุคสมัยของปลาเร็วกินปลาช้า หลายบริษัทเทคโนโลยีใช้เวลาน้อยกว่าบริษัทยักษ์ใหญ่เจ้าเดิมมากในการเพิ่มมูลค่าของตนขึ้นมายืนแถวหน้า ด้วยการสร้างนวัตกรรมและความเปลี่ยนแปลงต่อโลก หากเปรียบเทียบแล้ว 10 อันดับแรกของบริษัทที่มูลค่ามากที่สุดในโลกจาก Statista นั้นมีมากถึง 7 จาก 10 บริษัทที่ทำธุรกิจที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม โดยบริษัทยักษ์ใหญ่มากันครบทั้ง Apple, Microsoft, Alphabet (บริษัทแม่ของ Google), Tesla, Meta (บริษัทแม่ของ Facebook และ Instagram)

ทำให้เราเห็นได้ว่า การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ของผู้ใช้งานสามารถมีมูลค่าได้มากและรวดเร็วขนาดไหน โจทย์สำคัญของยุคนี้ จึงเป็นการสร้างนวัตกรรมให้เร็วเพื่อตอบสนองต่อปัญหาของผู้บริโภค บริษัทใหญ่ที่มีทั้งบุคลากร เงิน สิทธิบัตร และทรัพยากรอื่น ๆ นั้นอาจดูได้เปรียบบริษัทเล็ก ๆ แต่พอเป็นบริษัทใหญ่ก็ทำให้ความคล่องตัวและโฟกัสต่อการแก้ปัญหานั้นลดลงไป สาเหตุนั้นเป็นได้จากทั้งการเมืองในองค์กร วัฒนธรรมในองค์กร หรืออีกหลากหลายสาเหตุ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ 5 อุปสรรคขององค์กรใหญ่ ในการเปลี่ยนแปลงไปสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม)

บริษัทใหญ่หลายบริษัทในปัจจุบันจึงนิยมทำ Venture Building เพื่อการสร้างนวัตกรรมและโซลูชันให้ได้อย่างรวดเร็ว

Venture Building ทางลัดสร้างนวัตกรรม

การทำ Venture Building นั้นหมายถึง บริษัทแม่ (Corporate) สร้างทีม Startup ใหม่จากภายในองค์กรอย่างเป็นระบบ โดยการนำความเชี่ยวชาญและทรัพยากรที่มีอยู่แล้วของบริษัทแม่มาช่วยในการพัฒนานวัตกรรมและการเข้าสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว และยังมีความยืดหยุ่น ความคล่องตัว และการโฟกัสเพื่อสร้างนวัตกรรม ในแบบ Startup อยู่ด้วย

นอกจากนี้ ยังเป็นการกระจายความเสี่ยงขององค์กรใหญ่ในการสร้างช่องทางรายได้ใหม่ สร้างธุรกิจเพื่อเข้าสู่ตลาดใหม่ รวมถึงการสร้างนวัตกรรมเฉพาะขององค์กรที่จะทำให้เกิดความได้เปรียบทางธุรกิจ (Unfair Advantage) ที่คู่แข่งทำได้เพียงแค่วิ่งตามหรือถูกดิสรัปต์ไป

การแทรกตัวเพื่อแย่งชิงตลาดและ Talent

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เชื่องช้า (เพียง 2.4%, -6.1%, 1.5% ในปี 2562, 2563 และ 2564 ตามลำดับ) เช่นเดียวกับหลายบริษัทใหญ่ที่มีสัดส่วนการเติบโตของรายได้และมูลค่าที่ช้าลงกว่าทศวรรษก่อน ทำให้หลายบริษัทต้องแสวงหาน่านน้ำใหม่ รวมทั้งการกระจายความเสี่ยงจากตลาดเดิม ส่งผลให้เกิดการทำ Venture Building ในบริษัทใหญ่หลายเจ้า

แต่ในหลายครั้งนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจาก Startup ที่เกิดขึ้น ก็มักจะถูกใช้เพียงแค่ในกลุ่มบริษัทในเครือของบริษัทแม่เท่านั้น ทำให้ตลาดและรายได้ของ Startup เหล่านี้ต้องพึ่งพาบริษัทแม่อยู่ โดยไม่ได้สามารถเข้าสู่ตลาดใหม่ หรืออยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ จำนวนคนเก่ง (Talent) ในตลาดแรงงานยังมีจำนวนเท่าเดิม เพิ่มขึ้นไม่ทันต่อจำนวน Startup ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดสงครามแย่งชิงคนเก่ง (Talent War) ระหว่างทั้ง Startup ใหม่จากการทำ Venture Building, Startup ที่เกิดขึ้นเอง หรือบริษัทใหญ่เดิม

Venture Building ไม่ได้ง่าย ต้องพัฒนาตลอดเวลา

SCG หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทยที่มีชื่อเสียงในการจัดการองค์กร เน้นการเปิดกว้างทางความคิดใหม่ ๆ และให้ความสำคัญต่อดูแลคน ได้เริ่มมีแนวคิดในการทำ Venture Building ตั้งแต่ปี 2017 เพื่อสร้างธุรกิจใหม่เพื่อเป็นปลาเร็ว ที่จะเป็นส่วนสำคัญในการสำรวจน่านน้ำใหม่และจะก้าวขึ้นมาเป็นส่วนสำคัญของ SCG

SCG ได้ผ่านร้อนผ่านหนาวตลอด 5 ปี จนล่าสุดได้มาสรุปประสบการณ์การทำ Venture Building ในงาน Techsauce Global Summit 2022 ที่ผ่านมา ในหัวข้อ ‘5 yrs of Corporate Venture Building in 15 mins’ 

SCG ได้ลองผิดลองถูกกับการทำ Venture Building ในหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบการมอบหมายงานที่เป็นแบบบนลงล่าง (Top-down Approach) หรือแบบล่างขึ้นบน (Bottom-up Approach) ร่วมไปกับการพัฒนาแนวทางในการสร้างทีมปลาเร็ว เช่น การกำหนดกลุ่มธุรกิจเป้าหมาย ตัวชี้วัดในการลงทุนแต่ละโครงการ และการสร้าง Unfair Advantage รวมทั้งได้มีการ Spin-off และ Spin-in Startups ต่าง ๆ ออกและเข้ามาอยู่ในบริษัทแม่หลายครั้ง

โดยส่วนสำคัญในการทำ Venture Building ของ SCG คือ (1) คน ที่ต้องเฟ้นหาคนที่มีทักษะในการสร้างธุรกิจใหม่ (Build business) ซึ่งอาจแตกต่างจากคนที่มีอยู่แล้วในดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน (Run business) และ (2) การจัดการคนที่เข้ามาสร้างนวัตกรรม ที่ต้องมีระบบที่ส่งเสริมให้เกิดการลองผิดลองถูก (License to Fail) และการสร้างแรงจูงใจ (Incentive) ที่เหมาะสมในการสร้างธุรกิจใหม่

เช่นเดียวกับการสร้างทีมปลาเร็วของ SCG ที่ต้องลองหลากหลายวิธีในการสรรหาเหล่า Innovator ที่ใช่ ทั้งการดึงพนักงานประจำมาอยู่ในทีมปลาเร็ว การเฟ้นหา Innovator จากภายนอก หรือการสร้าง Innovator ที่คุ้นเคยกับการทำ Venture Building เอง เพื่อให้ได้ทีมและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับการสำรวจน่านน้ำใหม่ของ SCG

เพราะไม่มีใครมีทุกอย่าง และเก่งทุกเรื่อง

ปัจจุบันมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยสัญญาณที่เห็นได้ชัดคือ อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบและน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้ธุรกิจใหญ่และเล็กต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างมาก ทั้งจากการใช้จ่ายที่น้อยลงของผู้บริโภค ต้นทุนที่สูงขึ้น และขนาดของตลาดเดิมที่หดตัวลง เมื่อรวมกับปัญหาการเข้าสู่ตลาดใหม่ไม่ได้และการขาดแคลน Talent ที่จะเข้ามาเป็นคนที่ถูกต้องในองค์กร ทำให้ความท้าทายในครั้งนี้ถือว่าหนักเกินกว่าจะรับมืออย่างโดดเดี่ยว

การร่วมมือกันระหว่างธุรกิจหรือระหว่างองค์กร (Collaboration) จึงเป็นทางรอดที่จะทำให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ การแบ่งปันคนและความรู้ระหว่างกัน รวมถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของตลาดเดิมให้เป็นไปตามเทรนด์ใหม่ ๆ เช่น Green Economy หรือ ESG (สิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และธรรมาภิบาล) ที่เกิดจากความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ทำให้เจ้าเดิม ๆ ต้องปรับตัว และเจ้าใหม่ ๆ ได้เข้ามา

ความร่วมมือที่เกิดขึ้นสามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ เช่น บริษัทที่ได้รับผลกระทบจากวัตถุดิบที่สูงขึ้น ก็จะต้องหามองหา Partner มาเป็นแหล่งวัตถุดิบใหม่หรือแนวทางในผลิตใหม่ ๆ หรืออีกตัวอย่างคือบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน ก็จะมองหาความร่วมมือในการขนส่งสินค้าร่วมกันเพื่อประหยัดต้นทุน หรือการร่วมกันวิจัยหาพลังงานทดแทนใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพในระยะยาว

เพราะการทำสงครามแย่งชิงคนเก่ง ทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทต่าง ๆ และตลาดแรงงานในภาพรวม ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยให้ Partner สามารถแบ่งปันความรู้ ไอเดีย และคนที่ใช่ (Talent) ระหว่างกัน รวมถึงการแลกกันอบรมทักษะให้แก่พนักงานในส่วนที่ตนเองเชี่ยวชาญ จึงเป็นโอกาสของคนใหม่ ๆ ที่อยากลองทำสิ่งใหม่ที่แตกต่างและอยากได้โอกาสในการลองผิดลองถูกไปกับ Partner ใหม่ ๆ เพื่อก้าวข้ามความท้าทาย

ในการเตรียมรับมือกับคลื่นลูกใหม่ที่กำลังจะซัดเข้ามา นอกจากนี้หา คน เข้ามาร่วมทีมแล้ว SCG ยังมองว่าการ Collaboration เป็นสิ่งสำคัญมากกว่าการแข่งขัน และการร่วมมือระหว่างองค์กรสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบมากกว่าตัวอย่างที่ยกไปข้างต้น หากมี Corporate หรือองค์กรไหนที่สนใจจะเข้ามาร่วมมือ หรืออยากให้ SCG เข้าไปเติมเต็ม มาแสวงหาการเติบโตเพื่อขึ้นไปอยู่บนคลื่นด้วยกันได้ที่ 

https://addventures.co.th/

https://www.linkedin.com/company/addventuresbyscg/

http://www.scg.com/zerotoone/


บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...