รู้จัก MOU จุดเริ่มต้นสู่ความร่วมมือ โอกาสของภาคธุรกิจ | Techsauce

รู้จัก MOU จุดเริ่มต้นสู่ความร่วมมือ โอกาสของภาคธุรกิจ

MOU ย่อมาจาก Memorandum of Understanding หรือบันทึกความเข้าใจ เป็นเอกสารบันทึกข้อตกลงและความเข้าใจ ซึ่งใช้ได้ทั้งระหว่างองค์กรธุรกิจภาคเอกชนกับเอกชน หรือองค์กรธุรกิจภาคเอกชนกับหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานภาครัฐกับหน่วยงานภาครัฐ 

MOU คืออะไร

MOU คือ เอกสารบันทึกข้อตกลงและความเข้าใจ ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ที่มีร่วมกัน รวมถึงบทบาทและความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย 

การจัดทำ MOU เกิดมาจากคู่สัญญาแต่ละฝ่าย ต้องการที่จะร่วมมือกันเพื่อทำอะไรสักอย่าง จึงมีการเริ่มพูดคุยถึงเป้าหมายหรือความต้องการของแต่ละฝ่าย รวมถึงบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ เช่น 

การทำ MOU ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนระหว่างองค์กรธุรกิจภาคเอกชนกับหน่วยงานภาครัฐ

  • เป้าหมายสูงสุดที่ต้องการจะบรรลุ: ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนภายในปี 2030 
  • บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ: บริษัท A จะลดการปล่อยมลพิษจากโรงงาน และหน่วยงานรัฐจะลดหย่อนภาษีให้บริษัท A ในการนำเข้าเครื่องจักรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ในการทำ MOU แต่ละฝ่ายอาจจะมี MOU ในเวอร์ชันของตัวเองที่ระบุสิ่งที่ฝ่ายตัวเองต้องการ แล้วจึงนำมาพูดคุยเพื่อทำการเปลี่ยนแปลงจนกว่าทุกฝ่ายจะพอใจกับข้อตกลงขั้นสุดท้าย เป็นวิธีที่ใช้หาจุดกึ่งกลางและช่วยให้ทุกฝ่ายแน่ใจว่าทุกคนเข้าใจตรงกัน เพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดระหว่างคู่สัญญา

สรุปแล้ว MOU คือ เอกสารที่กำหนดว่า "เราตกลงที่จะร่วมมือกัน" แสดงให้เห็นว่าต่างฝ่ายต่างเข้าใจกันและพร้อมที่จะเดินหน้าต่อไปพร้อมกัน เป็นเพียงกรอบภาพร่วมและไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่เป็นจุดเริ่มต้นที่อาจนำไปสู่การจัดทำสัญญาร่วมกันในอนาคต

MOU ประกอบด้วยอะไรบ้าง

เนื้อหาใน MOU ก็จะประกอบด้วยประเด็นสำคัญหลัก 4 ประเด็น ได้แก่

ชื่อของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและลายเซ็น: ควรระบุและอธิบายถึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องลงในข้อตกลงอย่างชัดเจน เพื่อทำให้มั่นใจว่าทุกคนรับรู้ว่าใครมีส่วนร่วมในข้อตกลงบ้าง

ขอบเขตและเป้าหมายของข้อตกลง: ควรระบุอย่างชัดเจนว่าข้อตกลงมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้าง และแต่ละฝ่ายต้องการที่จะบรรลุเป้าหมายอะไรบ้าง รวมถึงกำหนดขอบเขตของข้อตกลง เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจถึงสิ่งที่ต้องการทำ และไม่ต้องการทำ

วันที่มีผลบังคับใช้: ควรมีวันที่บังคับใช้โดยประมาณ เพื่อกำหนดว่าข้อตกลงจะเริ่มบังคับใช้เมื่อใหร่

บทบาทและความรับผิดชอบของทุกฝ่าย: ควรระบุบทบาทและความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายไว้อย่างชัดเจน เช่น การอธิบายขอบเขตการทำงาน หรือหน้าที่เฉพาะเจาะจงที่แต่ละฝ่ายต้องรับผิดชอบ เพื่อประโยชน์ในการตีความและไม่ให้เกิดความสับสน

องค์ประกอบเหล่านี้จะทำให้เอกสาร MOU ชัดเจนและสร้างความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังลดข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

MOU มีผลทางกฎหมายไหม ? 

MOU ไม่มีผลทางกฎหมาย และไม่เป็นสัญญาผูกมัด เป็นเพียงบันทึกข้อตกลงร่วมกันเท่านั้น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ทำตามข้อตกลงใน MOU ก็ไม่สามารถใช้เอกสารนี้มายื่นฟ้องกับศาลได้นั่นเอง แต่ถ้าข้อความในข้อตกลง MOU มีลักษณะที่ผูกมัดมากเกินไป ก็อาจส่งผลไปถึงสัญญาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้

MOU ≠ Contract(สัญญา)

ถึงแม้ว่าการผิดข้อตกลง MOU จะไม่ต้องรับโทษทางกฎหมาย แต่ธุรกิจใดที่ทำผิดข้อตกลงก็จะโดนบทลงโทษทางสังคมแทน เช่น การถูกประณาม ซึ่งส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของธุรกิจ รวมถึงทำให้เสียเครดิตในการทำธุรกิจกับบริษัทหรือองค์กรอื่น ๆ ในอนาคต

MOU มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรกับธุรกิจ

ธุรกิจบางธุรกิจมักชอบทำ MOU มากกว่าสัญญา เพราะรู้สึกว่ามีความยืดหยุ่นมากกว่าและไม่มีข้อผูกมัด เป็นเหมือนข้อตกลงพิเศษ ซึ่งการทำ MOU ก็มีทั้งข้อดี และข้อเสียต่อธุรกิจ

ข้อดี

  1. แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจร่วมกัน: แต่ละฝ่ายได้เห็นถึงเป้าหมายและแผนสำหรับอนาคตร่วมกัน
  2. อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการทำสัญญาในอนาคต: เหมือนกับพิมพ์เขียวของสัญญาในอนาคต ซึ่งช่วยให้เข้าใจเป้าหมายและความตั้งใจของแต่ละฝ่าย
  3. แสดงถึงความเข้าใจที่ตรงกัน: ก่อนการทำ MOU จะมีการเจรจาต่อรองกัน ซึ่งทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจถึงสิ่งที่แต่ละฝ่ายต้องการในข้อตกลง
  4. ลดความไม่แน่นอนในอนาคต: การเจรจาธุรกิจเป็นเรื่องที่ซับซ้อนในช่วงแรก ซึ่งหากทำสัญญาแล้วเกิดข้อผิดพลาดอาจเป็นปัญหาใหญ่ ดังนั้น MOU ก็เป็นทางเลือกที่ดีกว่า

ข้อเสีย

  1. ไม่มีผลทางกฎหมาย: ทั้งสองฝ่ายไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของข้อตกลง ทุกฝ่ายสามารถเลิกใช้หรือเปลี่ยนกฎได้ตามต้องการ
  2. หากมีใครผิดข้อตกลงอาจทำให้เสียเวลาเปล่า: การจัดทำ MOU ใช้เวลาและความพยายามมาก หากฝ่ายใดผิดข้อตกลง ก็อาจทำให้สิ่งที่พยายามทำมาสูญเปล่า

อ้างอิง: vakilsearch

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Translucia เผยแผนพัฒนา Metaverse โลกเสมือนที่ใช้ Gen AI ขยายตลาดและการเติบโต

บทสัมภาษณ์ คุณพิมสาย ชี้เจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Translucia (ทรานส์ลูเซีย) ทั้งในด้านมุมมอง โอกาส ความท้าทาย ไปจนถึงแผนพัฒนาแพลตฟอร์มเมตาเวิร์ส (Metaverse) ในยุค Generative AI...

Responsive image

เชื่อมทุกช่องทางสื่อสารกับลูกค้า ต่อยอดข้อมูลธุรกิจด้วย MarTech

ทำความรู้จัก True CPaaS แพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อทุกแอปพลิเคชันการสื่อสารไว้ในที่เดียว เพื่อรองรับการตลาดแบบ Omni-channel และสามารถเก็บข้อมูล (Data) ลูกค้า เพิ่มยอดขายได้ในแบบ MarTech...

Responsive image

รู้จัก “AI ผู้ช่วยด้านการเงิน” งานที่ AI agents จะเข้ามาช่วยทำในอนาคต

พบกับอนาคตของ AI Agents ที่ช่วยจัดการชีวิตการเงิน ตั้งแต่การชำระเงิน จองตั๋ว ไปจนถึงการค้าอัตโนมัติ พร้อมความเชื่อมั่นด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เช่น Blockchain และ Authentication Too...