จาก WeWork สู่ The We company และ deal ใหม่กับ SoftBank

เปิดอก Adam Neumann CEO WeWork สู่ The We Company และ deal ใหม่กับ SoftBank

  • CEO Adam กล่าวถึงแผนในอนาคตของ WeWork สู่การเปลี่ยนเป็น The We Company
  • เผยประเด็นเหตุการณ์ deal ใหม่กับ SoftBank ที่หลายคนสนใจ
  • บทบาทและความเห็นของ CEO Adam Neumann กับปัญหาที่เกิดขึ้นและแนวทางการแก้ไขทางธุรกิจเพื่อการเติบโตในก้าวใหม่ๆ

บทความนี้มาจาก Fast Company เพื่อให้เห็นการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจและการเติบโตของ WeWork

หลังจากช่วงคริสมาสต์ผ่านไปไม่นาน Adam Neumann CEO แห่ง WeWork ก็กำลังจะตัดสินใจร่วมมือกับ Softbank และการร่วมมือครั้งนี้กำลังจะนำพาความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่มาสู่เขาและบริษัท โดย SoftBank ของ Masayoshi Son เตรียมที่จะให้เงินในจำนวนที่มากพอไม่ใช่แค่สำหรับการทำงานของ WeWork แต่รวมไปถึงการซื้อหุ้นจากนักลงทุนเดิมของ WeWork ทั้งหมด ซึ่งมูลค่าเงินลงทุนสูงถึง 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีการประเมินมูลค่าบริษัทอยู่ที่เกือบ 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และด้วยลายเซ็นเพียงอันเดียวของ Neumann จะทำให้เขามีอิสระอย่างไม่เคยคาดคิดมาก่อนในฐานะผู้ประกอบการที่วาดฝันว่าจะทำให้บริษัทไปให้ได้ไกลที่สุดเท่าที่เขาจะทำได้

แต่หลังจากนั้น Son ก็มาพร้อมกับข้าวร้ายที่ว่า การตกลงร่วมกันของเราอาจต้องสิ้นสุดลง Neumann บอกในการสัมภาษณ์กับ Fast Company ถึงแม้ว่าการตกลงนี้จะใช้เวลาอย่างยาวนานนับเดือนก็ตาม แต่เนื่องด้วยความปั่นป่วนของตลาดในเดือนธันวาคมนั้นส่งผลให้สต็อคของ SoftBank ลดลง 20% ตั้งแต่ช่วงพฤศจิกายน และการเสนอขายหุ้น IPO ที่คาดว่าจะสูงของหน่วยโทรคมนาคมญี่ปุ่นนั้นลดลง 14% ในวันแรกของการซื้อขาย (SoftBank เป็นกลุ่ม บริษัท ที่มีการถือครองเทคโนโลยีที่หลากหลายและ VisionFund ซึ่งเป็นกลุ่มการลงทุนมูลค่า 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)ทำให้ในวันเดียวกันนั้นเอง คนใกล้ชิดที่ทำงานใน WeWork กล่าวว่า Adam ก็รีบใช้เวลาในการเสนอข้อตกลงใหม่

การทำงานตลอดเวลาในช่วงวันหยุดไปจนถึงต้นเดือนมกราคม WeWork และ SoftBank ได้ทำการแก้ไขข้อตกลงและประกาศในสัปดาห์นี้ด้วยเงินทุนใหม่ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการประเมินมูลค่า 47,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะนี้ WeWork ได้เงินทุนมากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก SoftBank และมีงบดุลเกือบ 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ถึงแม้ว่าตัวเลขในการลงทุนในตอนแรกจะดูน่าตื่นตา แต่ WeWork ก็ได้ตั้งคำถามขึ้นมาเกี่ยวกับการใช้เงินของบริษัท จากข้อมูลช่วงต้นปี 2018 WeWork ได้รับเงินจำนวน 1,250 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ใช้ไปถึง 1,220 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

บริษัทที่กำลังจะเข้าสู่ปีที่ 9 ในปีนี้ถือว่ายังไม่เคยประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างแท้จริง อย่างที่นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะเกิดขึ้นในปี 2019 และ 2020 แต่ WeWork ก็ได้เห็นหนึ่งสัญญาณที่ชี้ว่าราคาของการเช่าอาคารในเกือบทุกเมืองที่ดำเนินกิจการกำลังลดลงเรื่อยๆ ยกเว้นแค่เพียงสองเมืองเท่านั้น

ถึงกระนั้น Neumann ยืนยันว่าไม่มีอะไรที่จะมาหยุดยั้งการทำงานของ WeWork ทางบริษัทยืนยันว่าราคาเช่าที่ต่ำนั้นเป็นผลดีต่อธุรกิจของ WeWork และตลาดที่อ่อนตัวลงอาจเปิดโอกาสใหม่ๆให้กับ WeWork “เมื่อปี 2019 มาถึงและถ้าโลกของเรากำลังเผชิญกับวิกฤติ สิ่งหนึ่งที่คุณจะไม่เห็นเราทำคือ การกลัวที่จะเสี่ยงหรือถอยหลังกลับ” เขากล่าวไว้ในบทสัมภาษณ์ ในขณะที่กำลังใส่เสื้อสีดำที่มีคำว่า “Creator” และใส่เฝือกอยู่ที่นิ้วหนึ่งของเขาหลังจากที่เขาทำนิ้วหักในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาในทริปการเล่นเซิร์ฟที่คลื่นสูงระดับ 18 ฟุตในฮาวาย กับนักเซิร์ฟที่ชื่อ Laird Hammilton นอกจากนี้เขายังพูดว่า

สำหรับผม วิกฤตที่ตกต่ำไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว แต่มันคือโอกาส

ภาพการ brainstorm ในปี 2009 โดย WeWork CEO

ในงาน WeWork Global Summit ประจำปี 2019  Neumann จะประกาศการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญขององค์กรและเสนอกลยุทธ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต บริษัทจะไม่ถูกเรียกว่า WeWork อีกต่อไป แต่จะเรียกว่า The We Company โครงสร้างใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งในความฝันอันยิ่งใหญ่ของ Neumann ที่จะผลักดันบริษัทไปสู่การบริการใหม่ๆ แทนที่จะเป็นแค่บริการการเช่า บริษัทเริ่มมีเป้าหมายที่จะครอบคลุมทุกด้านของชีวิตผู้คนทั้งในโลกทางกายภาพและดิจิทัล Neumann กล่าว  

The We Company จะประกอบด้วยสามหน่วยธุรกิจหลัก

  • WeWork ธุรกิจสำนักงานใหญ่
  • WeLive หน่วยที่อยู่อาศัยที่มีประสบการณ์
  • WeGrow ธุรกิจที่ยังคงพัฒนาซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียนประถมและสถาบันสอน Code

แม้ว่าบริษัทจะไม่สามารถให้ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงได้ แต่ก็ระบุว่ามีแผนในการสร้างหน่วยที่อยู่อาศัยและการศึกษาในปีนี้ นอกจากนี้ในปี 2019 จะมีการซื้อกิจการและการจ้างงานเพิ่มขึ้นโดยบริษัทตั้งเป้าที่จะเพิ่มวิศวกรจำนวน 1,000 คน

ภาพการ brainstorm ในปี 2009 โดย WeWork CEO

การพยายามสร้างบริการใหม่ๆ ที่มากกว่า co-working space เป็นแผนของเขามาตลอดก่อนก่อตั้งบริษัท ซึ่งไม่นานมานี้เขาและผู้ร่วมก่อตั้งได้เจอกับ pitch deck เก่าก่อนที่จะทำ WeWork ซึ่งในนั้นเองพวกเขาได้พบกับแผนงานสำหรับทุกอย่างตั้งแต่ WeSleep ไปจนถึง WeSail และ WeBank เขาบอกว่าในตอนนี้บริษัทก็ได้อยู่ในสถานะทางการเงินที่สามารถจะทำทุกอย่างอย่างที่เขาได้ฝันไว้ได้ และเมื่อถามถึง WeBank Neumann ก็ได้บอกว่า “แน่นอนว่า มันกำลังจะมา” แต่เขาก็ไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดอะไรต่อ

ในช่วงเริ่มต้นปี 2019 ที่ได้รับเงินระดมทุนทุ่มลงมามากมาย WeWork และ Neumann ก็ต้องรับแรงกดดันเพิ่มขึ้น คำถามก็คือ พวกเขาจะสามารถสร้างคุณภาพให้สมกับมูลค่าของบริษัทได้หรือไม่ และจะสามารถเอาตัวรอดในยุคเศรษฐกิจตกต่ำได้ไหม

Neumann กล่าวว่าเขาและทีมประสบความสำเร็จภายใต้แรงกดดันอย่างมาก “ คุณรู้ไหมว่าต้องใช้ระยะเวลานานแค่ไหนในการทำเพชร?” เขาถาม “ มันยาวนานมากนะ 500,000 ถึง 4 ล้านปี ผมชอบการเปรียบเทียบนั้น เพื่อสร้างสิ่งที่มีค่ามากคุณต้องใช้ความกดดันอย่างมาก”

อ้างอิงภาพและข้อมูลจาก fastcompany.com

 

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ WeWork เพิ่มเติมได้ที่:

เปิดสงคราม co-working space ในไทย

WeWork ระดมทุน 3,000 ล้านเหรียญแต่ยังขาดทุนเกือบ 3 เท่า 

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...