Wazzadu.com เปิดตัว AI Visual Recognition พลิกโฉม ! วงการออกแบบสถาปัตย์และการค้นหาวัสดุ | Techsauce

Wazzadu.com เปิดตัว AI Visual Recognition พลิกโฉม ! วงการออกแบบสถาปัตย์และการค้นหาวัสดุ

เราอาจจะคุ้นเคยกับข่าวที่ว่าปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กำลังเข้ามาเขย่าทุกวงการ  ทั้งด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ การแพทย์ และการผลิต หรือมีคำพูดติดปากกันว่าจะมาแย่งงานคนอย่างเราหรือเปล่า แต่สำหรับวงการการสถาปัตย์และออกแบบภายใน จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันได้มีการสร้าง AI เข้ามาช่วยการทำงานให้ผู้คนง่ายขึ้น นับว่าอาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่แห่งวงการเลยทีเดียว 

แนวคิดที่ว่าหุ่นยนต์อัจฉริยะจะพัฒนาจนสามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับด้านออกแบบ ทั้งตัวอาคาร การสร้างงานศิลปะ หรือยานพาหนะ แทนมนุษย์นั้นเป็นเรื่องจริงขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ล่าสุดก็ได้มีการพิสูจน์แล้วว่า AI สามารถเข้ามาช่วยนักออกแบบในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มกระบวนการสร้างสรรค์มากกว่าจะเป็นการเข้ามาแย่งงาน

บริษัท Wazzadu.com (วัซซาดุดอทคอม) ในฐานะ Ecosystem of Architectural design and material ทำการเปิดตัวเทคโนโลยี Wazzadu AI ในงาน AI. for Architectural & Material Design มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาวงการ Architectural design and Material เข้าสู่โลกที่กําลัง Transform สู่ยุคสมัยใหม่ โดยการนําเทคโนโลยีทางด้าน AI หรือปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการทําให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับวงการ ให้สามารถเติบโตได้ในยุค Digital transformation

Wazzadu AI Visual Recognition

Wazzadu AI Visual Recognition

Wazzadu AI Visual Recognition

ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.รัชฎา คงคะจันทร์ จากห้องปฏิบัติการวิจัยปัญญาประดิษฐ์ มาแบ่งปันในเรื่อง AI. Change The World ได้อย่างไร? ทั้งนี้ทางสมาคมได้มีการทำความร่วมมือเป็นพันธมิตรกับทาง wazzadu.com ในการพัฒนา AI ของวงการร่วมกันต่อไป

คุณจุลเกียรติ สินชัยชูเกียรติ ผู้ก่อตั้ง Wazzadu.com ได้เล่าถึงประสบการณ์การเป็นสถาปนิก อีกทั้งปัญหาที่พบเจอในวงการออกแบบตกแต่ง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสถาปนิกที่มีความลำบากเรื่องการดูแลจัดการแคตตาล็อกของตกแต่ง ลูกค้าและสถาปนิก ต้องการค้นหาไอเดีย แต่บางครั้งภาพที่ได้มา ก็ไม่สามารถหาผู้จำหน่ายวัสดุที่ต้องการได้ ผู้ผลิต หรือผู้จำหน่ายวัสดุเอง ก็มีปัญหาเรื่องการหาลูกค้า โดยเฉพาะการทำการตลาดออนไลน์ Wazzadu จึงเข้ามาเป็นแพลตฟอร์มตัวกลางเพื่อเชื่อมโยงทุกๆ ส่วนในอุตสาหกรรม ตั้งแต่ขั้นการหาไอเดียเรื่องการตกแต่ง ไปจนถึงการซื้อของตกแต่งจากร้านค้าหรือแบรนด์ และการหาช่างและสถาปนิก

โดยการพัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในอุตสาหกรรมนี้นั้นถือว่าเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งโครงการพัฒนา AI ที่ Wazzadu.com ได้พัฒนามาตั้งแต่ต้นปี 2019 จนได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจจะเข้ามาช่วยสถาปนิกและมือโปร (Architect & Pro) ในการค้นหาดีไซน์ แหล่งความรู้ และแนะนำวัสดุที่ต้องการ ต่อมาคือฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing) ในการมองหานวัตกรรมใหม่ๆ การจัดทำงบประมาณ และสำหรับซัพพลายเออร์ที่อยู่ในวงการในการมองหาตลาดใหม่ๆ และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง

เนื่องจากการทำงานส่วนใหญ่เป็นการทำงานแบบซ้ำๆ และสามารถทําได้เร็ว แม่นยํากว่ามนุษย์โดย AI จะเป็นเพื่อนผู้ใช้งานให้ทํางานได้เร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โดยมีการพัฒนาเทคโนโลยี AI Visual Recognition สำหรับหลายภาคส่วนในการจัดการสเปคสินค้าที่ต้องการ เหมาะกับทั้งองค์กร  เอ็นเตอร์ ไพรส์ สถาปนิก อินทีเรีย หรือผู้ที่กำลังออกแบบบ้าน คอนโด ออฟฟิศ รวมไปถึงโครงการสถาปัตยกรรม โดย Wazzadu AI เป็นระบบเทคโนโลยี AI อัจฉริยะ ใน Digital Platform ของ wazzadu.com

ที่ช่วยในการค้นหาเทียบเคียงวัสดุตกแต่งที่ใกล้เคียงภาพถ่าย หรือภาพสามมิติ โดยทำการเทรนให้ machine learning สามารถเรียนรู้วัสดุประเภทต่างๆ และสามารถนำไปเทียบเคียงกับสไตล์ที่ผู้ใช้งานต้องการได้ โดย AI จะสามารถบอกได้ว่าในภาพนั้นๆ มีการใช้วัสดุแบบใด ซึ่งในอนาคตจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถบอกสเปควัสดุ โทนสี ประเมินราคา ไปจนถึงการแนะนำบทความที่เกี่ยวข้อง นับว่าเป็นตัวช่วยที่ตอบโจทย์ได้อย่างรอบด้าน

ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก คุณกฤษดา สาธุกิจชัย ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Netizen Company Limited. ที่ได้มาร่วมให้ความรู้ในหัวข้อ ‘E commerce platform: How AI can improve for building material supply chain?’ โดย Stakeholder ที่อยู่ในซัพพลายเชนนี้มีหลายภาคส่วน โดย pain point ของวงการคือข้อมูลในแต่ละส่วนดำเนินไปอย่างไม่ทั่วถึงกัน ดีไซน์เนอร์ในปัจจุบันมีความเฉพาะตัวมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการวัสดุที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ ซึ่งการค้นหาวัสดุและการจัดส่งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย อีกทั้งเวลาที่ใช้ไปในการทำแต่ละโครงการมีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ ที่สร้างคุณค่าต่อการทำโครงการนั้นจริงๆ ส่วนอีก 80 เปอร์เซ็นต์ จะเป็นเวลาที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ การเข้ามาของ Wazzadu จะตอบโจทย์ผู้ที่อยู่ในซัพพลายเชนข้างต้น ในการค้นหาวัสดุง่ายขึ้น ตรงจุด ตรงไอเดียออกแบบมากที่สุด ทำให้แต่ละฝ่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลของกันและกันได้อย่างทั่วถึง ประหยัดเวลา และทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ยังมีการแถลงข่าวความร่วมมือกันระหว่าง wazzadu.com กับ เปเปอร์สเปซ (PAPERSPACE) ในการจัดตั้ง AI Academy for architectural design ร่วมกันที่จะสร้างคอมมูนิตี้โดยรวบรวมนักออกแบบฝีมือดีเข้ามาไว้ด้วยกัน ซึ่งจะเป็นสถาบันชั้นนำในการค้นคว้าด้าน AI ในวงการสถาปัตย์ อีกทั้งต่อยอดนำความรู้ถ่ายทอดแก่นักศึกษาสถาปัตย์ในประเทศไทย ที่มีความสนใจด้าน AI และด้าน date science โดยเฉพาะ

คุณจุลเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมถึงเป้าหมายการทำธุรกิจว่า ทาง Wazzadu ตั้งเป้านำ AI เข้าสู่ตลาดภายในปี 2020 ด้วยความเชื่อว่า AI สามารถช่วยเลือกวัสดุได้เร็วกว่ามนุษย์ 100 - 1,000 เท่า  ทางบริษัทได้มีการเก็บ data และคาดการณ์ว่าจะสามารถขยายฐานผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 10 เท่า อีกทั้งตั้งเป้ารายได้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 200% ซึ่งนี่จะเป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้ Wazzadu ขึ้นแท่นเป็นบริษัท Tech company ในระดับโลก

พวกเรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อวงการ โดยต้องการให้ Wazzadu AI เป็น Fundamental ทางด้าน AI technology ของวงการ Material และจะทำให้ธุรกิจไทยสามารถขยายไปตลาดในอนาคตด้วยเทคโนโลยีทางดิจิตอลอันเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศสู่ยุคใหม่ได้อย่างแน่นอน

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึก Semiconductor ทำไมทุกประเทศต้องแย่งชิง?

ในบทความนี้ Techsauce จะพาไปสำรวจ Semiconductor เทคโนโลยีที่อยู่ทุกที่ ตั้งแต่สมาร์ทโฟนถึง AI ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญหรือผลกระทบต่อโลกอย่างไร ไปทำความรู้จักกัน!...

Responsive image

อินเดียทะยานสู่ $25 ล้านล้าน กับเส้นทางเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ขับเคลื่อนด้วย Digital Supercycle

การเดินทางของอินเดียในฐานะเศรษฐกิจเกิดใหม่ กำลังมุ่งหน้าไปยังเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม จากเป้าหมายเศรษฐกิจมูลค่า 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ สู่วิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการบรรลุ 25 ล้านล้า...

Responsive image

ควอมตัมคอมพิวติ้งกับการปฏิวัติการเงิน โอกาสทอง หรือหายนะ ? ส่องแนวคิดจาก HSBC, Visa และผู้เชี่ยวชาญ

เทคโนโลยีควอนตัม (Quantum Computing) ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะในตอนนี้ควอนคัมกำลังมีบทบาทสำคัญในทุกวงการแม้กระทั่งวงการเงินที่มีการพูดถึงเรื่องนี้ผ่านงาน Singapore Fintech F...