CeDeFi คืออะไร แล้ว ทำไมต้อง CeDeFi | Techsauce

CeDeFi คืออะไร แล้ว ทำไมต้อง CeDeFi

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งใน Buzz word ที่มาแรงในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จะต้องมีคำว่า DeFi (Decentralize Finance) หรือ ระบบการเงินแบบกระจายศูนย์ รวมอยู่ด้วยอย่างแน่นอน ซึ่งแนวคิดของ DeFi นั้นคือแนวคิดของการพยายามที่จะลบคนกลางออกจากโลกของการเงิน โดยการประยุกต์ใช้ระบบแบบกระจายศูนย์ (Decentralize) อย่าง Blockchain ผ่านการนำ Smart Contract และ DApp (Decentralize Application) เข้ามาแทนที่บริการต่างๆ ในโลกของการเงินแบบเดิมๆ

ซึ่งปัจจุบัน เราก็จะเห็นได้ว่าโลกของ DeFi เองนั้นก็ได้รับผลตอบรับที่ค่อนข้างดีจากตัวผู้ใช้งาน และแสดงการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ แต่คำถามสำคัญ คือ แล้ว DeFi จะมาแทนที่ CeFi (Centralize Finance หรือ ระบบการเงินแบบเก่าที่จะต้องมีตัวกลางในการช่วยในการดำเนินงาน) ได้จริงไหมนะ? 

วันนี้ “Token X” บริษัทภายใต้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ (SCBX) ผู้ให้บริการเกี่ยวกับธุรกิจโทเคนดิจิทัลแบบครบวงจร และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี Blockchain จะพาทุกท่านมาเจาะลึกในเรื่องนี้กัน

ก่อนที่จะไปถึงตรงนั้นผู้เขียนขอพาย้อนกลับไปดูก่อนว่า “หาก DeFi จะมาแทนที่ CeFi ได้จะต้องพบเจอกับความท้าทายอะไรบ้าง

การเชื่อมโยงกับโลก Analog

เนื่องจากธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนระบบ DeFi นั้น ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากภาครัฐ ทำให้หลายๆครั้งในการใช้งานจริง หรือการทำธุรกรรมบางอย่าง เช่น การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่หากต้องการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ยังไม่สามารถทำผ่านระบบ DeFi ได้ เนื่องจากจะต้องมีหน่วยงานภาครัฐที่ต้องเข้ามาทำการรับรองหรือการนำคริปโทเคอร์เรนซีมาใช้ในชีวิตประจำวัน จำเป็นจะต้องมีการถอนออกมาเป็นเงิน Fiat ก่อน เนื่องจากในปัจจุบันร้านค้าโดยทั่วไปยังไม่รองรับการชำระค่าสินค้าด้วยคริปโทเคอร์เรนซี ไม่ว่าจะด้วยเป็นเพราะ Infrastructure ที่ใช้ในการเชื่อมโยงกับโลก Analog อาจยังมีไม่มากพอ ติดข้อกฎหมาย หรืออาจยังเข้าถึงได้ไม่ง่ายพอ

ความสะดวกสบายในการใช้งาน

การใช้งานระบบ DeFi ผู้ใช้งานจะต้องมีความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับระบบ Blockchain, Public Key – Private Key รวมถึง การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เบื้องต้น ซึ่งกระบวนการทั้งหมด ยังถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ และเข้าใจยาก สำหรับการใช้งานระหว่างผู้ใช้งานโดยทั่วไปในวงกว้างอยู่

ความน่าเชื่อถือของระบบที่เข้าไปใช้บริการ

เนื่องจากระบบ DeFi นั้น จะไม่ได้มีหน่วยงานเข้ามากำกับดูแล ดังนั้นจึงทำให้มีความเสี่ยงในการใช้บริการสูงกว่าระบบแบบ CeFi

การยอมรับของภาครัฐ

เนื่องจากเสถียรภาพทางการเงินของประเทศมีความสัมพันธ์ค่อนข้างใกล้ชิดกับปริมาณเงิน และธุรกรรมในระบบ ทำให้เมื่อธุรกรรมทางการเงินเกิดขึ้นในระบบ DeFi จะทำให้การควบคุม-ติดตาม ปริมาณการไหลเข้า/ออกของเงิน รวมถึงการควบคุมผ่านนโยบายการคลังที่จะทำได้ยากกว่าเดิม จึงทำให้จะต้องใช้เวลาในการก่อให้เกิดการปรับตัว และยอมรับจากทางภาครัฐ

ซึ่งเราจะเห็นว่าความท้าทายต่างๆข้างต้นนั้น ไม่สามารถที่จะแก้ไขได้โดยเร็ว ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดของผู้ให้บริการ ที่ทำการแก้ปัญหาข้างต้น และทำการเชื่อมโยงระหว่างโลกของ CeFi และ DeFi เข้าด้วยกัน หรือที่เราเรียกว่า CeDeFi หรือ Centralize-Decentralize Finance แล้ว CeDeFi จะสามารถเข้ามาช่วยได้อย่างไร ?

ลักษณะของ CeDeFi คือ จะมีคนกลางที่คอยทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับ ระบบ DeFi ผ่านระบบที่พัฒนาขึ้น ซึ่งจะ ทำให้ CeDeFi เป็นตัวกลางที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานระบบ DeFi ได้ง่าย ผ่านประสบการณ์การใช้งานแบบเดิม โดยที่การประมวลผลธุรกรรมจะสามารถเกิดขั้นได้ทั้งบนระบบแบบรวมศูนย์ (Centralized) และ แบบกระจายศูนย์ (Decentralized) ตามความเหมาะสม 

และลักษณะการใช้งานทำให้ยังสามารถใช้งานจุดแข็งของระบบแบบกระจายศูนย์ได้ ภายใต้การใช้งานที่ง่าย เนื่องจาก CeDeFi นั้นมีคนกลาง จึงทำให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้ามาช่วยตรวจสอบ-ควบคุมได้ ทำให้ระบบที่เกิดจาก CeDeFi หรือ เชื่อมต่อกับ CeDeFi มีความน่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับจากภาครัฐมากกว่าระบบ DeFi แบบเต็มรูปแบบ ซึ่งในโลกปัจจุบัน (ในต่างประเทศ) กลุ่มผู้เล่นหลักในตลาด CeDeFi จะเป็นกลุ่มการเงิน-ธนาคาร ที่เดิมถูกกำกับดูแลโดย Regulator อยู่แล้ว อาศัยจุดแข็งของตนเองที่มีความน่าเชื่อถือ และความชำนาญในระบบการเงิน เข้ามาเป็นคนกลางในการเชื่อต่อระหว่างโลกของ DeFi และ CeFi รวมถึงคอยช่วยในการผลักดันการเติบโต และสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้ใช้งาน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ดังนั้นอาจเป็นข้อสรุปได้ว่าการที่ DeFi จะเข้ามาแทนที่ CeFi ในตอนนี้ได้นั้น อาจยังเป็นไปได้ยากและยังต้องใช้เวลาอีกมาก รวมถึงยังต้องเผชิญและแก้ไขความท้าทายต่างๆ ตามข้อมูลข้างต้น ด้วยเหตุนี้เอง CeDeFi จึงน่าจะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการที่จะเป็นสะพานเชื่อมต่อโลก CeFi และ DeFi และช่วยให้ Stakeholders ต่างๆ รู้จัก เข้าใจ ไว้ใจ และยอมรับโลกของ DeFi กันมากขึ้นนั่นเอง

สำหรับผู้ที่สนใจการออก Digital Token ก็สามารถเลือกใช้บริการกับทาง Token X ได้เช่นกัน เพราะ Token X พร้อมให้บริการ Tokenization แบบครบวงจรที่นอกจากจะมีบริการให้คำปรึกษา เชื่อมต่อ และพัฒนาเกี่ยวกับ Tokenization อย่างครบวงจรแล้วยังมีบล็อกเชนที่ทางบริษัทพัฒนาขึ้นเองอย่าง TKX Chain และโซลูชันพร้อมใช้อย่าง TKX API และ TKX Enterprise Portal ที่จะช่วยให้การออก Digital Token กลายเป็นเรื่องง่ายการเลือกใช้โทเคนดิจิทัลอย่างถูกจุด และตรงตามจุดประสงค์ล้วนแต่จะสร้างโอกาสและการเติบโตให้ธุรกิจของคุณได้เกินกว่าที่คิดไว้เสมอ สามารถติดต่อ Token X ได้ที่อีเมล [email protected]

ขอบเขตการให้บริการ TKX Chain และโซลูชันด้านเทคโนโลยีต่างๆ ของ Token X เป็นการให้บริการในฐานะการเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายบล็อกเชน (Blockchain Network Provider) และผู้พัฒนาเทคโนโลยี (Technology Provider) ซึ่งอยู่นอกเหนือต่างหากจากการประกอบธุรกิจ ICO Portal

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...