6 ประเด็นน่ารู้ จาก VC รายใหญ่ สัมภาษณ์พิเศษ สองผู้ร่วมก่อตั้ง Golden Gate Ventures | Techsauce

6 ประเด็นน่ารู้ จาก VC รายใหญ่ สัมภาษณ์พิเศษ สองผู้ร่วมก่อตั้ง Golden Gate Ventures

สัมภาษณ์พิเศษ สองผู้ร่วมก่อตั้ง Golden Gate Ventures คุณ Vinnie Lauria และ คุณ Paul Bragiel กับภารกิจในไทย และมุมมองต่างๆ ในฐานะ VC ที่ขึ้นชื่อเรื่องการลงทุนระดับ Early stage ในภูมิภาคนี้ สรุปออกมาเป็น 6 ประเด็นน่ารู้

คุณ Paul Bragiel คนที่สองนับจากซ้ายมือ และคุณ Vinnie Lauria คนที่สามนับจากซ้ายมือ

ก่อนหน้านี้ Techsauce ได้เคยพูดคุยกับคุณ Jeffrey Paine เรื่องมุมมองต่อ Startup เมื่อทราบข่าวว่า Paul และ Vinnie ผู้ร่วมก่อตั้งอีกสองท่านจะมาเมืองไทย แม้ทั้งคู่มีภารกิจมากมาย แต่ทีมงาน Techsauce ก็หาโอกาสเข้าประชิดตัวได้สำเร็จ จากการที่ได้พูดคุยกับทั้งสอง สามารถสรุปประเด็นหลักๆ ได้ดังนี้

Partnership เป็นส่วนสำคัญมากเช่นกัน สำหรับ VC

Techsauce: มาเมืองไทยครั้งนี้ พวกคุณมีภารกิจอะไรบ้าง?

Paul: เรามาที่นี่ด้วยสองภารกิจหลัก แน่นอนว่าหนึ่งคือเพื่อนัดพบกับเหล่า Startups เจ๋งๆ รุ่นใหม่ แต่นอกจากการมองหาบริษัทที่จะลงทุนแล้ว พวกเรายังมองหาพันธมิตรเพิ่มเติมด้วย โดยเฉพาะบริษัทและองค์กรขนาดใหญ่

Vinnie: ใช่แล้ว หน้าที่ของเราไม่ใช่เรื่องลงเงินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นการช่วยให้บริษัทเติบโตด้วย ช่วยให้พวกเขาสามารถออกสู่ตลาดใหม่ๆ ได้ เรามีพอร์ตการลงทุนใน Startups ไทย และนอกเหนือจากไทยด้วย ยกตัวอย่างเช่น พวกเราได้ช่วยเหลือ Omise ขยายไปสิงคโปร์ และเรายังช่วยเหลือ Startups อื่นๆ ของเราให้เข้าตลาดในประเทศไทย ซึ่งการเป็นพันธมิตรกับบริษัทใหญ่ จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการขยายตลาด

การพบ VC ไม่จำเป็นต้องเป็นทางการเสมอไป

Vinnie: เราทำความรู้จักกับ Startups เยอะมาก เรียกได้ว่าเป็น หลักพัน ต่อปี ปกติการนัดพบครั้งแรกจะยังไม่ช่วยอะไรเราได้มากเท่าไร เราต้องมีการนัดพบอีกเพิ่มเติม เมื่อคืนนี้เราจึงได้จัด Founders’ night party ขึ้นมา ได้พบเพื่อนๆ ที่เราเคยลงทุนด้วยแล้ว เพื่อถามไถ่เรื่องต่างๆ รวมถึงได้พบปะผู้ประกอบการใหม่ๆ ด้วย ถึงแม้ว่าช่วงเวลาที่สั่งเครื่องดื่ม อาจจะไม่ใช่เวลาที่ดีที่สุดสำหรับการ pitch แต่การสร้างความสัมพันธ์ และทำความรู้จักกับคนก็สำคัญมาก ดังนั้น ทุกๆ ครั้งที่เรามาเมืองไทย เราก็ทำเหมือนครั้งนี้ คือให้ความสำคัญกับ การสานสัมพันธ์

ความเกี่ยวข้องระหว่าง Corporations, VCs และ Startups

Techsauce: ดูเหมือนปีนี้คุณจะคุยกับบริษัทใหญ่ มากกว่าทุกครั้ง เป็นเพราะคุณเข้าหาพวกเขามากขึ้น หรือว่าเป็นเพราะพวกเขา เริ่มเป็นฝ่ายเข้าหา VCs มากขึ้น?

Vinnie: ผมว่าทั้งสองคู่เลยครับ บริษัทต่างๆ เองก็พยายามจะเข้ามาในวงการ tech มากขึ้น สำหรับพวกเขาแล้ว มันเกี่ยวข้องกับ Research & Development แม้แต่บริษัทด้าน tech ขนาดใหญ่ใน U.S. เอง ก็ยังเข้ามาลงทุนในบริษัท tech เจ้าอื่นๆ เลย เช่น Microsoft Ventures กับ Google Ventures เพราะมันช่วยให้พวกเขาได้เข้าใจว่า อะไรใหม่ อะไรกำลังร้อนแรง ข้างนอกเขามีอะไรกัน ด้วยเหตุนี้เองทำให้บริษัทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร บริษัทประกัน หรือแม้แต่ บริษัทด้านอสังหาริมทรัพย์ ต่างก็สนใจที่จะเข้ามาลงทุน

ส่วนอีกด้านหนึ่ง คือเรื่องการสนับสนุน Startups ในพอร์ตการลงทุนของเรา พอร์ตของเรามีเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว Fintech รวมถึง การเกษตร และเฟอร์นิเจอร์ พอร์ตโฟลิโอของพวกเราเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เราจึงต้องมีการพูดคุยกับหลากหลายบริษัท ที่สามารถสนับสนุน Startups ในพอร์ตของเราได้ บริษัทเหล่านี้ สามารถช่วยเรื่องช่องทางการกระจายสินค้า หรือเรื่องไลน์ธุรกิจ ที่บางทีบริษัท Startup เข้าเองไม่ถึง

มุมมองต่อ Startup Ecosystem ประเทศไทย ในช่วงหลายปีมานี้

Vinnie: เปลี่ยนไปเยอะครับ ครั้งแรกที่ผมมากรุงเทพฯ ปี 2010 ตอนนั้นเพิ่งเริ่มมี co-working space เอง จนถึงตอนนี้ ผ่านมา 6 ปีแล้ว พบว่า co-working space เติบโตขึ้นมาก ผมมองสถานที่นี้เป็นองค์ประกอบหนึ่งใน ecosystem เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้คนได้พบปะกัน ได้ถามคำถาม ได้เรียนรู้ กระทบไหล่กัน ซึ่งสำหรับผมแล้ว เป็นเรื่องนึงที่สำคัญมาก นอกจากนี้ คุณยังสามารถดูการเติบโตของ Startup ไทย ได้จากจำนวนการเข้ามาลงทุนใน Startup หรือจากจำนวน Startup ที่ได้รับการลงทุน ซึ่งพบว่าตัวเลขทั้งหมดนี้ล้วนโตขึ้น ไม่ว่าจะมองจากบนลงล่าง หรือจากล่างขึ้นบน ผมก็พบว่าตอนนี้ กับเมื่อห้าหกปีที่แล้ว เปลี่ยนไปแบบ 180 องศา

Techsauce: แล้วถ้าเทียบกับประเทศอื่น เป็นอย่างไรบ้าง?

Paul: สำหรับประเทศไทย ผมเซอร์ไพรส์เหมือนกัน ที่ได้เห็นองค์กรใหญ่ในตอนนี้ พวกเขาตื่นเต้นกับเรื่อง Startup พวกเขาเริ่มลงเงินลงแรงกับเรื่องนี้ และมีความต้องการหาพันธมิตร ในขณะที่บางประเทศที่ยังคงอนุรักษ์นิยมก็ยังมีอยู่ ผมคิดว่าถ้ามองไปยังองค์กรใหญ่ ประเทศไทยรุดหน้ามากทีเดียว เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค

Vinnie: ทุกๆ ประเทศมีสีสันที่ไม่เหมือนกัน ที่ผมคิดว่าสำคัญกว่า คือการมองว่า อะไรคือโอกาสของประเทศไทย แล้วเราจะพาบริษัทไทยไปข้างนอก หรือพาบริษัทนอกเข้าในไทย ได้อย่างไร พอร์ตการลงทุนในบริษัทไทยที่เรามี หลายบริษัทได้แสดงศักยภาพในการขยายออกนอกประเทศ ดังนั้น ไม่สำคัญว่าคุณจะอยู่ประเทศไหน คุณควรมองเรื่องศักยภาพที่จะขยายออกนอกประเทศ

Techsauce: มี vertical/industry ไหนที่พวกคุณสนใจเป็นพิเศษไหม? เช่น ในประเทศไทยตอนนี้ ที่กำลังเป็นกระแสมาแรง คือ FinTech

Vinnie: ผมไม่คิดว่า FinTech เป็นกระแสนะ มันเป็นโอกาสสำคัญที่ควรมีมากกว่า ผู้คนจะซื้อขายของออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสินค้าจับต้องได้อย่างโทรศัพท์มือถือ หรือสินค้าดิจิตอลอย่างการดาวน์โหลดเกม ซึ่งยอดการซื้อขายมันเติบโตขึ้น เร็วกว่ายอดจำนวนคนที่สมัครบัตรเครดิต แล้วคุณจะจัดการกับช่องว่างนี้อย่างไร? นั่นคือ FinTech สำหรับผม และผมคิดว่าไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่จะเป็นเรื่องของทั่วทั้งเอเชีย เพราะ PayPal, Stripe, Braintree ต่างก็ตั้งอยู่ใน U.S. และพวกเขาก็ไม่ได้ localize เข้ามายังภูมิภาคนี้ นั่นจึงเป็นโอกาสของ FinTech ในภูมิภาค เช่น Omise เพราะสามารถเข้าถึงสภาพแวดล้อมในภูมิภาคได้ พวกเขาทำงานกับธนาคารต่างๆ ของที่นี่ เพิ่มวิธีการชำระเงินใหม่ๆ เข้ามา ในขณะที่ยังมีโอกาสเติบโตได้ในระดับโลก

Paul: เรื่องหนึ่งที่ผมสนใจเองส่วนตัว คือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอาหาร และการเกษตร (food and agricultural technology) และผมคิดว่าประเทศไทย สามารถเป็นผู้เล่นที่แข็งแกร่งได้ เมื่อดูจากจำนวนงานวิจัยมากมายที่มี และจำนวนองค์กรใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับด้านนี้ ผมคิดว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาในธุรกิจเหล่านี้มากขึ้น และผมก็อยากเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์นั้น อยากร่วมมือกับผู้คนที่นี่ เพื่อทำให้มันเกิดขึ้น เพราะผมคิดว่ามันจะเกิดแน่ๆ ในประเทศไทย

VC กับมุมมองเรื่องความเสี่ยง

Techsauce: แล้วสำหรับเรื่องความเสี่ยง หรือความท้าทายในปีนี้ คิดว่ามีอะไรบ้าง?

Paul: ผมคิดว่าความเสี่ยงมีเหมือนกันทุกที่ในโลกนะครับ Venture Capital ลงทุนใน Startup ที่ยังเป็น Early stage ก็ล้วนเสี่ยงกันทั้งนั้น แต่พวกเราก็อ้าแขนรับความเสี่ยง ซึ่งวิธีลดความเสี่ยงของเรา คือการสนับสนุนผู้ประกอบการที่มีความสามารถ ที่มีความกระหาย เราพยายามเข้าร่วมกับคนที่เป็นผู้ประกอบการที่ยอดเยี่ยม แต่แม้กระนั้นธุรกิจที่เราลงทุนอาจจะล้มเหลวก็ได้ แม้แต่ผมเองก็เคยล้ม ดังนั้นการเป็น VC ไม่สมบูรณ์แบบเสมอหรอกครับ

ทิศทางต่อไปของ Golden Gate Ventures

Paul: ทีมของเรายังคงเหมือนเดิม เราชอบให้ทีมของเรา lean ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเป็นอยู่ตอนนี้ ในอนาคตจะมีจำนวนการลงทุนเพิ่มขึ้น จะมีกองทุนเพิ่มขึ้น เป็นสาม สี่ และห้า กองทุน เรายังคงอยากอยู่ในภูมิภาคนี้ในระยะยาว เป้าหมายของพวกเราคือการเป็น VC อันดับหนึ่งในภูมิภาคนี้ ผมคิดว่าตอนนี้พวกเราได้รับตำแหน่งนี้แล้ว และเราอยากจะรักษามันไว้ต่อไป เราหวังว่าเราจะได้ทำงานกับคนเอเชียเพิ่มมากขึ้นด้วย ให้พวกเขาช่วยเราเสาะหาข้อเสนอดีๆ กลยุทธิ์ของเราคือ เราอยากเป็นส่วนหนึ่งของ ecosystem ในประเทศต่างๆ เราอยากเป็นกำลังเสริมที่มีคุณค่าต่อวงการ แน่นอนว่าไม่เพียงแต่เรื่องการลงทุนเท่านั้น

Techsauce: แล้วขนาดการลงทุนของคุณจะเปลี่ยนไปไหมในอนาคต จะมีขนาดการลงทุนที่ใหญ่ขึ้นหรือไม่? หรือมีแผนการจะ co-invest กับองค์กรอื่นๆ เพิ่มขึ้นหรือไม่?

Paul: เรายังไม่ทราบเหมือนกันครับ พวกเราค่อนข้างยืดหยุ่น เราอยากจะคงขนาดทีมเท่าเดิม แต่อยากได้นักลงทุนมาเข้าร่วมกับเราเพิ่มขึ้นเหมือนกัน ความฝันของผมคือการมีเหล่า VC เพิ่มมากขึ้นในประเทศกลุ่มนี้ อีกร้อยเท่า ในอีกสิบปีข้างหน้า เพราะนั่นหมายความว่าจะมีเงินเข้าระบบเพิ่มมากขึ้น Startups จะมีโอกาสมากขึ้นที่จะประสบความสำเร็จ ดังนั้น ผมหวังว่าคน หรือองค์กร จะเริ่มลงเงินร่วมกันกับเรามากขึ้น พวกเขาจะได้เรียนรู้วิธีการลงทุนไปด้วย โดยไม่จำเป็นต้องเป็นนักลงทุน full time เราอยากเชิญพวกเขาให้มาร่วมเรียนรู้ไปกับเรา


โดย Golden Gate Ventures เป็น VC ที่เคยลงทุนใน Startups ไทยหลายราย สามารถอ่านบทความและข่าวทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ Golden Gate Ventures ที่ Techsauce เคยเขียนได้เพิ่มเติม จาก Tag "Golden Gate Ventures"

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...