Testnet และ Mainnet ในโลก Blockchain คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อการเปิดตัวโปรเจกต์ | Techsauce

Testnet และ Mainnet ในโลก Blockchain คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อการเปิดตัวโปรเจกต์

ในปัจจุบันมีโปรเจกต์ใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลาบนโลก Blockchain ซึ่งแต่ละโปรเจกต์ก็มีการลงทุนเม็ดเงินจำนวนมหาศาล และถ้าหากโปรเจกต์เหล่านี้เปิดตัวโดยไม่ได้รับการทดสอบจะเกิดปัญหาขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายในหลายด้าน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการทดสอบอย่างละเอียดเพื่อความแน่นอนก่อนเปิดใช้งาน ในบทความนี้เราจะพาไปทำความเข้าใจคำว่า Testnet และ Mainnet ในโลก Blockchain กัน

Testnet

Testnet คืออะไร?

หลายคนอาจเคยได้ยินมาบ้าง เมื่อมีการคิดค้นโปรเจกต์ใหม่ ๆ ขึ้น โดย Testnet เป็นเครือข่าย Blockchain ที่แยกออกมา ซึ่งทำงานและทดสอบก่อนที่จะพร้อมเปิดตัว โดยเป็นวิธีที่นักพัฒนาใช้ในการสร้าง การแก้ไข และทดสอบฟังก์ชันการทำงานของโครงการ ตลอดจนตรวจสอบประสิทธิภาพก่อนที่จะเปิดให้สาธารณชนใช้งาน 

การทดสอบนี้จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขปัญหาและแก้ไขจุดบกพร่องได้ โดยในการทดสอบจะใช้ Token ที่ไม่มีมูลค่าเพื่อทดสอบโปรโตคอล และเมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วจึงจะทำการทดสอบบน Mainnet ในลำดับถัดไป

ข้อดีของการทดสอบนี้ คือ ช่วยให้สามารถเปิด Mainnet ได้เร็วและปลอดภัยยิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยประหยัดต้นทุนเนื่องจากใช้ Token ที่ไม่มีมูลค่าในการทดสอบ เพราะการทดสอบจำเป็นต้องทดสอบซ้ำหลายครั้งเพื่อดำเนินโครงการอย่างประสิทธิภาพ เนื่องจากหากทดสอบ Mainnet จะต้องเสียค่าธุรกรรมทุกครั้งที่เปลี่ยนแปลงและทุกครั้งที่เปิดตัวโครงการและทั้งหากเกิดปัญหาระหว่างทดลองอาจทำให้ผู้ใช้งานสูญเสียเงิน

และในการทดสอบ Testnet บางโครงการจะเปิดให้ทุกคนเข้ามาร่วมทดสอบได้รวมทั้งยังได้ Reward เป็นการตอบแทนด้วย แต่บางโครงการอาจจะจำกัดผู้เข้าร่วม 

Mainnet คืออะไร ?

ต่อมาเรามาทำความรู้จักขั้นตอนถัดไปอย่าง Mainnet ซึ่งเป็น Blockchain ที่ได้รับการทดสอบ พัฒนา  และใช้งานเครือข่ายด้วยเทคโนโลยีและโปรโตคอลของตัวเอง ซึ่งหมายความว่าธุรกรรมทั้งหมดได้รับการเผยแพร่ ตรวจสอบ และบันทึกใน Blockchain

โดยส่วนใหญ่ก่อนการเปิดตัว Mainnet ของโครงการ ทีมงานจะออก Initial Coin Offering (ICO), Initial Exchange Offering (IEO) หรือวิธีการอื่นๆที่สามารถช่วยในโครงการระดมทุนและทำให้ชุมชนของพวกเขาเติบโต ซึ่งเงินที่รวบรวมได้จะถูกนำไปใช้เพื่อพัฒนาต้นแบบของเครือข่าย Blockchain ที่จะถูกทดสอบในระหว่างขั้นตอนของ Testnet  โดยหลังจากดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องและขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของ Testnet แล้ว ทีมงานจะเปิดตัว Blockchain เวอร์ชัน mainnet ซึ่งใช้งานได้อย่างสมบูรณ์

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง Testnet กับ Mainnet 

 แบ่งเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้ 

วัตถุประสงค์

Testnet คือ Blockchain ที่แยกออกมาทดสอบเพื่อการป้องกันและแก้ไขความผิดพลาด ในขณะที่ Mainnet เป็น Blockchain ที่ใช้งานได้

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ

Mainnet จะใช้สินทรัพย์จริงและคริปโตเคอเรนซี จึงทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในเครือข่ายหลักสูงเพราะทุกการดำเนินการบน Blockchain นั้นต้องเสียค่าธรรมเนียมโดยจ่ายเป็นโทเค็นตามมูลค่าที่แน่นอน ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจาก Testnet ที่ใช้โทเค็นที่ไม่มีมูลค่าในการดำเนินการ

โหนด

Testnet จะมีโหนดน้อยกว่า Mainnet เนื่องจากมีข้อมูลที่ต้องตรวจสอบน้อยกว่า

ความถี่ในการทำธุรกรรม

Testnet มีความถี่ในการทำธุรกรรมที่ต่ำกว่า Mainnet เนื่องจากมีกลุ่มผู้ใช้น้อยกว่า 

อย่างไรก็แม้การทดสอบทั้งสองแบบจะมีคุณสมบัติที่ต่างกันแต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญที่เหมือนกัน การทดสอบ Testnet และ Mainnet จึงเป็นสิ่งที่ช่วยขับเคลื่อนโครงการให้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด 

อ้างอิง

phemex ,one37pm ,academy.binance


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

KBTG เผย ‘Horizontal Core Banking’ บิ๊กโปรเจกต์ขยายระบบหลังบ้าน KBank รองรับการเติบโตได้ถึงปี 2031

เจาะอินไซด์การขยายระบบหลักของธนาคารกสิกรไทย เพื่อรองรับการเติบโตของลูกค้ายาวถึงปี 2031 ใน ‘Core Banking Horizontal Scale Project’ โดยทีม KBTG และทีม KBank รวมแล้วพันคน มาร่วมแรงร่ว...

Responsive image

DeepSeek และ Qwen: เมื่อ AI ราคาถูกเปลี่ยนโฉมโลก

DeepSeek และ Qwen จาก Alibaba กำลังเปลี่ยนแปลงวงการ AI ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง ส่งผลต่อเศรษฐกิจ ธุรกิจ และระบบนิเวศ AI ทั่วโลก สุภาวดี ตันติยานนท์ วิเคราะห์ผลกระทบและแนวทางที่ประเทศไทยค...

Responsive image

ทำไม Deepseek อาจยังไม่ใช่การก้าวกระโดดของเทคโนโลยี ฟังความเห็น ดร.พัทน์ แห่ง MIT Media Lab

DeepSeek R1 คือ AI จากจีนที่ถูกมองว่าอาจท้าทาย ChatGPT-O1 ของ OpenAI แต่ ดร. พัทน์ ภัทรนุธาพร วิเคราะห์ว่า DeepSeek อาจยังไม่ใช่ "breakthrough" ที่แท้จริง...