เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา จนถึงวันนี้ (26 มิถุนายน 2561) เรียกได้ว่าอลหม่านทั้งกรุงเทพฯ เมื่อระบบขนส่งมวลชนสาธารณะอย่าง BTS เกิดปัญหา "ระบบอาณัติสัญญาณ" ขัดข้อง จนทำให้เกิดผู้โดยสารตกค้างที่สถานีและเดินทางได้ล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น
จริงๆ แล้วปัญหานี้เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมาแล้ว โดย Twitter ของรถไฟฟ้า BTS เริ่มมีการแจ้งว่า
https://twitter.com/BTS_SkyTrain/status/1010815223786192896
หากดูความหมายของคำว่า "ระบบอาณัติสัญญาณ" ตามที่ Wikipedia ระบุไว้ คือ
ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟ เป็นระบบกลไกสัญญาณไฟหรือระบบคอมพิวเตอร์ในการเดินขบวนรถไฟ เพื่อแจ้งให้พนักงานขับรถไฟทราบสภาพเส้นทางข้างหน้า และตัดสินใจที่จะหยุดรถ ชะลอความเร็ว หรือบังคับทิศทาง ให้การเดินรถดำเนินไปได้อย่างปลอดภัย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
โดยเฉพาะในการเดินรถสวนกันบนเส้นทางเดียว หรือการสับหลีกเพื่อให้รถไฟวิ่งสวนกันบริเวณสถานีรถไฟ หรือควบคุมรถไฟให้การเดินขบวนเป็นไปตามที่กำหนดไว้กรณีที่ใช้ระบบอาณัติสัญญาณแบบคอมพิวเตอร์
อาจจะยังนึกภาพไม่ออก เราขยายภาพให้เห็นชัดมากขึ้นครับ
อธิบายอย่างง่ายสุด "อาณัติสัญญาณรถไฟ" หรือ Railway Signalling System เป็นระบบสื่อสารขั้นพื้นฐานสุดของการเดินรถไฟ ทำให้รู้ว่ารถรู้ว่าตัวเองอยู่ตรงไหนของราง และศูนย์ฯ รู้ว่าแต่ละขบวนรถอยู่ตรงไหน
คุณคิดว่ารถไฟฟ้าในปัจจุบันใช้ระบบใดในการควบคุมการเดินรถบ้าง? แน่นอนว่ามีหลายระบบครับ แต่สำหรับระบบควบคุมการเดินรถของรถไฟฟ้า BTS และรถไฟฟ้าสายสีม่วง จะใช้ระบบที่ชื่อว่า Communication Based Train Control หรือเรียกย่อๆ ว่า CBTC ซึ่งจะมีการสื่อสารกันระหว่างศูนย์ควบคุมการเดินรถและรถไฟผ่านคลื่นวิทยุ
นิยมใช้คลื่น Wi-Fi ความถี่ 2.4 GHz หรือ 5 GHz หรืออาจจะไปใช้เครือข่าย GSM-R (ซึ่งรถไฟความเร็วสูงเลือกใช้ความถี่นี้) ไปเลย
โดยตั้งแต่ปี 2552 บริษัท BTS ใช้ระบบอาณัติสัญญาณของบริษัท Bombardier แต่ก่อนหน้านี้ใช้ ระบบอาณัติสัญญาณของบริษัท Siemens
ระบบรถไฟฟ้าที่กล่าวไปข้างต้น แน่นอนว่าต้องใช้เครือข่าย Wi-Fi ในการสื่อสารระหว่างขบวนรถกับศูนย์ควบคุมฯ ซึ่งตัวขบวนรถไฟนั้นเปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายผ่าน Wi-Fi Intelligent Access Point ที่ติดตั้งอยู่ตามเส้นทาง
ซึ่งสังเกตเห็นได้ง่ายๆ นั่นก็คือ "เสาสีเทา" ที่ติดตั้งไปตลอดเส้นทางนั่นแหละครับ บนยอดเสาจะมีเสาอากาศ Wi-Fi สีขาวๆ ติดตั้งไว้อยู่ โดยรถไฟจะเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายผ่านเจ้าอุปกรณ์ตัวนี้ โดยมีแผนผังการเชื่อมต่อเครือข่ายดังภาพประกอบ
เมื่อคอมพิวเตอร์บนรถไฟเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย จะทำให้ศูนย์ควบคุมการเดินรถสามารถมองเห็นและติดตาม รวบถึงควบคุมการเคลื่อนที่ของรถไฟได้ เพื่อสามารถเดินรถได้อย่างปลอดภัย
ทางด้าน BTS นำโดย ดร.อาณัติ อาภาภิรม ประธานกรรมการที่ปรึกษา บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS ระบุว่าสาเหตุที่รถไฟฟ้าบีทีเอสเกิดปัญหาขัดข้องบ่อยครั้งในช่วงนี้ เป็นเพราะ "ระบบอาณัติสัญญาณ" ที่สถานีสยามถูกคลื่นวิทยุสื่อสารรบกวน จึงไม่สามารถใช้ระบบอัตโนมัติในการเดินรถได้ ต้องเปลี่ยนมาใช้ระบบ Manual ส่งผลให้การเดินรถล่าช้า และส่งผลต่อเนื่องไปยังสถานีอื่นๆ
การแก้ไขมี 2 ทางเลือกคือ "ใช้ระบบ Manual" กับ "การหยุดเดินรถทั้งระบบ" ซึ่ง BTS เลือกการปรับระบบจากเดินรถแบบ "อัตโนมัติ" มาเป็นเดินรถแบบ "Manual"
ที่ผ่านมาบริษัทได้วางระบบอาณัติสัญญาณใหม่ ซึ่งจะป้องกันคลื่นรบกวนจากตึกสูงที่ส่งผลต่อการให้บริการเดินรถ แต่การวางระบบใหม่จำเป็นต้องใช้เวลา ซึ่งในส่วนของสถานีสยามยังระบบเก่าอยู่ โดยคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะสามารถวางระบบป้องกันคลื่นรบกวนได้ตลอดแนวเส้นทาง
ทางด้านคุณประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ dtac ชี้แจงว่า การใช้งานบนคลื่นความถี่ 2300 MHz ของดีแทคและทีโอทีไม่ได้ส่งคลื่นใดๆ ออกมานอกเหนือจากแบนด์ที่ทีโอทีได้รับการจัดสรรมา ซึ่งไม่น่าเป็นสาเหตุของการขัดข้องในการให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสตามที่เป็นข่าว
โดยล่าสุด PPTV รายงานว่าตั้งแต่ 6:00 น. ที่ผ่านมา dtac ทดลองปิดการปล่อยสัญญาณบนคลื่น 2300 MHz จำนวนกว่า 20 สถานีฐาน ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า BTS เพื่อร่วมทดสอบในการตรวจสอบหาสาเหตุคลื่นรบกวนระบบอาณัติสัญญาณจนขัดข้องแล้ว
ดร.ประมวล สุธีจารุวัฒน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ผ่านโพสต์ทูเดย์ โดยชี้ให้เห็นประเด็นปัญหาที่ BTS กสทช. หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาศึกษาและแก้ไข ประกอบด้วย
อ้างอิงข้อมูลจาก BKKTrains, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ และ PPTVHD36
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด