Blockchain Oracle คืออะไร? | Techsauce

Blockchain Oracle คืออะไร?

บทความโดย : นายก้องกิตติ์ ไทยทอง Principal, Customer Experience & Branding บริษัท โทเคน เอกซ์ จำกัด

ผู้อ่านหลาย ๆ คนที่มีอายุเกินสามสิบปี พอได้ยินคำว่า Oracle ก็อาจทำให้นึกไปถึงตัวละครสำคัญตัวหนึ่งใน ‘The Matrix’ ซึ่งในภาพยนต์ดังกล่าว ‘The Oracle’ เป็นหญิงผู้หยั่งรู้ และทำหน้าที่เป็นผู้ให้แนวทาง และเปิดเผยข้อมูลสำคัญกับนีโอพระเอกของภาพยนต์ในเรื่องต่าง ๆ 

ซึ่งจะว่าไปแล้วหากพูดถึง Oracle ในโลกแห่ง Blockchain ก็เรียกได้ว่ามีความคล้ายคลึงกับ ‘The Oracle’ ใน ภาพยนต์ ‘The Matrix’ มากเลยทีเดียว วันนี้ Token X จะพาไปเจาะลึกมิติใหม่ของ ‘Blockchain oracle’ แบบครบทุกแง่มุม

Blockchain Oracle คืออะไร?

Blockchain Oracle ทำหน้าที่เป็นตัวนำข้อมูลต่าง ๆจากโลกภายนอกบล็อกเชน หรือจะว่าง่าย ๆก็คือเป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่นำข้อมูลภายนอกจากโลกจริง (off-chain information) เข้าสู่สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) ที่ทำงานอยู่บนบล็อกเชน นั่นเอง                

อย่างที่เรารู้กัน การทำงานของ Blockchain และ Smart Contract เป็นการทำงานในระบบปิด ซึ่งการทำงานในระบบปิดนั้น ในหลายกรณีก็ต้องมีการนำข้อมูลจากโลกจริงเพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจต่าง ๆ เช่น protocol A อาจมีการจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ลงทุนตามผลประกอบการของบริษัทในโลกจริง และอย่างที่เรารู้กันว่าการทำงานของ Blockchain และ Smart Contract เป็นการทำงานในระบบปิด ซึ่งถ้าไม่มีการใช้งานข้อมูลภายนอกจาก Oracle ตัว protocol A ก็ไม่อาจจะรู้ได้เลยว่าผลประกอบการของบริษัทในโลกจริงปัจจุบันเป็นเท่าใด และก็จะไม่สามารถจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ลงทุนได้อย่างถูกต้องตามที่ควรเป็นนั่นเอง

โดยประเภทของข้อมูลต่าง ๆ ที่ Blockchain Oracle สามารถมีให้นั้น เรียกได้ว่ามากมายหลายสิ่ง ตั้งแต่สากกระเบือยันเรือรบเลยทีเดียว เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ดัชนีราคาต่าง ๆ ผลการแข่งขันกีฬา ราคาสินทรัพย์ หรือ แม้แต่สภาพอากาศ เป็นต้น

ความเสี่ยงของการใช้งาน Oracle

ตามที่อธิบายไปว่า ข้อมูลที่ Blockchain Oracle นั้นนำเข้าสู่ Smart Contract นั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งยวด เพราะเป็นข้อมูลที่ตัวสัญญานำไปใช้ในการตัดสินใจ โดยในการตัดสินใจนั้น ในครั้งเดียวอาจมีมูลค่าได้สูงถึงหลายล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว (ในกรณีที่เป็น Protocol ใหญ่) ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นความเสี่ยงสำคัญและอาจเป็น single point of failure ได้ หากข้อมูลที่ Protocol เลือกใช้ มาจาก Oracle ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ (ไม่ได้ดึงข้อมูลที่ถูกต้องมาให้ หรือข้อมูลอาจถูกปรับแก้และเปลี่ยนแปลงโดยเจ้าของด้วยเหตุผลใดๆ) เพราะถ้าหากข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าไปนั้นไม่ถูกต้อง ข้อมูลที่ออกมาก็ไม่มีวันถูกต้องได้นั่นเอง (garbage in, garbage out)  

สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงตลอดในโลกของ Blockchain ก็คือ การทำรายการต่าง ๆ บน Blockchain นั้นไม่สามารถแก้ไขและย้อนกลับได้ นั่นแปลว่าการผิดพลาดแค่ทีเดียว อาจหมายถึงหายนะของทั้ง Protocol ได้เลย!

ถือกำเนิด Decentralized oracle 

จากปัญหาดังกล่าว การใช้งาน Centralized Oracle จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมนักในโลกของ Blockchain เพราะข้อมูลต่าง ๆอาจไม่ถูกต้องและสามารถถูกปรับแก้ได้จากต้นทาง ตรงนี้จึงถือเป็นจุดกำเนิดของ Decentralized Oracle Network หรือ DON ซึ่งก็คือการรวมตัวกันของ Nodes ของ Oracle หลาย ๆ ที่ และแหล่งข้อมูลหลากหลายแหล่ง โดยกระจายความไว้วางใจในหมู่ผู้เข้าร่วมเครือข่ายจำนวนมาก เพื่อทำให้ข้อมูลที่ถูกนำมาใช้มีความโปร่งใส น่าเชื่อถือ และสามารถตรวจสอบได้นั่นเอง

ประเภทของ Blockchain oracle

สามารถแบ่งออกได้หลายประเภท เช่น

  1. Input oracle เป็นการนำข้อมูลจากโลกภายนอกเข้าสู่บล็อกเชน อย่างที่ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างไปข้างต้น
  2. Output oracle เป็นการนำข้อมูลจากในบล็อกเชนออกสู่โลกภายนอก ยกตัวอย่าง เช่น การสั่งการให้ธนาคารโอนเงิน หรือ การสั่งการให้ระบบ cloud back-up ข้อมูล เมื่อถึง trigger point เป็นต้น
  3. Cross-chain oracle เป็นการนำข้อมูลจากเชนนึงข้ามไปยังอีกเช่นนึง โดย Oracle ในรูปแบบนี้ถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญในการโอนข้อมูลและสินทรัพย์ข้ามบล็อกเชน

ตัวอย่าง Use-case ของ Oracle ที่น่าสนใจ

ในช่วงนี้กระแสของ NFT กำลังกลับมาพุ่งแรงอีกครั้ง และ Oracle ก็สามารถถูกนำมาปรับใช้งานกับ NFT ได้อย่างน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ยกตัวอย่างเช่น การนำข้อมูลจาก Oracle มาใช้ทำให้ NFT ธรรมดากลายเป็น Dynamic NFT 

Dynamic NFT ก็คือ NFT ที่สามารถเปลี่ยนรูปร่างหน้าตา มูลค่า การแจกจ่าย แปรผันไปกับข้อมูลหรือเหตุการณ์ต่างๆภายนอก เช่น เวลาในแต่ละวัน สภาพอากาศ หรือข้อมูลใดใด หากยังไม่เห็นภาพ ให้ลองนึกภาพว่าหากตอนนี้ฝนกำลังตก NFT ใน wallet ที่คุณถืออยู่อาจเปลี่ยนรูปร่างหน้าตามาใส่ชุดกันฝน หรือหากเป็นเวลากลางคืน NFT ของคุณอาจเปลี่ยนมาใส่ชุดนอน และเปลี่ยนแอคชั่นจากที่ตื่นอยู่กลายเป็นหลับ เป็นต้น นับได้ว่าการใช้งาน Oracle สามารถนำมาเพิ่มลูกเล่นให้กับ NFT ได้อย่างน่าสนใจ และถือว่าเป็น use case ของ Oracle ที่เป็น non-financial use case อีกด้วย

โดยสรุป Oracle นั้นถือได้ว่าเป็นหนึ่งใน Stakeholder ที่สำคัญอย่างยิ่งยวดใน Ecosystem ของโลกดิจิทัล ทำหน้าที่เป็นสะพานกลางในการเชื่อมต่อ รวมถึงเป็นตัวแปรสำคัญจะทำให้โลกของบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นที่ยอมรับของคนหมู่มาก มีการเติบโต และสามารถเดินควบคู่ไปกับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างยั่นยืนนั่นเอง

*สำหรับผู้ที่สนใจการออก Digital Token ก็สามารถเลือกใช้บริการกับทาง Token X ได้เช่นกัน เพราะ Token X พร้อมให้บริการ Tokenization แบบครบวงจรที่นอกจากจะมีบริการให้คำปรึกษา เชื่อมต่อ และพัฒนาเกี่ยวกับ Tokenization อย่างครบวงจรแล้วยังมีบล็อกเชนที่ทางบริษัทพัฒนาขึ้นเองอย่าง TKX Chain และโซลูชันพร้อมใช้อย่าง TKX API และ TKX Enterprise Portal ที่จะช่วยให้การออก Digital Token กลายเป็นเรื่องง่ายการเลือกใช้โทเคนดิจิทัลอย่างถูกจุด และตรงตามจุดประสงค์ล้วนแต่จะสร้างโอกาสและการเติบโตให้ธุรกิจของคุณได้เกินกว่าที่คิดไว้เสมอ 

สามารถติดต่อ Token X ได้ที่อีเมล [email protected]

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สรุป AI อดีต ปัจจุบัน อนาคต โดย Eric Grimson ศาสตราจารย์จาก MIT

ภายในงาน MIT Bangkok Symposium - Unleashing AI: Transforming Industries, Empowering Futures ที่จัดขึ้นในกรุงเทพฯ ศาสตราจารย์ ดร. Eric Grimson อธิการบดีฝ่ายวิชาการ จากสถาบันเทคโนโลย...

Responsive image

รู้จักเทรนด์ Brand Chem กลยุทธ์ TikTok 2025 การตลาดที่ต้อง ‘เป็นเพื่อน’ กับผู้บริโภค

สำรวจ TikTok What's Next Report 2025 และแนวคิด Brand Chem ที่เปลี่ยนการตลาดด้วยความร่วมมือระหว่างแบรนด์ ครีเอเตอร์ และชุมชน TikTok พร้อมเทรนด์สำคัญที่ขับเคลื่อนปี 2025...

Responsive image

ชี้เป้า 5 เทรนด์การใช้ AI (Agent) พาธุรกิจโต ในปี 2025 โดย Salesforce

เผยแนวโน้มการใช้ AI เพื่อสร้างการเติบโตด้านรายได้ให้ธุรกิจ และอัปเดตความก้าวหน้าในการพัฒนา AI Agent ให้ทำงานได้อัตโนมัติ (Autonomous) โดย Salesforce...