ภาครัฐกับแนวทางการฟื้นฟูวิกฤต COVID-19 ระดับภูมิภาค | Techsauce

ภาครัฐกับแนวทางการฟื้นฟูวิกฤต COVID-19 ระดับภูมิภาค

COVID-19 ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ภาครัฐจะฟื้นฟูวิกฤตนี้อย่างไร? โดยในงาน Techsauce Virtual Summit ได้มีการพูดคุยถึงประเด็นนี้กับ 3 speakers จาก 3 ประเทศ นำโดยคุณ Sopnendu Mohanty - Chief FinTech Officer Monetary Authority ประเทศสิงคโปร์ คุณ Gita Wirjawan อดีตรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ประเทศอินโดนีเซียและคุณ Korn Chatikavanij อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลังประเทศไทยและหัวหน้าพรรคกล้า

ภาพรวมของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับทั่วโลก

คุณ Gita Wirjawan ให้ความเห็นว่า วิกฤต COVID-19 ทำให้เกิดผลกระทบต่อ Supply Chain ทั่วโลก ซึ่งรัฐบาลของแต่ประเทศได้มีการออกมาตรการ QE เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันแม้จะมีโรคระบาด แต่ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ยังคงมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง

ด้านคุณกรณ์ จาติกวณิช เผยถึง ความร่วมมือที่แต่ละภูมิภาคจะต้องพึ่งพากัน ซึ่งคาดว่าทั่วโลกอาจจะมีการลดการพึ่งพาซึ่งกันและกันมากขึ้น แต่จะกลับมาเห็นความร่วมมือ และการพึ่งพากันเองในภูมิภาค โดยตลาดการเงินการคลัง จะมีความผันผวนมากขึ้น

คุณ Sopnendu Mohanty เผยว่าภาคการผลิตเปลี่ยนจากเปลี่ยนจากประสิทธิภาพไปสู่ความยั่งยืน และความยืดหยุ่น โดยคนทำงานจะ work from home มากขึ้น และจะกลายเป็นเรื่องปกติในโลก อีกทั้งทุกกระบวนการจะปรับสู่ดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งเป็นวิถีใหม่ที่ไม่มีใครปฏิเสธได้

แนวทางการฟื้นฟูในระดับภูมิภาค SEA

คุณ Gita

  • ในแง่ของผู้ประกอบการควรที่จะปรับตัวไปสู่การดำเนินธุรกิจด้วยดิจิทัลมากขึ้น โดยเฉพาะ การให้บริการทางการเงิน ปัจจุบันอินโดนีเซียมีประชากรสามารถเข้าถึงบริการทางการได้ 49% จากประชากรทั้งหมด เช่นเดียวกันกับ ประเทศไทย และมาเลเซีย ส่วนสิงคโปร์นั้นถือว่าทำได้ดี โดยประชากรสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินกว่า 98%

  • การสนับสนุนการเงินของรัฐบาลของประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเห็นการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นไปที่ดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร โดยเฉพาะในอีก 5 ปีข้างหน้า โลกธุรกิจจะไปสู่ดิจิทัลมากขึ้น และเราจะได้รับการสนับสนุนและสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ 

คุณกรณ์

  • ต้องปรับตัว ยืดหยุ่น และการบริหารจัดการเงิน ต้องมีงบดุลที่แข็งแแกร่ง 
  • รู้จัก leverage เทคโนโลยีต่าง ๆ และรัฐบาลต้องปรับสู่การเป็นรับบาลดิจิทัลมากขึ้น ต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การเดินหน้าประเทศให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะวิถีชีวิตของประชาชนเปลี่ยนไป
  • รู้จักการพัฒนาแบบกระจายตัวลงสู่ชุมชนมากขึ้น ไม่ใช่กระจุกตัวอยู่แค่ในเมืองใหญ่ เพื่อทำให้ความเจริญทางเศราบกิจนั้นกระจายตัวมากขึ้นเช่นกัน 
  • ต้องนำ Data มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น โดยเฉพาะการพลิกโฉมระบบการเงิน

คุณ Sopnendu

  • การสร้าง Digital Empathy ที่จะทำให้การออกแบบการใช้งาน และการสร้างประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ตอบโจทย์ระหว่างการผสมผสานออนไลน์และออฟไลน์ 
  • กรอบแนวคิดของความร่วมมือ โดยการสร้างแพลตฟอร์มต่าง ๆให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมได้ และสอดคล้องกับ ecosystem
  • โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มีความเชื่อมโยงกันให้มีความแข็งแรง 
  • การออกแบบด้วยแนวคิดความยั่งยืน คิดเสมอว่าสิ่งที่เราทำส่งผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาลอย่างไร

การเตรียมตัวคว้าโอกาสจากสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น

คุณ Gita

  • ในอนาคต คน และเครื่องจักรจะมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ข้อกังวลที่เกิดขึ้น คือ ภาคเอกชนสามารถปรับตัวได้รวดเร็วและไปได้ไกลกว่ารับบาล ดังนั้นภาครัฐ ซึ่งมีส่วนสำคัญกับคนทั้งประเทศนั้นต้องก้าวตามให้ทัน  หรือ การทำงานที่ซิงค์กันมากขึ้น

คุณ Korn

  • ต้องปรับตัวให้เป็นดิจิตอล  ยอมรับความจริงว่า รัฐบาลมีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจแต่ละประเทศ ดังนั้นองค์กรต่างๆจะเปลี่ยนไปไม่ได้มาก หากรัฐบาลไม่เปลี่ยน 
  • การจัดการความเสี่ยง ที่ต้องมีการกระจายการทำงานให้มีความหลากหลายมากขึ้น เช่นเดียวกับ การทำเศรษฐกิจพอเพียง

  • สร้างความเชื่อใจให้กลับคืนมา  ตอนนี้ทุกคนใช้ชีวิตภายใต้ความกลัว ดังนั้นการให้ข้อมูลของรัฐบาลต้องมีความโปร่งใส

คุณ Sopnendu 

ภาคเอกชน

  • กระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง 
  • การดำเนินธุรกิจให้มีความต่อเนื่อง ไม่เฉื่อย ให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า
  • การสร้างความมั่นใจของนักลงทุน  โดยการดูแลธรรมภิบาลของบริษัท ให้เชื่อใจได้

ภาครัฐบาล

  • ส่วนในแง่ของรับบาลเองก็เช่นกัน ต้องสามารถสร้างความเชื่อใจให้กับประชาชนได้ ในการที่จะนำ Data มาประยุกต์ใช้ในเกิดประโยชน์สูงสุด และทำให้ทุกอย่างมีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะสามารถทำให้เราผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้ 

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ตะลุย Davos ส่อง 5 ประเด็นหลัก ใน World Economic Forum

สำรวจประเด็นสำคัญจากงาน World Economic Forum 2025 ที่ Davos เวทีประชุมระดับโลกที่รวมผู้นำหลากหลายวงการ เพื่อหารือเรื่องเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม พร้อมบทบาทไทยในเวทีนานาชาติ...

Responsive image

สรุป AI อดีต ปัจจุบัน อนาคต โดย Eric Grimson ศาสตราจารย์จาก MIT

ภายในงาน MIT Bangkok Symposium - Unleashing AI: Transforming Industries, Empowering Futures ที่จัดขึ้นในกรุงเทพฯ ศาสตราจารย์ ดร. Eric Grimson อธิการบดีฝ่ายวิชาการ จากสถาบันเทคโนโลย...

Responsive image

รู้จักเทรนด์ Brand Chem กลยุทธ์ TikTok 2025 การตลาดที่ต้อง ‘เป็นเพื่อน’ กับผู้บริโภค

สำรวจ TikTok What's Next Report 2025 และแนวคิด Brand Chem ที่เปลี่ยนการตลาดด้วยความร่วมมือระหว่างแบรนด์ ครีเอเตอร์ และชุมชน TikTok พร้อมเทรนด์สำคัญที่ขับเคลื่อนปี 2025...